บ้านอุ่นรักกับหลักชัยในการเตรียมลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น และลูกมีพัฒนาการช้าไม่สมวัย ให้พร้อม ก่อนส่งลูกเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล | บ้านอุ่นรัก

บ้านอุ่นรักกับหลักชัยในการเตรียมลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น และลูกมีพัฒนาการช้าไม่สมวัย ให้พร้อม ก่อนส่งลูกเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล | บ้านอุ่นรัก

คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูบางท่านตั้งคำถาม ๆ ครูบ้านอุ่นรักว่า “เรามีระบบการเตรียมความพร้อมให้ลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น และลูกที่มีพัฒนาการช้าไม่สมวัย อย่างไร ลูก ๆ ของเราจึงสามารถเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาลได้อย่างมีความหมาย”

บ้านอุ่นรักปักหลักชัยในการเตรียมความพร้อม 2 ระยะ คือ ก่อนและหลังส่งลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล

ก่อนส่งลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล

  • มีการกระตุ้นพัฒนาการระยะเริ่มแรกให้ลูกวัย 2-6 ขวบแบบครบทุกด้านเพื่อแก้อาการเบื้องต้นที่ขัดขวางการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ของลูก ๆ
  • ช่วยลูกเตรียมความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล
  • ให้ความสำคัญกับการประสานการเรียนร่วมกับโรงเรียนและคุณครูก่อนส่งลูกเข้าเรียนร่วม

หลังลูกเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล

  • ติดตามและประเมินผลการเข้าเรียนร่วม
  • เป็นที่ปรึกษาให้กับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ทีมบำบัด และโรงเรียนในการประเมินผลและปรับแผนการช่วยเหลือลูกให้สามารถเรียนร่วมในโรงเรียนในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีความหมายที่แท้จริง

ระบบการเตรียมความพร้อมให้ลูกของบ้านอุ่นรักดังกล่าวข้างต้นแม้มีเพียง 2 ช่วง แต่เราจำต้องอาศัยระยะเวลาต่อเนื่องที่ยาวนานมากพอในการลงมือทำ ซึ่งการเตรียมความพร้อมให้ลูก ๆ นี้มีแง่มุมต่าง ๆ ที่บ้านอุ่นรักลงมือทำและได้ผล และเราเชื่อว่าเรื่องต่าง ๆ หลายเรื่องที่เราลงมือทำ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองสามารถทำที่บ้านได้เองเช่นกัน ซึ่งเราจะทยอยนำข้อมูลต่าง ๆ มาเผยแพร่ผ่าน Website | Facebook | YouTube | คอร์สออนไลน์ ของเรา

เราอยากให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ครอบครัวของลูก ๆ ตลอดจนคุณครูของเด็ก ๆ ติดตามและเรียนรู้ร่วมไปกับเรา เพื่อท้ายที่สุด พวกเราจะไปถึงหลักชัยที่แท้จริง คือ สามารถช่วยลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น และลูกมีพัฒนาการช้าไม่สมวัย ให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพและสามารถดำรงชีวิตในอนาคตได้ด้วยตนเอง

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครอง ที่ต้องการคำปรึกษาหรือพูดคุยกับพวกเรา สามารถโทรติดต่อหรือนัดหมายเข้ามาพบหรือพาลูกมาประเมินเพื่อปรึกษาวางแนวทางการดูแลได้ที่บ้านอุ่นรัก สาขาที่ท่านสะดวกค่ะ

6 สิ่งที่ต้องฝึก ให้เด็กออทิสติกรับผิดชอบในชีวิตประจำวัน | บ้านอุ่นรัก

6 สิ่งที่ต้องฝึก ให้เด็กออทิสติกรับผิดชอบในชีวิตประจำวัน | บ้านอุ่นรัก

เพราะความหวังสูงสุดของคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็คือ ในอนาคต ลูกของเราจะต้องสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองในโลกใบนี้นั่นเอง 

จากเป้าหมายนี้ …. สิ่งแรกที่เป็นรูปธรรมที่จะเป็นตัวทำนายหรือชี้วัดผลสำเร็จได้ชัดเจนที่สุด ว่าลูกเราจะยืนอยู่บนโลกนี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นมากนัก คือ ลูกจำเป็นต้องดูแลตนเองในกิจวัตรประจำวันได้เกือบ 100 % ก่อนอายุ 7-12  ปี

