วีดีโอรายการ “คนค้นคน” ตอน “ถอดรหัสออทิสติกน้องเพชร โดย นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์” | บ้านอุ่นรัก

วีดีโอรายการ “คนค้นคน” ตอน “ถอดรหัสออทิสติกน้องเพชร โดย นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์” | บ้านอุ่นรัก

ชีวิตน้องเพชร

ตัวอย่างคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ร่วมมือร่วมใจกับคุณยายช่วยกันเลี้ยงดู ฟูมฟัก ดูแลน้องเพชร เด็กน้อยที่มีอาการออทิซึม จนถึงวันที่เขาเติบโตเป็นวัยรุ่นที่สามารถดูแลตนเองได้ โดยคุณแม่และคุณยายใช้สัญชาตญานผสมกับการลองผิดลองถูกในการนำพาลูกจนพบทางที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเอง

ตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่า โดยพื้นฐานแล้วเราสามารถใช้แนวทางการเลี้ยงดูแบบวิถีชีวิตธรรมดา ๆ ที่เพิ่มความใกล้ชิดและความช่างสังเกตของแม่และคนรอบข้างลงไป จากนั้น คนในครอบครัวก็ลงมือทำ ลองผิดบ้าง ลองถูกบ้าง ก็ทำไป โดยมีการปรับแก้และหาหนทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่พบในแต่ละวันของการดำรงชีวิต  ค่อย ๆ ทำไปโดยใช้ความรัก ความนุ่มนวล ความพยายาม และให้ความสำคัญ ตลอดจน “ต้องตั้งมั่นอย่างชัดเจนในสิ่งที่ลูกจำเป็นต้องทำ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ลูกสามารถดำรงชีวิตให้ได้ด้วยตนเองในอนาคต โดยไม่ปล่อยให้ลูกดำรงชีวิตอย่างไร้รูปแบบจนเกินไป”

ในที่สุดพลังรักจากคนในครอบครัวจะสามารถนำทางลูกให้รอดได้แน่นอนค่ะ

กดที่ลิ้งค์นี้เพื่อร่วมรับชมวีดีโอรายการ “คนค้นคน” ตอน “ถอดรหัสออทิสติกน้องเพชร โดย นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์”

 

วีดีโอ รายการ “Miracle Kids” “เด็กอัศจรรย์สร้างได้” ตอน…ภาวะ “ออทิสติก” เกิดจากสาเหตุอะไร? | บ้านอุ่นรัก

วีดีโอ รายการ “Miracle Kids” “เด็กอัศจรรย์สร้างได้” ตอน…ภาวะ “ออทิสติก” เกิดจากสาเหตุอะไร? | บ้านอุ่นรัก

ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ “บ้านอุ่นรัก” ชวนทุกท่านมาร่วมชมวีดีโอความรู้เกี่ยวกับ “โรคออทิสติก” ที่ช่องรายการ News1 ทำการเผยแพร่ไปเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เพื่อทราบแง่มุมสำคัญ ๆ หลายประการของโรคนี้ จาก “อาจารย์ พญ. แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ กุมารแพทย์พัฒนาการเด็ก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล” เช่น

  • โรคออทิสติกเกิดจากสาเหตุใด
  • โรคออทิสติกส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในลักษณะใด
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยของโรคออทิสติกของลูกได้เมื่อลูกอายุเท่าใด และร่องรอยที่ว่านี้มีลักษณะอย่างไรบ้าง และ
  • ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ คุณหมอฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ของลูกออทิสติกว่าอย่างไร? ทำไมคุณหมอจึงเน้นให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้? และทำไมคุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นบุคคลหลักในการช่วยเหลือลูก ๆ เสียแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก?

ในท้ายนี้ “บ้านอุ่นรัก” ขอให้คุณพ่อคุณแม่ของลูกออทิสติกเชื่อมั่นว่า

“ลูกออทิสติกไม่ใช่เด็กที่บุบสลายหรือไร้ค่า ลูกมีความสามารถและศักยภาพซ่อนอยู่ภายใน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะเป็นผู้ค้นพบ อีกทั้งสามารถช่วยลูกให้มีความพร้อมในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม ตลอดจนสามารถสร้างเสริมและเพิ่มพูนศักยภาพของลูก จนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในอนาคตของลูกได้” และ

“ลูกออทิสติกอาการดีขึ้นได้ หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจอาการของลูก ตลอดจนพยายามศึกษา เรียนรู้วิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือ ดูแล และเลี้ยงดูลูก และลงมือทำทุกอย่าง ๆ ดีที่สุด แบบเต็มกำลังความสามารถในทุก ๆ วันค่ะ”

