เน้นประเด็น ข้อ 11-12/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู  จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 11-12/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

▶️11.ชมเด็กและแสดงให้เด็กรู้ว่าเรารู้สึกดีอย่างไรที่เด็กทำได้ตามข้อตกลง
🔰ตัวอย่างเด็กส่งเสียงดังในโรงภาพยนตร์ เราควรบอกเด็กว่า “พูดเบา ๆ ในโรงภาพยนตร์” เมื่อเด็กทำได้ตามที่เราบอก เราต้องกล่าวชม เช่น “แม่ดีใจที่หนูพูดเบา ๆ ในโรงภาพยนตร์” “แม่ขอบใจที่หนูพูดเบา ๆ ในขณะชมภาพยนตร์” เป็นต้น
📛การต่อยอด: ในกรณีที่เด็กมีทักษะการฟัง การทำความเข้าใจ เราควรใช้สถานการณ์นี้ในการต่อยอดสอนเด็กเรื่องผลการกระทำของเด็กที่มีต่อบุคคลอื่น

▶️12.ให้เด็กได้เลือกเองบ้าง ทั้งนี้ อย่าลืมว่าเด็กออทิสติกก็เหมือนกับเด็กอื่น ๆ ทั่วไป 🧒👩 คือ อยากควบคุมสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้บ้าง 👨‍🌾👩‍🌾 ดังนั้น ในบางเรื่อง บางครั้งบางคราว เราควรให้เด็กได้เลือกบ้าง 🔶️แต่จำกัดตัวเลือกไว้ไม่เกิน 4 อย่าง เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความสับสนเพราะเลือกไม่ถูก
⭕ตัวอย่าง: 🖥📺หนูอยากเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรืออยากดูโทรทัศน์
👕ลูกอยากใส่เสื้อสีเขียวหรือสีแดง

🍭🍭 หมายเหตุ: สำหรับเด็กที่ขาดทักษะทางภาษาและการฟังเข้าใจ เราสามารถใช้ภาพเป็นตัวช่วยในการให้ทางเลือก
ตัวอย่าง: วันนี้ลูกอยากทานอะไร (ให้เด็กเลือกจากตัวเลือกตามภาพที่เตรียมไว้)

เน้นประเด็น ข้อ 9-10/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู  จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 9-10/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

▶️9.ใช้การเสริมแรง 🍭 (Reinforcement) (เช่น คำชม รางวัล ให้ดาวความดี) เพื่อกระตุ้นให้เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์

ข้อควรจำ: 🐷🐖

↪-ในกรณีที่เราสัญญากับเด็กว่าเราจะให้รางวัล เราต้องทำตามสัญญาเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ

↪-เราต้องสามารถหยุดการต่อรองในกรณีที่เด็กมีการต่อรองเรื่องสิ่งตอบแทนหรือรางวัลที่ต้องการได้รับ ทั้งนี้ เราอาจให้ทางเลือกแก่เด็กเพื่อลดข้อโต้แย้งเรื่องของรางวัล แต่ต้องไม่เกิน 2-4 ตัวเลือก เพราะเด็กอาจสับสนและเลือกไม่ถูกหากมีตัวเลือกมากมายเกินไป

↪-รางวัลที่ให้เป็นสิ่งที่เด็กชอบ

↪-เราจะค่อย ๆ ลดการให้แรงเสริม เช่น รางวัล หรือคำชมลง จนกระทั่งไม่ต้องให้อีกเลย เมื่อเด็กเกิดพฤติกรรมทางบวกจนเป็นนิสัยแล้ว

ตัวอย่าง: แม่จะคุยโทรศัพท์ 5 นาที ในระหว่างที่แม่โทรศัพท์ ลูกต้องเล่นเงียบ ๆ ถ้าลูกทำได้ เมื่อแม่คุยโทรศัพท์เสร็จ แม่จะเล่นกับลูกค่ะ (รางวัลในที่นี้คือแม่จะเล่นกับลูก)

▶️10.ทำข้อตกลงที่ทำร่วมกันมีความชัดเจนว่า✏เราจะทำอะไร ✏อะไรเกิดก่อน-หลัง ✏และหากเด็กทำได้ตามข้อตกลง เด็กจะได้อะไรเป็นรางวัล