เพราะเรามีความเชื่อว่า ความรัก ทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้

บ้านอุ่นรัก

งั้นเรามาเริ่มต้นทำความหวังให้เป็นจริงตั้งแต่วันนี้ เรามาเริ่มต้น จับมือลูก นำลูกทำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตตนเอง และเรามาฝึกลูกในการช่วยเหลือตนเองให้ได้ โดยทีมงานบ้านอุ่นรักขอนำเสนอแนวคิด ดังนี้ค่ะ

6 สิ่งที่ต้องฝึก ให้เด็กออทิสติกรับผิดชอบในชีวิตประจำวัน

1. ฝึกลูกดูแลตนเอง

ปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องว่าลูกจะต้องดูแลตนเอง โดยจับนำ ฝึกให้ลูกร่วมลงมือทำ ในทุกกระบวนการ แล้วค่อย ๆ ลดการช่วยลงทีละน้อย จนถึงจุดที่ลูกทำได้ด้วยตนเอง

2. ฝึกลูกด้านสุขอนามัย

ให้ความสำคัญ ในเรื่องการดูแลเรื่องสุขลักษณะ สุขอนามัย โดยไม่ปล่อยผ่าน แม้ลูกจะมีท่าทีฝืนหรือต่อต้าน (เด็กออทิสติกจะมีการรับรู้ไวจึงมักจะเลี่ยงกิจวัตรที่กระตุ้นการรับสัมผัสด้านต่าง ๆ) เราจำเป็นต้องตะล่อมนำให้ลูกทำได้จนเป็นกิจวัตรตามปกติตามที่ควรจะเป็นจริงให้ได้ เช่น การอาบน้ำ การแปรงฟัน การตัดเล็บ การสระผม ตลอดจนค่อย ๆ จับนำให้ลูกสามารถดูแลสุขลักษณะอื่น ๆ ตามจริงด้วยตนเอง เช่น ล้างมือ เช็ดมือ เช็ดน้ำมูก ฯลฯ

3. ฝึกลูกร่วมลงมือทำ

ร่วมกันลงมือทำกิจวัตรประจำวันด้านการช่วยเหลือตนเอง โดยจับมือนำ กระตุ้นให้ลูกมีส่วนร่วมลงมือกระทำจริงตามสถานการณ์ที่เกิดจริงตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน เช่น การเก็บที่นอน การทำความสะอาดร่างกาย การแต่งกาย การทานอาหาร-ดื่ม การขับถ่ายและเข้าห้องน้ำ การเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของตน จนถึงการเข้านอน

4. ฝึกให้ลูกมีส่วนร่วมรับผิดชอบ

ร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองเป็นผู้กระทำตามวัย ตามความสามารถ เช่น  จับมือให้ลูกร่วมเช็ดน้ำที่ทำหก ถอดเสื้อผ้าของตนเองใส่ไว้ในตะกร้า เก็บรองเท้าขึ้นชั้นวางรองเท้า

5.  ฝึกให้ลูกมีส่วนร่วมในงานบ้าน

ซึ่งได้แก่งานบ้านที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เช่น เก็บภาชนะของตนหลังทานอาหาร   ทิ้งขยะลงถัง หรือเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ของเล่น หนังสือ ที่ตนรื้ออกมาเก็บให้เข้าที่

6.  ฝึกลูกรับผิดชอบภารกิจตนเอง

ฝึกรับผิดชอบภารกิจที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เช่น ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ก่อนเข้านอนในตอนค่ำ เพื่อลูกตื่นนอนตอนเช้าได้ด้วยตนเอง จัดกระเป๋า ตารางสอน ของใช้สำหรับไปโรงเรียนตั้งแต่ตอนค่ำ รับผิดชอบงานของตนเองให้เสร็จ เช่น ทำการบ้านให้เสร็จ เป็นต้น