กดที่ลิ้งเพื่อชมวีดีโอ

https://www.youtube.com/watch?v=YomdUADzLCg&feature=youtu.be

เครดิตข้อมูล: News1 | MGR Online VDO | Website: http://www.manager.co.th

วีดีโอ กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิเศษ EP 8 | บ้านอุ่นรัก

วีดีโอ กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิเศษ EP 8 | บ้านอุ่นรัก

EP 8: สรุปบทเรียน

เราได้ชมวีดีโอความรู้ เรื่อง “กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิเศษ” มาถึง EP สุดท้ายกันแล้วนะคะ

สำหรับ EP นี้เป็นการสรุปบทเรียนและลำดับวิธีการสอนที่เริ่มต้นด้วยกิจกรรมทักทาย ต่อด้วยกิจกรรม Warm Up ไปยังกิจกรรมคีย์บอร์ดและกิจกรรมเคาะจังหวะ และปิดท้ายกันที่กิจกรรมการร้องและทำท่าตามเพลง

เราขอเน้นว่า

…คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ควรหมั่นฝึกฝนลูกด้วยความสม่ำเสมอเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีรอบด้านให้กับลูก

…การคลี่คลายอาการให้กับลูกออทิสติก ยิ่งกระตุ้นพัฒนาการได้เร็วก็ยิ่งดี ยิ่งช่วยคลี่คลายอาการเร็ว อาการก็จะไม่ซับซ้อนจนยากที่จะแก้ไข

ส่วนการเลือกวิธีกระตุ้นพัฒนาการ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองจะใช้ดนตรีหรือกีฬาก็ได้ จะสอนเดี่ยวหรือสอนกลุ่มก็ดี ขอเพียงผู้สอนนำลูกได้ และไม่ลืมที่จะพิจารณาถึงศักยภาพของลูก ๆ ด้วยเพื่อเข้าแทรก ช่วยเหลือ และนำทางลูกตามจังหวะที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับลูก ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนคำถามที่ว่า “ลูกจะทำได้เมื่อไร” มาเป็นคำถามใหม่ว่า “เราทำมากพอหรือยัง” และ “เราให้โอกาสลูก ๆ แล้วหรือยัง” นอกจากนั้น ขออย่ารีรอเรื่องการหาความรู้ ตลอดจนการลงมือช่วยลูกอย่างมีทิศทางด้วยตัวของเราเองค่ะ

ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการบ้านอุ่นรักจะเป็นเพื่อนร่วมทางที่คอยส่งต่อความรู้และข้อมูลผ่านช่องทางต่าง ๆ และส่งมอบกำลังใจให้กับทุกท่านค่ะ

มาชม EP 8 ด้วยการกดลิ้งค์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=oAdgtZNnEHc

บ้านอุ่นรักขอขอบคุณฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต | RSU Media มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้จัดทำวีดีโอชุดนี้เพื่อเด็ก ๆ ที่มีความต้องการเป็นพิเศษและครอบครัวของเด็ก ๆ  ตลอดจนครูนัช หาญพานิชย์พันธ์ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

Credit ภาพ: Spencer Imbrock | Unsplash

วีดีโอ กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิเศษ EP 7 | บ้านอุ่นรัก

วีดีโอ กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิเศษ EP 7 | บ้านอุ่นรัก

EP 7: กิจกรรมออกเสียงและทำท่าประกอบตามเพลง

ก่อนเข้าสู่เนื้อหาเรื่องกิจกรรมออกเสียงและทำท่าประกอบตามเพลง เราขอทบทวนกันสักนิดว่าเราสามารถใช้กิจกรรม Warm Up การกดคีย์บอร์ด และการเคาะเครื่องเคาะจังหวะ ในการพัฒนาทักษะการออกเสียงให้เด็ก ๆ โดยผู้สอนออกเสียงเรียกชื่อเด็ก ชื่อท่าทางการ Warm Up (เช่น กำมือ แบมือ เตะมือ หรือจับมือกัน เป็นต้น) ชื่อเครื่องดนตรี และชื่อตัวโน้ตทุกครั้ง จากนั้นก็พยายามกระตุ้นให้เด็ก ๆ ออกเสียงตามเรา

สำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะการทำท่าตามเพลงนั้น เด็ก ๆ ต้องลุกขึ้นยืน หันหน้าเข้าหาผู้สอน ผู้สอนร้องและทำท่าตามเพลง เพื่อให้เด็ก ๆ ทำท่าตามเรา ทั้งนี้ ในช่วงแรก ๆ ผู้สอนอาจต้องจับมือนำให้ทำไปก่อน โดยไม่ลืมที่จะเรียกชื่อเด็ก กระตุ้นให้เด็กสบตา ออกเสียงของเราเพื่อให้คำสั่งง่าย ๆ สั้น ๆ ในการบอกให้เด็กทำ เช่น น้อง…(ชื่อเด็ก)…ยืน นั่ง แลกของกัน

