บ้านอุ่นรัก
www.BaanAunRak.comศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ
สำหรับเด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น
และเด็กที่มีพัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรัก
บ้านอุ่นรักเป็นศูนย์กระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และเด็กที่มีพัฒนาการช้าไม่สมวัย
บ้านอุ่นรักเน้นการวางพื้นฐานพัฒนาการแบบองค์รวม
… Set Up for Success …
เพื่อให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อเด็ก ๆ มีพัฒนาการที่พร้อมในทุก ๆ ด้านประกอบกัน พัฒนาการอื่น ๆ ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจะค่อย ๆ เกิดตามมาตามธรรมชาติ
การเรียนการสอนของบ้านอุ่นรักเน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมีความสุขและยั่งยืน ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ศักยภาพของตนเองเด็มความสามารถสูงสุด ตลอดจนมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและคนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น
ทำไมจึงต้องเป็น … บ้านอุ่นรัก
เพราะเรานั้นแตกต่าง ด้วยปัจจัยทั้ง 4 ของเราค่ะ
Take Care by Relationship
เจตนารมณ์
“บ้านอุ่นรัก” ก่อตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์ของการมาร่วมกันทำงานที่มีส่วนช่วยสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม โดยใช้องค์ความรู้ที่มีในการช่วยสร้างลูกศิษย์ซึ่งมีความสุขและสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความหมาย รวมทั้งการส่งต่อองค์ความรู้และการสร้างทัศนคติทางบวกในการช่วยเหลือเด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และเด็กที่มีพัฒนาการช้า ให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทีมงานมืออาชีพ
ครูคือผู้ปั้น .. เด็กควรเติบโตในบรรยากาศเช่นไร ครูควรเป็นไปเช่นนั้น
ทีมของ “บ้านอุ่นรัก” เป็นการเข้ามาทำงานร่วมกันของนักวิชาชีพด้านต่าง ๆ เช่น ครูการศึกษาพิเศษ นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด พลศึกษา รวมทั้งคุณครูที่มีประสบการณ์การกระตุ้นพัฒนาการที่มีเจตนารมณ์ในการทำงานเช่นเดียวกัน และทำงานร่วมกันโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สร้างบรรยากาศในการทำงานของทีมงานที่มีความสุข สนุก ใฝ่หาความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และเน้นการสร้างทัศนคติทางบวกต่อการทำงาน ความรักของครูจึงส่งต่อถึงเด็ก ๆ ผ่านการเรียนรู้ในบรรยากาศที่มีความสุข
ประสบการณ์กว่า 26 ปี
การทำงานของบ้านอุ่นรักเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ที่เกิดการจากทำงานด้านนี้มากว่า 26 ปี และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของบ้านอุ่นรัก รวมทั้งการนิเทศน์งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคงคุณภาพของการสอน
การดูแลแบบองค์รวม
การทำงานของเราให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเด็กอย่างครอบคลุมและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
- Early Intervention การฟื้นฟูและแก้ไขอาการ เน้นการกระตุ้นพัฒนาการแบบองค์รวมเพื่อคืนธรรมชาติที่หายไปให้แก่เด็ก ๆ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนไปโรงเรียน
- การประกบและดูแลเด็กในชั้นเรียนปกติ (ปัจจุบัน บ้านอุ่นรักมีโครงการร่วมกับโรงเรียนมากกว่า 40 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
- การจัดกลุ่มเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นระดับชั้นประถมศึกษา
- กิจกรรมกลุ่มประถมศึกษา เพื่อช่วยเสริมพัฒนาการและต่อยอดการเรียนรู้ให้แก่น้องที่อยู่ในระดับประถมศึกษานี้
- การประสานงานการเรียนร่วม และการติดตามผลการเรียนร่วม เพื่อส่งเสริมการเรียนร่วมอย่างมีความหมาย