Tips เล็กๆ น้อยๆ จากบ้านอุ่นรัก

ลองนั่ง list รายการกิจวัตรประจำวันของลูกตั้งแต่ตื่นเช้าถึงเข้านอน  

นำกิจวัตรทีละอย่างมานั่งนึกถึงขั้นตอน แยกส่วนเป็นขั้นตอนย่อย ๆ โดยคิดเป็นภาพของการทำในแต่ละขั้นตอนของกิจวัตรนั้น ๆ ทีละเรื่อง คิดเป็นภาพสั้น ๆ ทีละ shot ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกิจกรรมจนถึงขั้นสุดท้าย ในเรื่องที่คาดว่าลูกจะเข้าใจได้ยาก เราอาจวาดรูปหรือถ่ายภาพกิจวัตรนั้น ๆ ทีละขั้นมาประกอบการสอนลูก เพราะการใช้ภาพช่วยสอนลูก จะทำให้ลูกเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าการพูดอธิบายแต่อย่างเดียว เช่น จะสอนลูกเรื่องการแปรงฟัน เราจะคิดเป็นภาพย่อย ๆ ทีละขั้น ได้ดังนี้

หยิบแปรงสีฟัน  à บีบยาสีฟันลงบนแปรง à เปิดก้อกน้ำ à เอาแปรงจุ่มน้ำ à แปรงจุดละ 10 ครั้ง (พร้อมนำให้แปรงทีละจุดจนทั่วทั้งปาก)  à บ้วนปาก à ล้างแปรง à เก็บแปรง

ฝึกลูกให้มีส่วนร่วมลงมือทำ เริ่มจากนำให้ลูกมีส่วนร่วมลงมือทำในกิจวัตรที่เกี่ยวข้องกับตัวเองทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ในระยะแรก อาจจับทำ บอกบท แล้วค่อย ๆ ลดการช่วยทีละน้อย  

กระตุ้นให้ลูกทำด้วยตนเองมากที่สุด จนปล่อยให้ลูกทำเอง

ฝึกทุกวัน เริ่มจับนำให้ลูกทำตามสถานการณ์จริง โดยเริ่มต้นฝึกเร็วที่สุดตั้งแต่ยังเล็ก ฝึกช่วยเหลือตนเองมาตั้งแต่ลูกอายุ 3-5 ปี ขวบ จนอายุ 7 ขวบ  หรือ อาจถึง 10 ขวบ

เลือกสอนทีละงาน เริ่มจากเรื่องที่ง่ายที่สุด 

พ่อแม่หรือสมาชิกในบ้านจัดเวลาลงมาจับนำในสถานการณ์จริง ทำด้วยความสุขที่จะได้ใช้เวลาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ร่วมกัน

เรามีภารกิจนี้ร่วมกับลูกนะคะ และยังพอมีเวลาอีกยาวนานที่จะเตรียมตัวลูกให้สามารถดำรงชีวิตให้ได้ในวัยผู้ใหญ่ เรามาเริ่มลงมือทำจริง ๆ ตั้งแต่วันนี้นะคะ ใช้กิจวัตรตามจริงจับนำแล้วปล่อยให้ลูกทำอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่นานนัก อาจจะใช้เวลาไม่เกิน 4-7 ปี เป็นช่วงชีวิตดี ๆ ที่เราได้จะใช้เวลาร่วมกับลูก ในที่สุดความรัก ความพยายามที่เราทุ่มเทให้ไป จะถึงจุดที่ลูกสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ในอนาคต จึงมั่นใจได้ว่าลูกจะยืนหยัดอยู่บนโลกนี้อย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่เป็นภาระของใครค่ะ

ท่านที่สนใจเรียนรู้ตัวอย่างการคิดกิจวัตรและขั้นตอนการสอน ให้สำเร็จได้จริง ท่านสามารถติดตามจากสื่อการสอนของบ้านอุ่นรัก ชุดการฝึกช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ตามช่วงวัย ตั้งแต่ อายุ 2-12 ปี ได้ ตามที่ท่านสะดวกค่ะ

5 วิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เมื่อรู้ว่าลูกเป็นออทิสติก | บ้านอุ่นรัก

5 วิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เมื่อรู้ว่าลูกเป็นออทิสติก | บ้านอุ่นรัก

