4 วิธีบอกรัก “รักนะ…ตัวเอง” (ตอนที่ 2) | บ้านอุ่นรัก

4 วิธีบอกรัก “รักนะ…ตัวเอง” (ตอนที่ 2) | บ้านอุ่นรัก

ในตอนที่แล้ว เราได้บอก (รัก) ตัวเอง กันไปแล้วว่า “เราจะมีความสุขให้ได้ เพราะ…เราสามารถมีฝันและมีชีวิตของตัวเองไปพร้อม ๆ กับการหาทางรอดให้ลูก”

ส่วนในตอนนี้ เรามาพบกับอีก 3 วิธีที่เหลือในการบอกรักตัวเองกันต่อ เพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุขให้ได้ค่ะ

(2) เราจะหาความสุขเล็ก ๆ มีช่องว่างทางอารมณ์บ่อย ๆ

เราจะหาช่องว่างทางอารมณ์จากสิ่งเล็ก ๆ ที่เราชอบและจะทำให้บ่อย เพราะเมื่อเราได้ทำ เราได้เป็นตัวของตัวเองและผ่อนคลาย…เราจะนั่งทาเล็บ ขัดถูรถยนต์คันงาม เลี้ยงปลา อ่านหนังสือ สวดมนต์ เพื่อสร้างช่องว่างทางอารมณ์ที่ทำให้เรารู้สึกดีที่ได้เป็นตัวของตัวเอง ได้ดื่มด่ำช่วงเวลาที่ใจสงบ เป็นช่วงเวลาเล็ก ๆ ที่ไม่มีภาระ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องรับผิดชอบชีวิตใคร…เรามีสมาธิและจิตใจสงบ แม้เป็นเวลาที่สงบเพียงช่วงสั้น ๆ แต่เราจะแทรกช่องว่างทางอารมณ์ให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในระหว่างวันเพื่อจิตใจเราจะได้เป็นเหมือนกาน้ำที่ไม่เติมน้ำจนล้น ใจเรายังมีพื้นที่ว่างระหว่างน้ำและฝากา พอน้ำเดือดจัด จึงไม่มีน้ำร้อนไหลออกมาลวกมือลวกใจ

(3) เราจะรู้ทันใจให้เร็ว รีบปีนขึ้นมา อย่านอนจมแช่ในหลุมอารมณ์

เราจะรู้ทันใจตัวเองให้เร็ว รับมือกับสิ่งใหม่และทุกเหตุการณ์ให้เท่าทัน…เราจะรับรู้และมองเห็นอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดแวบเข้ามาบ่อย ๆ ด้วยสติที่รู้ตัว ไม่ว่าจะโกรธ น้อยใจ เสียใจ ไม่ได้ดังใจ ว้าเหว่ โดดเดี่ยว เหงา เศร้าใจ เมื่อเรารู้ทันใจตนเอง เราจะรับรู้และมองเห็นอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นมาบ่อย ๆ เหล่านั้น และตัดมันออกไปได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ทุกข์ที่เราเคยมี ลดลงไปครึ่งหนึ่งแล้ว…เราจะรู้ทันใจตนเองและมีสติ ไม่ตกอยู่ในหลุมอารมณ์  ไม่ปล่อยให้ใจลงไปจม นอนแช่ หรือปรุงแต่งจนเรื่องราวบานปลายใหญ่โต…เราจะมีสภาพจิตที่เป็นกลาง เข้าใจและมองโลกอย่างตรงไปตรงมา มองตรง ๆ จริง ๆ ไม่บิดข้อเท็จจริง และเราจะไม่ใช้กลไกทางจิตเพื่อพยายามพูดอธิบายหรือหาเหตุผลบางอย่างมาสนับสนุนในทุกเรื่องเพื่อป้องกันตนเอง

(4) เราจะมองโลกแบบ “New Normal”