ตัวอย่างสถานการณ์😭: ลูกโกรธและโวยวายทุกครั้ง หากไปร้านขายของแต่แม่ไม่อนุญาตให้ลูกเดินไปดูของเล่นที่แผนกของเล่น
🚩ตัวอย่างการทำข้อตกลง:🏪 ก่อนไปร้านขายของ แม่บอกลูกว่า “วันนี้เราจะไปซื้อปากกา 🖋🖊ที่ร้านขายของ เมื่อเราซื้อปากกาเสร็จ เราจะไปจ่ายเงิน จากนั้น เราจะกลับบ้านกันค่ะ ✔ถ้าลูกทำตามนี้ได้ ✅ลูกจะได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนันที่ลูกชอบ 1 ตอนเมื่อเรากลับถึงบ้าน”

🔅🔅: เมื่อไปถึงร้านขายของ แม่จะบอกลูกอีกครั้งว่า “ตอนนี้ เราจะเข้าไปในร้านขายของ ไปซื้อปากกา ไปจ่ายเงิน และเราจะกลับบ้าน ✔ถ้าลูกทำตามนี้ได้ ลูกจะได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนันที่ลูกชอบ 1 ตอนเมื่อเรากลับถึงบ้าน”
😉 ข้อควรจำเรื่องการให้รางวัล:
✅เราควรกล่าวทวนสิ่งที่เด็กทำได้ตามข้อตกลงก่อนให้รางวัล
ตัวอย่างการกล่าวทวนความ: เมื่อกลับเข้าบ้าน แม่พูดว่า👩‍🏭 “วันนี้แม่ดีใจมากที่ลูกทำได้ตามข้อตกลงของเรา คือ เราไปร้านขายของ ไปซื้อปากกา จ่ายเงิน และกลับบ้าน เพราะฉะนั้นตอนนี้ลูกได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนัน 1ตอน

🤩-เราอาจให้เด็กเลือกของรางวัลด้วยตนเองหรือให้ทางเลือกว่าเด็กต้องการเลือกรางวัลใดระหว่าง 1 หรือ 2 แต่อย่าให้ตัวเลือกมากจนเกินไปเพราะเด็กจะตัดสินใจไม่ได้
😍-เราจะค่อย ๆ ลดการให้รางวัลจนกระทั่งไม่ต้องให้รางวัลอีกเลยเมื่อเด็กทำพฤติกรรมทางบวกจนเป็นนิสัยได้แล้ว

เน้นประเด็น ข้อ 7-8/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู  จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 7-8/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

▶️7.ใช้ตัวช่วยในการบอกเวลา ⏰ ตั้งเวลา/จับเวลา ✔ เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าเด็กใช้เวลาในการทำสิ่งนั้น ๆ ไปนานเท่าไรแล้ว ✔และยังเหลือเวลาอีกเท่าไรในการทำสิ่งนั้น ๆ ✔หลังหมดเวลา ก็จะถึงตอนที่เด็กต้องเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นในลำดับถัดไป

😁😉 ตัวอย่าง: หนูเหลือเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์อีก 5 นาที จากนั้น หนูต้องไปทำการบ้าน
⭐ตัวช่วย: นาฬิกาจับเวลา นาฬิกาทราย⭐ แผ่นภาพแสดงตัวเลขนับถอยหลัง (เช่น เลข 5 4 3 2 1 0 เป็นต้น) ⭐หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีในโทรศัพท์มือถือหรือใน iPad

⚠️ทำไมเราต้องใช้ตัวช่วยเรื่องการบอกเวลา/ตั้งเวลา/จับเวลา: ✳เพราะเด็กออทิสติกมีข้อจำกัดเรื่องการสื่อภาษา การใช้ Visual Image ภาพของตัวเลขหรือตัวเลขที่มองเห็นได้ด้วยตาเพื่อบอก ✳ช่วยลดการโต้แย้งระหว่างเราและเด็ก ✳ช่วยคลายความวิตกกังวลของเด็ก และช่วยให้เด็กรู้ล่วงหน้าได้ว่าเขายังเหลือเวลาอีกเท่าไรในการทำสิ่งต่าง ๆ และเมื่อเวลาสำหรับกิจกรรมนั้น ๆ หมดลง การเปลี่ยนผ่านสู่กิจกรรมใหม่จะทำได้ราบรื่นขึ้นตามไปด้วย

▶️8.กำหนดเวลาหรือจำนวนชิ้นงานที่เด็กต้องทำอย่างชัดเจน 👷‍♂👷‍♀ ทั้งนี้เพราะเด็ก ๆ จะทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราบอกให้ทำได้ดี 💱 เมื่อเขารู้ว่าสิ่งที่ต้องทำนั้นจะจบลงเมื่อไร