- Case Conference กับผู้ปกครอง ที่ทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามผลการกระตุ้นพัฒนาการและร่วมกันวางแนวทางการดูแลเด็ก ๆ
- การประสานงานกับแพทย์และทีมบำบัด
- การให้ความสำคัญกับการสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการดูแลลูกซึ่งเป็นเด็กพิเศษ
- การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย รวมถึงสื่อการสอนที่ผลิตขึ้นเองเพื่อช่วยให้เด็กพิเศษเรียนรู้ได้ดีขึ้น
บริการของบ้านอุ่นรัก
บ้านอุ่นรัก เป็นศูนย์กระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และเด็กที่มีพัฒนาการช้า โดยมีรูปแบบการให้บริการดังนี้ค่ะ
กลุ่มกระตุ้นพัฒนาการ
Early Intervention กระตุ้นพัฒนาการระยะเริ่มแรกสำหรับน้องอายุ 2-5 ขวบ เน้นการวางพื้นฐานพัฒนาการโดยรวมเพื่อบำบัดอาการและส่งเสริมการพัฒนาการรอบด้าน
กลุ่มเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าโรงเรียน
สำหรับน้องอายุ 2-5 ขวบที่ผ่านการกระตุ้นพัฒนาการมาระดับหนึ่งเรียบร้อยแล้วและเริ่มมีความพร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล
กลุ่มเตรียมประถม
สำหรับน้องที่เรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2-3 เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในด้านพัฒนาการและกระบวนการเรียนรู้ก่อนขึ้นระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป
บทความน่าสนใจของบ้านอุ่นรัก
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองหรือผู้ที่สนใจ สามารถติดตามบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก รวมถึงแนวทางการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น หรือพัฒนาการช้าไม่สมวัย ได้ที่นี่หรือจะกดที่ปุ่มด้านล่างเพื่ออ่านบทความอื่น ๆ จากบ้านอุ่นรักก็ได้เช่นกันค่ะ
หากท่านเห็นว่าบทความใดอาจเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๆ ที่ท่านรัก ท่านสามารถแชร์บทความต่อได้ค่ะ
ทีมบ้านอุ่นรักขอขอบคุณทุกท่านจากใจของเรา
อาการของลูกจะดีขึ้นได้หรือไม่ | บ้านอุ่นรัก
ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก "บ้านอุ่นรัก" ขอเสนอแนะหนึ่งแนวทาง คือ "การใช้ความรู้คู่ความรัก" เพื่อหาคำตอบ แนวทาง: เราเปิดใจยอมรับว่าพัฒนาการของลูกน่าจะมีปัญหาและรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตแพทย์เด็ก ตลอดจนทีมบำบัดมืออาชีพด้วยความรวดเร็ว...
เมื่อเราพบเด็กออทิสติกที่พลัดหลงจากพ่อแม่ เราควรทำอย่างไร?
เด็กออทิสติก ตลอดจนเด็กดาวน์ซินโดรม สมาธิสั้น และเด็กที่วิตกกังวล อาจเดินเตร็ดเตร่จนพลัดหลงด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น เด็กอยากเดินไปสถานที่อื่น ไปหยิบของที่อยู่ในอีกสถานที่หนึ่ง อยากหลบออกจากสถานการณ์ที่ตนไม่ชอบ หรืออาจแค่สับสนจับทิศทางไม่ถูกจนเดินหลงทาง เป็นต้น...
นั่งอยู่กับที่ได้บางเวลา มันดีอย่างนี้นี่เอง | บ้านอุ่นรัก
ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ขอแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองสอนลูกหลานเด็กเล็กเรื่อง “การนั่งอยู่กับที่” และควรสอนทักษะนี้เสียแต่เนิ่น ๆ เพราะการนั่งอยู่กับที่ได้บ้างในบางเวลาเป็นพัฒนาการสำคัญที่ส่งผลดีเมื่อเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กออทิสติก สมาธิสั้น...
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
บ้านอุ่นรักเชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่ หรือ ผู้ปกครองหลายต่อหลายท่าน มีคำถามในใจอยู่มากมายสำหรับการเลี้ยงดูลูกน้อยที่มีปัญหาด้านการพัฒนาการ
บ้านอุ่นรัก ได้ทำการรวบรวมคำถามและคำตอบเบื้องต้นไว้ให้ทุกๆ ท่านได้อ่านกันก่อนเบื้องต้น ตรงนี้แล้วค่ะ
หรือกดที่ Link ด้านล่าง เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
Q: ลูกเป็นอะไร?