เราจะมองว่าเป็นธรรมดาของชีวิตที่จะมีเรื่องใหม่ ๆ ปะทะเข้ามา เรื่องเหล่านั้นเป็นวิถีธรรมดา ๆ ของคนธรรมดา ๆ เป็นวิถีที่กำลังดำเนินอยู่ของโลกและเกิดขึ้นได้ทุก ๆ วันกับทุก ๆ คน ทั้งความสุขและความทุกข์ ทั้งถูกอิจฉา ริษยา ทั้งทำให้เสียใจ น้อยใจ รู้สึกโดดเดี่ยว ถูกเข้าใจผิด ไม่ได้รับความยุติธรรม เพื่อใจของเราถูกรบกวนน้อยลง…เรายอมรับว่าทุก ๆ อย่างจะเกิดขึ้นกับเราได้ในทุกวันที่เราตื่นขึ้นมา เราแค่กำลังจะเผชิญกับอะไรบางอย่างที่หนีไม่พ้นตามธรรมดาของโลก เราแค่ใช้ชีวิตอยู่และเผชิญกับเรื่องต่าง ๆ ออกไปตรง ๆ ถ้าเราพูดผิด เราก็ขอโทษ ใครมาทำร้าย เราก็สมควรเศร้าใจหรือร้องไห้ หากเราว้าเหว่ เราก็วิ่งหาอ้อมกอด เมื่อสนุก เราก็หัวเราะให้ดัง และเราจะอนุญาตให้ตัวเองมีความสุข และเข้าใจชีวิตแบบ New Normal

4 วิธีบอกรัก รักนะ…ตัวเอง ของ “บ้านอุ่นรัก” แม้จะไม่ใช่วิธีบอกรักที่ว้าวหรือหวือหวาสักเท่าไรนัก แต่เรามั่นใจว่าการที่เราทุกคนบอกรักตัวเองไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เป็นการแสดงความตั้งใจอย่างแน่วแน่แล้วว่าเราจะรักตนเอง อนุญาตให้ตนเองมีความสุขให้ได้ เพราะนั่นคือหนทางที่ถูกต้องในการนำพาชีวิตลูกและเราไปสู่จุดหมายปลายทางที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นได้พร้อม ๆ กัน

มา Reset พลังกายและพลังใจของตนเอง และบอก “รักนะ…ตัวเอง” กันนะคะ

เครดิตภาพ: Tim Mossholder | Unsplash + Slides Carnival

4 วิธีบอกรัก “รักนะ…ตัวเอง” (ตอนที่ 1) | บ้านอุ่นรัก

4 วิธีบอกรัก “รักนะ…ตัวเอง” (ตอนที่ 1) | บ้านอุ่นรัก

คุณแม่ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “การช่วยลูกที่มีปัญหาด้านพัฒนาการให้มีพัฒนาการรอบด้านที่ดีขึ้นได้ เปรียบเสมือนการเดินทางไกลข้ามวันเวลาด้วยความอดทน แต่อย่าไปจดจ่อกับมันมากเกินไปนัก ที่สำคัญคือ ต้องรักและใส่ใจตนเองในขณะที่ช่วยเหลือลูกด้วย ต้องหยุดความเสียใจให้ทัน และปรับที่ใจของเราให้เป็น เพราะกำลังใจของเรามันหมดได้ แต่ต้องสร้างใหม่ให้ได้เหมือนกัน”

จากคำกล่าวและความรู้สึกของคุณแม่ท่านนี้ “บ้านอุ่นรัก” อยากเชิญชวนให้คุณแม่ คุณพ่อ ผู้ปกครองทุกท่านของลูกที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ ใช้ “เดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นเดือนแห่งความรัก” นี้ มาเริ่มต้นรักและใส่ใจตนเอง เพื่อท่านได้มีพลังกายและพลังใจในการเดินทางต่อจนสามารถนำพาลูกสู่เป้าหมายและความสำเร็จดังที่ใจหวัง

แต่การบอกรักตัวเองจะบอกยังไงดีนะ…”บ้านอุ่นรัก” มี …4 วิธีบอกรัก “รักนะ…ตัวเอง” มาฝาก ซึ่งเราหวังว่า 4 วิธีบอกรัก…ตัวเอง นี้ จะสามารถจุดประกายความรักและใส่ใจตนเอง ตลอดจนนำพาทุกท่านให้มีความสุขมากยิ่ง ๆ ขึ้นได้ต่อไป

(1) เราจะมีฝันและมีชีวิตของตัวเองไปพร้อม ๆ กับการหาทางรอดให้ลูก

(2) เราจะหาความสุขเล็ก ๆ มีช่องว่างทางอารมณ์บ่อย ๆ

(3) เราจะรู้ทันใจให้เร็ว รีบปีนขึ้นมา อย่านอนจมแช่ในหลุมอารมณ์

(4) เราจะมองโลกแบบ “New Normal”

 

 