ตัวอย่าง: 🔖เราจะเรียนเลข 20 นาที (พร้อมกันนั้นเราตั้งนาฬิกาจับหรือบอกเวลา)
ตัวอย่าง: 🔖ลูกเก็บของเล่นจำนวน 10 ชิ้นลงไปในกล่องเก็บของ
ตัวอย่าง: 🔖หนูพ่นน้ำยาเช็ดกระจก 3 ครั้ง จากนั้นใช้ผ้าเช็ดสัก 2 นาทีจนกระจกสะอาด
🔅หมายเหตุ: ถ้าเด็กต้องใช้เวลาในการทำเรื่องนั้นนาน ๆ เด็กอาจหงุดหงิด ดังนั้น การให้เด็กได้พักเป็นระยะ ๆ จะช่วยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้

ตัวอย่าง:🔖 ลูกต้องทำเลข 20 ข้อ (เราให้เด็กทำเลข 10 ข้อให้เสร็จ ⏱ จากนั้นพัก 5 นาที (เราใช้นาฬิกาบอกเวลาเพื่อเด็กรู้ระยะเวลาในการหยุดพักด้วย) 🖋ให้เด็กกลับมาทำเลขต่ออีก 10 ข้อที่เหลือให้เสร็จ เมื่อทำเลขครบ 20 ข้อ 🏃‍♀🏃‍♂ เด็กจะได้ไปเล่น (ให้เด็กเลือกเล่นสิ่งที่เด็กอยากเล่น หรือให้ตัวเลือกไม่เกิน 2-4 ตัวเลือก เป็นต้น)

ตัวช่วย 🤩🤗 ใช้ตารางบอกลำดับของกิจกรรมที่ต้องทำ 📅ทำเลข 10 ข้อ
📅พัก 5 นาที (ให้ทำกิจกรรมที่ชอบระหว่างพักได้)
📅ทำเลขต่ออีก 10 ข้อให้เสร็จ
📅เวลาเล่น (ให้เลือกเล่นตามชอบใจได้ หรือเสนอตัวเลือกให้เลือก)

เน้นประเด็น ข้อ 3-4/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู  จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 3-4/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

▶️3.ใช้สถานการณ์ตรงหน้าในการสอนเด็กได้อย่างเหมาะสม
✔ตัวอย่าง: ลูกแย่งของเล่นเพื่อน
✳แนวทาง: ใช้สถานการณ์นั้นในการสอนเด็กเรื่องคำพูดที่ควรใช้ในการขอยืมของเล่นจากเพื่อน แทนการแย่งของเล่นจากเพื่อน ✳สอนลูกให้พูดว่า “เราขอยืมตุ๊กตาได้มั๊ย” “ขอยืมของเล่นหน่อย” “ขอเล่นด้วยคนได้มั๊ย” (เราไม่ควรมุ่งตำหนิเด็กเรื่องการแย่งของเล่น)

▶️4.แสดงให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง สาธิตหรือทำให้ดูว่าพฤติกรรมที่เราต้องการให้ทำเป็นแบบไหน
😿 ตัวอย่าง: ลูกเดิน/วิ่งไป ๆ มา ๆ ในห้างสรรพสินค้า เราอยากให้ลูกเดินดี ๆ (ถ้าเราบอกลูกว่า “เดินดี ๆ” ลูกอาจไม่เข้าใจ)

✔สิ่งที่เราควรทำ: ✳บอกลูกสั้น ๆ ชัดเจนว่า “ลูกเดินข้าง ๆ แม่ จูงมือแม่ ในห้างสรรพสินค้า”
✔แสดงให้ลูกเห็นว่าลูกต้องเดินข้าง ๆ แม่และจูงมือแม่แบบนี้ (อาจมีการซ้อมเดินก่อนมาห้างสรรพสินค้า เพราะเราสามารถซักซ้อมก่อนมาสถานที่จริงกี่ครั้งก็ได้ ยิ่งซ้อมบ่อย ลูกยิ่งได้สะสมประสบการณ์และจะแสดงพฤติกรรมที่ดีตามที่เราบอกได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่ในสถานการณ์จริง)

แล้วมาติดตามกันต่อ ในตอนต่อไปนะคะ ^^

เน้นประเด็น ข้อ 1-2/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 1-2/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