A: หากพ่อแม่มีความสงสัยในความผิดปกติทางพัฒนาการของลูก เช่น ไม่พูดเมื่อถึงอายุที่ควรพูด มีพฤติกรรมบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ทางด้านพัฒนาการ หรือ จิตเวชเด็ก การช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและทำตั้งแต่อายุยังน้อยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
โรคที่มักพบในเด็กที่มีพัฒนาการหลายด้านบกพร่อง ได้แก่
Pervasive Developmental Disorder (PDD) โรค PDD คือกลุ่มโรคที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการร่วมกันหลายด้าน
Autistic Disorder โรคออทิสติก เป็นโรคหนึ่งในกลุ่ม PDD เกิดจากความผิดปกติของสมอง โดยแสดงพัฒนาการที่บกพร่องออกมา 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ
- พัฒนาการทางสังคม เช่น
- ไม่มีความสนใจร่วมกับผู้อื่น (Joint Attention)
- ห่างเหิน ไม่ค่อยมีปฏิกิริยาต่อผู้คน
- ชอบอยู่คนเดียว ไม่ยอมเล่นกับเพื่อน
- สนใจสิ่งของมากกว่าคน
- พัฒนาการทางการสื่อภาษา เช่น
- พูดช้า หรือ พูดไม่ได้เลย
- มีภาษาแปลกๆ ของตัวเอง
- ชี้หรือขอไม่เป็น แต่จะใช้วิธีดึงมือคนไปที่สิ่งนั้น
- ไม่สามารถสานการสนทนากับผู้อื่น เฃ่น พูดแต่สิ่งที่ตนเองสนใจ ไม่คงการสนทนาอยู่ในเรื่องที่อีกฝ่ายสนทนาด้วย
- พัฒนาการทางอารมณ์และพฤติกรรม เช่น
- มีการแสดงอารมณ์ที่น้อยเกินไป เช่น สีหน้าเรียบเฉย
- บางครั้งมีการแสดงอารมณ์ที่รุนแรงเกินไป เช่น ร้องไห้รุนแรง ยาวนาน ผิดธรรมดา
- มีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดปกติ เช่น มีพฤติกรรมการกระตุ้นตนเอง เล่นมือ เดินเขย่ง
- ระบบรับสัมผัสไวเกินไป หรือ น้อยเกินไป เช่น รับเสียงได้ดีเกินปกติ ไม่ชอบเสียงดัง ชอบเลี่ยงพื้นผิวบางอย่าง หรือ เข้าหาพื้นผิวบางอย่าง มากเกินไป
- ปรับตัวยาก
- ซนมาก สมาธิสั้น
- อาจสนใจสิ่งของแต่เป็นการเล่นอย่างไม่มีความหมาย เช่น สนใจล้อรถ เล่นหมุนล้อรถแทนที่จะเอาเล่นอย่างมีความหมาย
High Function Autism กลุ่มออทิสติกที่มีอาการค่อนข้างดี ไม่มีภาวะปัญญาอ่อน
Asperger’s syndrome เป็นความผิดปกติทางพัฒนาการแบบหนึ่งในกลุ่มของ Pervasive Developmental Disorder (PDD) และมีความบกพร่อง 3 ด้านใหญ่ๆ เช่นเดียวกับกลุ่ม Autistic แต่ มักมีทักษะทางภาษาดีกว่า มี IQ ดีกว่า บุคคลที่เป็นก็ตระหนักว่าตนเองมีปัญหา แต่มีปัญหาในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ทางสังคมได้ อาจดูเป็นคนแปลกๆ และมีพฤติกรรมแยกตัวชอบอยู่คนเดียว
Global Delay Development เด็กที่มีพัฒนาการโดยรวมช้าทุกด้าน รวมทั้งพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
Attention Deficits and Hyperactivity Disorder โรคสมาธิสั้น อาการที่สำคัญของเด็กกลุ่มสมาธิสั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- อาการซนมากกว่าปกติ (Hyper Activity) ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วๆไป ไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข
- อาการสมาธิสั้น (Attention Deficit) เด็กขาดการจดจ่อและมีปัญหาการคงสมาธิในสิ่งที่กำลังกระทำ ทำงานไม่ค่อยเสร็จ หรือใช้เวลานาน เด็กจะมีความวอกแวกง่าย แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆน้อยก็สามารถทำให้เด็กเสียสมาธิได้ เช่น เสียงของตก คนเดินผ่าน เป็นความไวต่อสิ่งเร้าภายนอกโดยผ่านทาง ตา / หู หรืออาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในตัวของเด็กเอง ในกรณีนี้จะแสดงออกในลักษณะอาการเหม่อลอย นั่งนิ่งๆ เป็นระยะเวลานานๆ เหม่อบ่อย
- อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (Impulsive) เด็กมักจะแสดงออกในลักษณะที่รอคอยไม่เป็น รีบเร่ง เช่น ชอบพูดแทรก พูดโพล่งออกมาโดยไม่ทันฟังคำถาม หุนหันพลันแล่น อารมณ์ร้อน เล่นกับเพื่อนแรง เคลื่อนไหวอย่างไม่มีจังหวะจะโคน
**เด็กอาจมีลักษณะอาการครบทั้ง 3 กลุ่มได้ หรือ อาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่เด่นหรืออาจมีลักษณะเด่นร่วมกันหลายอาการ
Attention Deficits Disorder (ADD) โรคสมาธิสั้น มีปัญหาในการจดจ่อและไม่สามารถคงสมาธิในสิ่งที่กำลังทำ
Attention Deficits Hyperactivity Disorder (ADHD) โรคสมาธิสั้นที่มีอาการซน อยู่ไม่สุข ร่วมด้วย
Q: ออทิสติกสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
A: ทางการแพทย์สรุปว่าโรคออทิสติกเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การช่วยเหลือที่เหมาะสมจะทำให้น้องค่อยๆ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น และการช่วยเหลือตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กมีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับปกติได้
Q: พ่อแม่รู้สึกสับสนไม่แน่ใจว่าควรเชื่อข้อมูลใด หรือจะเลือกแนวทางใดในการช่วยเหลือลูก ?
A: เป็นปกติที่พ่อแม่จะรู้สึกสับสน ไม่รู้จะไปทิศใด จะเริ่มต้นอย่างไร ปัจจุบันมีหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั้งภาครัฐและเอกชน และมีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, Internet ฯลฯ การหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ จะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจลูกและเริ่มต้นได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การรับข้อมูลมากจนเกินไป อาจทำให้รู้สึกสับสนและวิตกกังวลมากขึ้น พ่อแม่จึงควรหาข้อมูลอย่างมีสติ มุ่งหาวิธีช่วยเหลือลูก มากกว่า จะวิตกกังวล คิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิจารณญาณและสัญชาตญาณของการเป็นพ่อแม่มากกว่าเลือกตามผู้อื่น ช่วยเหลือลูกบนพื้นฐานของความเป็นจริงมากกว่าจะเลือกตาม “ความต้องการ” ของพ่อแม่
Q: ลูกมีสิ่งบ่งชี้อาการน้อย ควรจะมารับการฝึกหรือไม่?
A: ในความเป็นจริงแล้ว การเข้าสู่กระบวนการฝึก เป็นเพียงแต่การผ่านกระบวนการการกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและมีความซ้ำเพียงพอที่จะช่วยให้น้องมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ดังนั้นในน้องที่มีระดับอาการน้อยจะเห็นผลการกระตุ้นพัฒนาการเร็วและสามารถเข้าสู่การเรียนร่วมอย่างมีความหมายได้เร็วขึ้น
เป้าหมายของการกระตุ้นพัฒนาการคือการพยายามส่งน้องกลับเข้าสู่สังคมให้เร็วที่สุด ดังนั้นเมื่อน้องมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในระดับหนึ่งคุณครูจะเริ่มวางแนวทางการส่งต่อเข้าเรียนร่วมต่อไป