เรามาเริ่มต้นบอกรักนะ…ตัวเอง ด้วยวิธีที่ 1 กันในตอนนี้เลยค่ะ

(1) เราจะมีฝันและมีชีวิตของตัวเองไปพร้อม ๆ กับการหาทางรอดให้ลูก

แม้กิจวัตรประจำวันในการเลี้ยงดูลูกอาจจะยุ่งเหยิงและทุกข์แสนสาหัส แต่เราจะไม่ทิ้งชีวิตและความฝันของตนเอง…เรามีสิทธิที่จะคิดและฝันถึงภาพวันข้างหน้าว่าเราจะเป็นใครและเราจะทำอะไร…วันนี้ เราจะเริ่มต้นทำสิ่งดี ๆ เพื่อตัวเอง ไม่ว่าจะแต่งตัวชุดสวย หรือออกไปทานอาหารอร่อย ๆ…เราจะดำเนินชีวิตไปพร้อมกับลูกอย่างคนมีฝันและหวัง…เราจะแยกชีวิตของลูก ชีวิตของเรา แต่สามารถเดินหาฝันไปในเส้นทางเดียวกันและไปพร้อมกันได้…เราจะมีความสุขพร้อม ๆ กับการช่วยลูกให้ได้

ในตอนหน้า เราจะมาบอก “รักนะ…ตัวเอง” กันต่อ งานบอกรักนี้ “บ้านอุ่นรัก” ขอเน้นว่า…ต้องบอก…เพราะเมื่อบอกไปแล้ว…ตัวเราเอง..จะมีความสุขมากขึ้นได้จริง ๆ

เครดิตภาพ: Tim Mossholder | Unsplash + Slides Carnival

3 คุณลักษณะของพ่อแม่ ผู้ช่วยลูกปรับพฤติกรรมได้สำเร็จ | บ้านอุ่นรัก

3 คุณลักษณะของพ่อแม่ ผู้ช่วยลูกปรับพฤติกรรมได้สำเร็จ | บ้านอุ่นรัก

หนึ่ง: เป็นพ่อแม่ที่มีการสานสัมพันธ์ทางบวกกับลูก

สอง: เป็นพ่อแม่ผู้สานสัมพันธ์แบบสองทางกับลูก

สาม: เป็นพ่อแม่ผู้ไม่ปล่อยผ่านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

—–

หนึ่ง: เป็นพ่อแม่ที่มีการสานสัมพันธ์ทางบวกกับลูก

  • ในเวลาปกติที่อยู่กับลูก พ่อแม่ต้องมีการสานสัมพันธภาพทางบวกให้ลูกรับรู้ความรักและเกิดประสบการณ์สนุก ๆ ยิ้มและหัวเราะร่วมกัน
  • เรียนรู้วิธีพูดกับลูกด้วยคำพูดทางบวก และพูดเป็นรูปธรรมให้ลูกรับรู้ได้ง่าย เห็นภาพชัดเจน

—–

สอง: เป็นพ่อแม่ผู้สานสัมพันธ์แบบสองทางกับลูก

  • พ่อแม่มีการสานสัมพันธ์แบบสองทางกับลูกในชีวิตประจำวัน มีการแทรกเงื่อนไขและกระตุ้นการตอบสนองให้ลูกคุ้นเคยที่จะรับฟังและสานต่อในทิศทางที่พ่อแม่นำทาง

—–

สาม: เป็นพ่อแม่ผู้ไม่ปล่อยผ่านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง พฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น พฤติกรรมทำลายข้าวของ พฤติกรรมที่ขัดขวางการดำรงชีวิตประจำวันตามปกติ พฤติกรรมที่ขัดขวางการเรียนรู้ในอนาคต และพฤติกรรมที่รบกวนทางสังคม

—–

ค่อย ๆ เรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ และศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ “บ้านอุ่นรัก” จะอยู่ตรงนี้เพื่อเป็นเพื่อนคู่คิดและให้กำลังใจแก่คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองทุกครอบครัว และคุณครูนะคะ

—–

Photo Credit: Blake Barlow | Unsplash

เน้นประเด็น ข้อ 16-18/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู  จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 16-18/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

▶️16.คิดให้รอบคอบเรื่องสถานที่ ๆ เราจะพาเด็กออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องระบบรับสัมผัส (รับรู้ไว) ไปเที่ยว
🎢🎠ตัวอย่าง: หากลูกกลัวเสียงดัง หรือกลัวที่ ๆ มีคนพลุกพล่าน เราไม่ควรพาลูกไปเที่ยวเทศกาลดอกไม้ไฟหรืองานกาชาด 🎡แต่ควรชวนลูกไปเที่ยวในสวนที่สงบ ๆ และร่มรื่น ⛩เป็นต้น