1. ใช้คำพูดสั้น ๆ พูดกระชับและบอกอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมว่าต้องการให้เด็กแสดงพฤติกรรมอะไร

ตัวอย่างสถานการณ์: ลูกเขี่ยอาหาร / ไม่ยอมทานอาหาร
✔คำพูดที่เราควรใช้: “ทานอาหารค่ะ”
❎ คำพูดที่เราไม่ควรใช้: ทำตัวดี ๆ ตอนทานอาหาร / อย่าเขี่ยอาหารแบบนั้น/ หยุดเดี๋ยวนี้นะ ทำไมชอบเขี่ยอาหารอยู่เรื่อยเลยนะ

ทำไมเราควรใช้คำพูดสั้น ๆ กระชับและบอกเด็กให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าเราต้องการให้เด็กทำอะไร: เพราะเด็กออทิสติกมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ การฟัง และการทำความเข้าใจภาษา (การสื่อภาษาไม่สมวัย) ดังนั้น การพูดให้ตรงประเด็นและพูดสั้น ๆ จะทำให้เด็กเข้าใจได้ง่ายว่าเราต้องการให้เด็กทำอะไร

ข้อควรจำ: ในกรณีที่เด็กยังทำไม่ได้ตามที่เราบอก เราควรบอกเด็กให้ชัดเจนอีกครั้งว่าเราต้องการให้เด็กทำอะไร

2. บอกเด็กอย่างชัดเจนว่าในแต่ละสถานการณ์ เราต้องการให้เด็กแสดงพฤติกรรมแบบใด

ตัวอย่าง: แม่จะคุยโทรศัพท์ 5 นาที ในระหว่างที่แม่โทรศัพท์ ลูกต้องเล่นคนเดียวแบบเงียบ ๆ ถ้าลูกทำได้ เมื่อแม่คุยโทรศัพท์เสร็จ แม่จะเล่นกับลูกค่ะ

ทำไมเราต้องทำเช่นนี้: เพราะเราต้องการปรับพฤติกรรมของเด็กให้เข้าที่เข้าทางจนขึ้นรูปเป็นพฤติกรรมที่เด็กทำได้เองเป็นกิจวัตร การบอกให้เด็กแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นเสมอในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำให้เด็กรู้อย่างชัดเจนว่าเขาต้องทำอะไรและไม่สับสน (เราควรบอกให้ลูกเล่นแบบเงียบ ๆ เสมอในระหว่างที่เราคุยโทรศัพท์ เราไม่ควรเปลี่ยนไปมา เช่น วันนี้ เราบอกให้ลูกเล่นแบบเงียบ ๆ ในขณะที่เราโทรศัพท์ แต่พรุ่งนี้เรากลับยอมให้ลูกส่งเสียงดังหรือถามแทรกว่าเมื่อไรแม่จะโทรศัพท์เสร็จ เป็นต้น)

ข้อควรจำ: 

– การปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ทำต่อเนื่องและทำสม่ำเสมอ

– หากเด็กยังทำไม่ได้ตามที่เราบอก เราควรบอกเด็กให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งว่าเราต้องการให้เด็กทำอะไรในสถานการณ์นั้น ๆ เช่น ในระหว่างที่แม่โทรศัพท์ ลูกส่งเสียงดัง เราควรบอกลูกว่า “ลูกต้องเล่นเงียบ ๆ ในขณะที่แม่โทรศัพท์” ทั้งนี้เราไม่ควรพูดว่า “หยุดส่งเสียงดัง” หรือ “เคยบอกแล้วใช่มั๊ยว่าให้ทำยังไงตอนที่แม่โทรศัพท์” เป็นต้น

– ใช้ตัวช่วยในการบอกเวลา เช่น นาฬิกาบอกเวลา จับเวลา ตั้งเวลา ให้เด็กรู้ว่าเราใช้เวลในการโทรศัพท์ไปกี่นาทีแล้วและยังเหลือเวลาอีกนานเท่าไรจึงจะครบ 5 นาทีนั้น การทำเช่นนี้ช่วยให้เด็กไม่วิตกกังวลหรือลดความวิตกกังวลเรื่องระยะเวลาลงได้

แล้วมาติดตามกันในตอนต่อไปนะคะ 

Credit: บทความ โดย Rachel Wise จากบล็อกของ International Board of Credentialing and Continuing Education Standards หรือ IBCCES