บทความที่น่าสนใจในวันนี้ ขอนำเสนอในหัวข้อ 5 วิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เมื่อรู้ว่าลูกเป็นออทิสติก โดยครูนิ่ม บ้านอุ่นรักค่ะ

หลายต่อหลายครั้ง ที่รู้สึกเหมือนโชคชะตาไม่เป็นใจ หรือรู้สึกเหมือนกำลังโดนฟ้า หรือใครกลั่นเกล้งเราอยู่ เราก็อาจจะยังไม่รู้สึกเสียใจ ท้อแท้ใจ ห่อเหี่ยวใจ มากไปกว่า วินาทีที่เราได้รับการยืนยัน หรือทราบข่าวแน่ชัดแล้วว่า ลูกรักของเรามีอาการผิดปกติทางด้านพัฒนาการ หรือเป็นโรคออทิสติก

บ้านอุ่นรักและครูนิ่มเอง จากประสบการณ์ที่ดูแลพบปะกับเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองมาตลอดระยะเวลากว่า 26 ปี เราเข้าใจในจุดๆนี้ ของคุณพ่อคุณแม่ดีค่ะ ว่าการทำใจยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่องที่ยากลำบากกับความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่ในเวลานั้นเป็นอย่างมาก

แต่ครูนิ่มขอบอกเลยนะคะ ไม่ว่าจะอย่างไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าเราจะโศกเศร้าเสียใจ หรือตีโดยตีพายขนาดไหนก็ตาม สิ่งๆ นี้ได้เกิดขึ้นแล้ว และเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ค่ะ แต่ในความโชคร้าย ก็ยังมีความโชคดีอยู่ นั่นก็คือ เราสามารถเตรียมตัวและรับมือ กับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ค่ะ

1. ปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง  ไม่โทษตนเองหรือโชคชะตาที่ลูกเป็นโรคนี้  เปิดใจยอมรับธรรมชาติที่ลูกเป็น ลูกยังคงเป็นเด็กน้อยคนเดิมที่เรารัก ลูกของเราไม่ใช่เด็กที่บุบสลาย และยังคงมีศักยภาพซ่อนอยู่ในตัวเหมือน ๆ กับเด็กทุกคน เพียงแต่เป็นเด็กที่มีวิถีการเรียนรู้ที่แตกต่าง  การสอนและเลี้ยงดูลูกออทิสติกนั้นอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการที่แตกต่างหรืออาจใช้เวลามากกว่าในระยะแรก  ดังนั้นรีบเริ่มต้นเรียนรู้ให้เร็วว่า  เราจะเป็นพ่อแม่นักบำบัดได้อย่างไร แล้วทำทุกวันให้ดีที่สุด พร้อม ๆ ไปกับการอนุญาตให้ตนเองมีความสุขให้ได้ ด้วยทัศนคติทางบวกเช่นนี้ พ่อแม่จะมีพลังกายและใจในการนำพาลูกสู่เส้นทางการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพอย่างแน่นอน

2. ปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นพ่อแม่นักบำบัด หาความรู้เรื่องแนวทางการบำบัด ทำความเข้าใจเรื่องอาการของลูก และเริ่มลงมือทำด้วยตนเอง  คู่ขนานไปกับการบำบัดรักษาจากนักบำบัดมืออาชีพ ซึ่งการเปลี่ยนตนเองให้เป็นพ่อแม่นักบำบัดนี้ไม่ใช่เรื่องยาก โดยรับคำแนะนำจากแพทย์และทีมบำบัด ตลอดจนเข้าร่วมคอร์สฝึกอบรมต่าง ๆ ที่สถาบันที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิสติก รวมทั้งทีมบ้านอุ่นรักเอง ก็ได้จัดทำโปรแกรมเผยแพร่ความรู้ไว้หลายรูปแบบเพื่อเป็นเครื่องมือนำทางให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง  หากพ่อแม่สืบค้นก็จะพบคอร์สต่าง ๆ ที่น่าเรียนรู้เพื่อบำบัดรักษาอาการของลูกเองที่บ้าน และนี่ก็คือก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำพาพ่อแม่สู่การเป็นพ่อแม่นักบำบัดได้ในที่สุดซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเร็วกว่าการรอรับบริการจากภายนอก เพียงทางเดียว ซึ่งทางบ้านอุ่นรักเอง ก็ได้มีบริการจัดอบรมคอร์สต่างๆ เหล่านี้โดยครูนิ่มด้วยเช่นกันค่ะ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจก็ติดต่อกับทางบ้านอุ่นรักเข้ามาได้ค่ะ