จาก EP นี้ เราได้รู้เกร็ดความรู้มากมาย เช่น

…กล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือ กล้ามเนื้อคอ แขน ขา ลำตัว ซึ่งมีผลต่อการทรงตัว ความแข็งแรงและความคล่องแคล่วในการเดิน วิ่ง เคลื่อนไหว

…ควรใช้เพลงสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายและมีจังหวะที่ไม่เร่งเร้าเกินไปมาประกอบกิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่และการเคลื่อนไหว

…ผู้สอน (คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง) ควรร้องเพลงด้วยตนเองเป็นหลัก แต่บางครั้งอาจเปิดจากเครื่องเสียงสลับเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้างได้

…ควรจับตาดูเพื่อรู้จังหวะเข้าแทรกหรือช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเลียนแบบ ทั้งการเลียนแบบการออกเสียงและการทำท่าทางประกอบเพลง

มาชม EP 7 ด้วยการกดลิ้งค์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=Mo6HmpF5PBI

บ้านอุ่นรักขอขอบคุณฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต | RSU Media มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้จัดทำวีดีโอชุดนี้เพื่อเด็ก ๆ ที่มีความต้องการเป็นพิเศษและครอบครัวของเด็ก ๆ  ตลอดจนครูนัช หาญพานิชย์พันธ์ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

Credit ภาพ: Park Troopers | Unsplash

วีดีโอ กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิเศษ EP 6 | บ้านอุ่นรัก

วีดีโอ กิจกรรมดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับเด็กพิเศษ EP 6 | บ้านอุ่นรัก

EP 6: กิจกรรมเคาะจังหวะ

สำหรับการทำกิจกรรมเคาะจังหวะนี้ เราต้องให้เด็กนั่งเก้าอี้ตรงกันข้ามกับผู้สอน ให้เด็กถือเครื่องเคาะทีละชิ้น และฝึกเคาะ เขย่า บีบ ประกอบเสียงเพลงที่ผู้สอนร้องให้เป็นจังหวะ อย่างไรก็ตาม เราควรมีการสลับเครื่องเคาะ 2-3 อย่างต่อการฝึก แต่ก็ไม่ควรสลับเครื่องเคาะมากชิ้นจนเกินไป

เมื่อได้ชม EP 6 นี้ เราก็จะได้เกร็ดความรู้หลาย ๆ อย่าง เช่น

…ในช่วงแรก ๆ ของการฝึก เราอาจต้องจับมือเด็กเพื่อหัดให้เด็กถือเครื่องเคาะ และอาจปล่อยให้เด็กได้เคาะ ตี เขย่า เครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตามใจชอบบ้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความสนุก

…ในขณะเคาะจังหวะ ผู้สอนต้องกระตุ้นเรียกชื่อเด็กเป็นระยะ ๆ ตลอดจนมีการออกเสียงเรียกชื่ออุปกรณ์ และยื่นอุปกรณ์หรือเครื่องเคาะให้เด็กทีละอย่าง เพื่อกระตุ้นให้เด็กพยายามออกเสียงตามในการเรียกชื่อเครื่องดนตรีด้วย

…การสลับหรือแลกอุปกรณ์เครื่องเคาะ จะแลกกับผู้สอนหรือแลกกับเพื่อนที่เรียนอยู่ด้วยกันในกลุ่มก็ได้

…ผู้สอนพยายามยกอุปกรณ์การสอนให้อยู่ในระดับสายตาและเรียกชื่อเด็กเป็นระยะ เพื่อกระตุ้นการสบตาและกระตุ้นความสนใจของเด็ก

การทำกิจกรรมพื่อพัฒนาทักษะให้กับเด็ก ๆ ขอให้เราเน้นการฝึกฝนที่สม่ำเสมอเป็นสำคัญด้วยนะคะ

มาชม EP 6 ด้วยการกดลิ้งค์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=Zl10KuZdoiw

บ้านอุ่นรักขอขอบคุณฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต | RSU Media มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้จัดทำวีดีโอชุดนี้เพื่อเด็ก ๆ ที่มีความต้องการเป็นพิเศษและครอบครัวของเด็ก ๆ  ตลอดจนครูนัช หาญพานิชย์พันธ์ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

Credit ภาพ: | Hatice Yardim | Unsplash