▶️17.สื่อสาร พูดคุย หรือรับมือเด็ก 😇ด้วยความเมตตา ใจเย็นและสงบ หากในการรับมือนั้น เรา😡รู้ตัวว่าเรายังใจร้อนและโมโหอยู่ เราควรขอให้เพื่อน คนในครอบครัว หรือนักบำบัดช่วยรับมือแทน (หรือขอคำปรึกษาว่าจะทำใจให้สงบได้อย่างไร) 😰ทั้งนี้ หากเราโกรธ ใจร้อน เร่งรัดให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ หรือขู่เด็ก เราอาจหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กได้เพียงชั่วครู่ (เพราะเด็กกลัวหรือตกใจ) แต่ไม่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ในระยะยาว

▶️18.เราไม่โทษเด็กหรือตัวเราเองหากเราทำดีที่สุดแล้วแต่สถานการณ์กลับไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ 😎🤗 ทั้งนี้เพราะแม้เราพยายามดีที่สุดแล้ว พยายามทำให้ทุกเหตุการณ์เป็นเรื่องที่เด็กรู้อย่างชัดเจนแล้วว่าเขาต้องทำอะไร ทำอะไรก่อน-หลัง เราใจเย็นแล้ว หรือได้บอกเด็กไปหลายครั้งแล้วในสิ่งที่เขาต้องทำ 👩‍🌾👨‍🌾 แต่ใช่ว่าเหตุการณ์จะเป็นไปด้วยดีได้ทุกครั้ง 👩‍🏭หากครั้งใดเกิดเรื่องที่เราไม่คาดคิดหรือไม่พึงประสงค์ ไม่เป็นดังใจหวัง🧛‍♂🧛‍♀

เน้นประเด็น ข้อ 13-15/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู  จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

เน้นประเด็น ข้อ 13-15/18 | พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครู จะช่วยเด็กออทิสติกในเรื่องพฤติกรรมได้อย่างไร | บทความแปล (เรียบเรียงใหม่)

▶️13.ให้เด็กร่วมทำงานหรือทำกิจกรรมที่มีเครื่องไม้เครื่องมือ สื่อเป็นองค์ประกอบ (เช่น เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์) หรือใช้สายตาในการดำเนินงาน (เช่น งานแยกสี แยกสิ่งของ ต่อตัวต่อ ต่อโมเดลรถยนต์) ทั้งนี้เพราะเด็กออทิสติกมักมีทักษะที่ดีในเรื่องเหล่านี้อย่างไรก็ตาม หากงานหรือกิจกรรมที่ทำต้องใช้ระยะเวลานาน ควรให้เด็กได้พัก พื่อไม่ให้เกิดความกระวนกระวายหรือหงุดหงิด

▶️14.อนุญาตให้เด็กหยิบของชิ้นโปรด🐖🏐จากกิจกรรมที่เพิ่งจบไปติดไม้ติดมือไปด้วยในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสู่กิจกรรมใหม่ 🤗 เพื่อทำให้เด็กสบายใจในการเปลี่ยนผ่านกิจกรรมหรือการเปลี่ยนที่ไปยังสถานที่ ๆ ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย (โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากกิจกรรมที่ชอบไปสู่สิ่งที่ไม่ชอบ)
🚚ตัวอย่าง: ให้เด็กถือรถยนต์ของเล่นติดมือ🚗ไปตอนที่เด็กต้องออกจากบ้านไปพบนักกิจกรรมบำบัด

▶️15.ใช้การหันเหความสนใจของเด็กแทนการบอกว่า “ไม่” หรือ “หยุด”👩‍🌾👨‍🌾 ทั้งนี้โดยเฉพาะในเวลาที่เราต้องการหยุดพฤติกรรมทางลบ
⭕ ตัวอย่าง: ลูกวิ่งวุ่นในร้านขายของ แม่บอกลูกว่า “เดิน”
⭕ตัวอย่าง: ลูกเดินออกนอกเส้นที่ตีไว้ให้เดิน แม่จูงลูกกลับมาเดินในเส้น พร้อมบอกลูกว่า “กลับมาเดินตามเส้นที่เขาขีดไว้ให้เดิน”