3. ปรับเปลี่ยนสมาชิกในบ้านให้เป็นทีมบำบัด จากการศึกษาทั้งในและต่างประเทศพบว่าการกระตุ้นพัฒนาการและปรับพฤติกรรมลูกออทิสติกนั้นต้องทำให้ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน โดยเฉพาะการเกิดในชีวิตจริงที่บ้าน และทำอย่างต่อเนื่องใช้เวลาที่ยาวนานมากพอ สมาชิกทุกคนในบ้านจึงเป็นบุคคลสำคัญที่เรียกว่า Keyman  หากพ่อแม่ พี่น้อง และสมาชิกในบ้านแทคทีมจับมือกันเป็นทีมบำบัด และจัดแบ่งหน้าที่ในการช่วยกระตุ้นพัฒนาการและปรับพฤติกรรมให้ลูกออทิสติก โดยพุดคุยตกลงกันว่าใครสามารถทำสิ่งใดได้ ในเวลาใด เช่น แม่รับหน้าที่ฝึกลูกเรื่องทักษะการสานต่อการสนทนาและการทำกิจวัตรประจำวันเรื่องการตื่นนอน การทานอาหาร พ่อชวนลูกทำกิจกรรมสร้างสรรค์นอกบ้าน พี่ชวนน้องออทิสติกเตะฟุตบอลหรือขี่จักรยานร่วมกันยามเย็น คุณยายช่วยฝึกหลานให้ช่วยเหลือตนเองในการอาบน้ำและแต่งกาย  ฯลฯ หากทุกคนร่วมมือกันลงมือทำไปเรื่อย ๆ อย่างมีทิศทาง ในที่สุด ลูกออทิสติกจะเก่งขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยฝีมือของ (พวก) เราเอง

4. ปรับเปลี่ยนการจัดสรรเวลาเพื่อหาเวลาเฉพาะกันไว้ให้ลูก  เช่น พ่ออาจต้องตื่นให้เช้าขึ้นสักครึ่งชั่วโมงและก่อนพ่อออกไปทำงานในตอนเช้า จัดเวลาเฉพาะไว้เพื่อพูดคุยชวนลูกสบตาและสานต่อบทสนทนาระหว่างอาหารมื้อเช้า  แม่อาจลดภาระงานบ้านลงบางส่วนเพื่อจัดเวลาเฉพาะไว้เพื่อพาลูกเข้านอน เล่านิทาน ชวนลูกสรุปความจากนิทานที่ได้ฟังไป การจัดเวลาเฉพาะไว้ให้ลูกนี้ เราขอแนะนำว่าต้องใช้เวลาแต่ละช่วงไม่ต่ำกว่า 10-15 นาที ให้ได้วันละหลายๆรอบ  ดังนั้น แม้การทำแบบนี้อาจทำให้พ่อแม่เสียเวลาส่วนตัวไปบ้าง แต่จะได้เวลาคุณภาพที่ได้อยู่กับลูกเพิ่มเติม การกันเวลาที่มีค่าเฉพาะไว้เพื่อลูกในทุก ๆ วันเช่นนี้ จึงเป็นเสมือนของขวัญที่พ่อและแม่ได้มอบให้กับลูก และเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่เปี่ยมไปด้วยรักและอบอุ่นสำหรับครอบครัวได้อย่างแท้จริง

5. ปรับเปลี่ยนวิธีคิดในแง่การทำใจยอมรับความช่วยเหลือยามจำเป็น  เราไม่สามารถเป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบหรือพร้อมรับมือตลอดเวลา  โดยเฉพาะในการเลี้ยงดูลูกที่ใช้พลังกาย ใจ  มากกว่าการเลี้ยงตามปกติ ย่อมทำให้พ่อแม่เกิดความเหนื่อยล้า  ดังนั้นในบางเวลาเราจำเป็นต้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างบ้าง  พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเป็นซุปเปอร์พ่อแม่ที่ต้องทำทุกอย่างด้วยตนเองไปสียทั้งหมด ลองมองไปรอบ ๆ ตัว แล้วจะพบคนที่ปรารถนาดีรอให้ความช่วยเหลือในรูปแบบที่เขาทำได้อยู่รายรอบ เช่น คุณน้าข้างบ้านที่อาสาดูแลลูกให้เราสักครึ่งชั่วโมงในขณะที่เราไปซื้อของที่ตลาด เพื่อนของเราที่จะช่วยดูแลลูกในขณะวันที่เราไม่สบาย เพื่อนของพ่อที่เป็นเพื่อนเล่นฟุตบอลกับลูกของเราพร้อม ๆ ไปกับลูกของเขา เป็นต้น เพียงเรายอมรับว่าเราทำทุกอย่างเองไม่ได้ เราเปิดใจให้ลูกได้เป็นตกเป็นสมบัติสาธารณะตามควรอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในที่สุด เพื่อนบ้านของเรา เพื่อนของเรา ญาติพี่น้องของลูก หรือแม้แต่พี่พนักงานขายของที่ร้านสะดวกซื้อ จะเปิดใจรับลูก ทำความรู้จักกับลูก มองเห็นความน่ารักน่าเอ็นดูของลูก และอ้าแขนรอกอดลูกออทิสติกผู้น่ารักของเรา

ครูนิ่ม และพวกเราชาวบ้านอุ่นรักทุกคน จะยืนอยู่ตรงนี้เป็นอีกหนึ่งกำลังใจ มีรอยยิ้ม  อ้อมกอดที่จริงใจ  และพร้อมจะดูแลคุณพ่อคุณแม่ และเด็กๆ ในเรื่องที่เราทำได้ค่ะ

VDO | ทฤษฏี ABA (Applied Behavior Analysis) กับการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก/เด็กสมาธิสั้น

VDO | ทฤษฏี ABA (Applied Behavior Analysis) กับการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก/เด็กสมาธิสั้น

ทฤษฏี ABA (Applied Behavior Analysis หรือการวิเคราะห์พฤติกรรมประยุกต์) กับการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก/เด็กสมาธิสั้น

———-
ในปัจจุบัน มีการนำทฤษฎีหลายทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดรักษาเด็กออทิสติก/เด็กสมาธิสั้น และประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่จำเป็นต้องวางแผนในการบำบัดรักษาเด็กสองกลุ่มนี้ คือ ต้องมีการปรับพฤติกรรมของเด็ก ๆ เพื่อลดข้อจำกัดที่กำลังขัดขวางการดำรงชีวิตตามปกติสุขและปิดกั้นการเรียนรู้ของพวกเขา ซึ่งหากจะให้เกิดผลดี เราอาจจะต้องนำแนวทางการปรับพฤติกรรมจากหลาย ๆ ทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ผสมผสานกันอย่างมีศาสตร์และศิลป์
———-
ในตอนนี้ จะกล่าวถึงทฤษฏี ABA (Applied Behavior Analysis) หรือ ทฤษฏีการวิเคราะห์พฤติกรรมประยุกต์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอิแวน โลวาส (Ivan Lovass) และได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในแง่การปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก/เด็กสมาธิสั้น 
———-
ทฤษฎี ABA เชื่อว่า “พฤติกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการวิเคราะห์กระบวนการที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะเป็นรายบุคคลว่าในกระบวนการเกิดพฤติกรรมจะมีองค์ประกอบสำคัญ คือ มีสิ่งเร้ามากระทบทำให้เกิดพฤติกรรม และมีแรงเสริมบางอย่างที่จะมีผลให้พฤติกรรมนั้น ๆ เกิดเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลงในอนาคต จากนั้น จะนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ มาวางแผนและปรับกระบวนการทางพฤติกรรมเสียใหม่ เพื่อปรับลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือเพิ่มพฤติกรรมใหม่ที่พึงประสงค์” 
———-
เพื่อให้เพื่อน ๆ เห็นภาพการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABA ในทางปฏิบัติได้ชัดเจนขึ้น เราจึงนำตัวอย่างการจำลองภาพการปรับพฤติกรรมแบบ ABA (หนึ่งเหตุการณ์ แต่ดำเนินเรื่องในสองลักษณะ) มาให้เพื่อน ๆ รับชมตามคลิปนี้ 
———-

———-
Changing Behavior – Autism Therapy Video
วีดีโอแสดงตัวอย่างแนวทางการปรับพฤติกรรมแบบ ABA 
———-
เหตุการณ์แบบที่ 1:
-> เด็กใช้คอมพิวเตอร์อยู่ 
-> ครูเดินมาบอกว่าหมดเวลาการใช้คอมพิวเตอร์แล้ว 
-> เด็กโวยวายตะโกนยืนกรานว่าตนเองต้องได้ใช้คอมพิวเตอร์ต่อ 
-> ครูอนุโลมให้เด็กนักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์ต่อไปอีกห้านาที

#แรงเสริม คือ ครูยอมอนุโลมให้เด็กได้ทำในสิ่งที่เด็กต้องการ ทั้ง ๆ ที่หมดเวลาแล้ว
———-
คำถาม: 
จากแรงเสริมที่ครูยอมอนุโลมให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์ต่อทั้ง ๆ ที่หมดเวลาแล้วนั้น คุณคิดว่า ในอนาคต แนวโน้มที่เด็กจะแสดงพฤติกรรมตะโกนโวยวายยืนกรานว่าตนต้องได้ทำตามที่ตนต้องการจะเป็นเช่นไร (#เพิ่มขึ้นหรือลดลง
———-
คำตอบ: 
เด็กมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ต่อไป (หากเด็กอยากได้อะไรก็จะตะโกนโวยวายยืนกรานที่จะทำตามที่ตนต้องการ) และมีพฤติกรรมรูปแบบนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ หากถูกขัดใจ ไม่ได้ดั่งใจ หรือไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ
———-
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เดียวกันนี้อาจต่างออกไปได้ คือ
———-
เหตุการณ์แบบที่ 2:
-> เด็กใช้คอมพิวเตอร์อยู่ 
-> ครูเดินมาบอกว่าหมดเวลาการใช้คอมพิวเตอร์แล้ว 
-> เด็กโวยวายตะโกนตอบยืนกรานว่าตนเองต้องการใช้คอมพิวเตอร์ต่อ 
-> ครูพูดย้ำว่าหมดเวลาแล้ว ครูปิดคอมพิวเตอร์ ครูไม่ยอมให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์อีกต่อไป

#แรงเสริม คือ ครูพูดย้ำว่าหมดเวลาแล้ว ครูปิดคอมพิวเตอร์ ครูไม่ยอมให้เด็กได้ใช้คอมพิวเตอร์ต่อตามที่เด็กต้องการ
———-
คำถาม: 
จากแรงเสริมที่ครูไม่ยอมให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์ต่อเพราะหมดเวลาแล้วนั้น คุณคิดว่า ในอนาคต แนวโน้มที่เด็กจะมีพฤติกรรมตะโกนโวยวายยืนกรานว่าตนต้องได้ทำตามที่ตนต้องการจะเป็นเช่นไร (#เพิ่มขึ้นหรือลดลง) 
———-
คำตอบ: 
เด็กมีแนวโน้มที่จะลดการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นี้ลง เพราะทำแล้วก็ไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ (มีพฤติกรรมตะโกนโวยวายยืนกรานว่าตนต้องได้ทำตามที่ตนต้องการลดลง)
———-

จากคลิปตัวอย่างในวันนี้เรื่องการใช้ทฤษฏี ABA ในการปรับพฤติกรรมเด็ก เราหวังว่าเพื่อน ๆ จะได้เห็นภาพเรื่องการให้แรงเสริมในรูปแบบที่ต่างกันอันจะส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดพฤติกรรมหนึ่ง ๆ ของเด็ก ๆ ได้ชัดเจนขึ้น 
———-
จริง ๆ แล้ว การเลี้ยงลูกออทิสติก/ลูกที่สมาธิสั้น ก็คือการที่เราเลี้ยงเด็กคนหนึ่งเหมือนเด็กคนอื่น ๆ เราจึงสามารถใช้วิถีการเลี้ยงสามัญธรรมดา เพียงแต่ลูก ๆ สองกลุ่มนี้ของเราจะมีพฤติกรรมบางด้านที่เราจะต้องสังเกตเห็นและหาทางแก้ไขอย่างจริงจังมากกว่าการเลี้ยงลูกตามปกติ
———-
เราซึ่งเป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือคนในครอบครัวของเด็กสามารถใช้สัญชาตญาณ ความรัก ความปรารถนาดีที่ตั้งอยู่บนขอบเขตที่เหมาะสมมาใช้ในการเลี้ยงลูกที่น่ารักคนนี้ได้อย่างดีอยู่แล้ว 
———-
แต่ในบางกรณีที่เกิดการติดขัด คิดไม่ตก หรือแก้ปัญหาพฤติกรรมของลูก ๆ ไม่ได้ เราอาจลองค้นคว้าเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหาจากแนวทางทฤษฎีต่าง ๆ ที่มีคนเคยทดลองทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเกิดผลสำเร็จมาประยุกต์ใช้ดูบ้าง ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยให้เราเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกได้อย่างมีทิศทางมากขึ้น และจะได้มีกำลังใจว่าจริง ๆ แล้วทุกปัญหาที่เกิดกับลูกมีทางออก 
———-
มีเด็กจำนวนมากเดินในเส้นทางนี้มาก่อนและมีคนพยายามคิดค้นแนวทางรอไว้ให้เราเรียนรู้อยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องค้นคว้าและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาอย่างรอบคอบและจะต้องทำอย่างเกิดสมดุลตามแบบฉบับเฉพาะตัวของครอบครัวเราและเหมาะกับลูกของเรา
———-
ขอให้มีความมั่นใจและมีกำลังใจในการเลี้ยงลูกนะคะ
———-
Clip Credit: www.behaviorfrontiers.com

เน้นประเด็น ข้อ 16-18/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู  จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 16-18/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

▶️16.คิดให้รอบคอบเรื่องสถานที่ ๆ เราจะพาเด็กออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องระบบรับสัมผัส (รับรู้ไว) ไปเที่ยว
🎢🎠ตัวอย่าง: หากลูกกลัวเสียงดัง หรือกลัวที่ ๆ มีคนพลุกพล่าน เราไม่ควรพาลูกไปเที่ยวเทศกาลดอกไม้ไฟหรืองานกาชาด 🎡แต่ควรชวนลูกไปเที่ยวในสวนที่สงบ ๆ และร่มรื่น ⛩เป็นต้น

▶️17.สื่อสาร พูดคุย หรือรับมือเด็ก 😇ด้วยความเมตตา ใจเย็นและสงบ หากในการรับมือนั้น เรา😡รู้ตัวว่าเรายังใจร้อนและโมโหอยู่ เราควรขอให้เพื่อน คนในครอบครัว หรือนักบำบัดช่วยรับมือแทน (หรือขอคำปรึกษาว่าจะทำใจให้สงบได้อย่างไร) 😰ทั้งนี้ หากเราโกรธ ใจร้อน เร่งรัดให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ หรือขู่เด็ก เราอาจหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กได้เพียงชั่วครู่ (เพราะเด็กกลัวหรือตกใจ) แต่ไม่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ในระยะยาว

▶️18.เราไม่โทษเด็กหรือตัวเราเองหากเราทำดีที่สุดแล้วแต่สถานการณ์กลับไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ 😎🤗 ทั้งนี้เพราะแม้เราพยายามดีที่สุดแล้ว พยายามทำให้ทุกเหตุการณ์เป็นเรื่องที่เด็กรู้อย่างชัดเจนแล้วว่าเขาต้องทำอะไร ทำอะไรก่อน-หลัง เราใจเย็นแล้ว หรือได้บอกเด็กไปหลายครั้งแล้วในสิ่งที่เขาต้องทำ 👩‍🌾👨‍🌾 แต่ใช่ว่าเหตุการณ์จะเป็นไปด้วยดีได้ทุกครั้ง 👩‍🏭หากครั้งใดเกิดเรื่องที่เราไม่คาดคิดหรือไม่พึงประสงค์ ไม่เป็นดังใจหวัง🧛‍♂🧛‍♀