เล่นไม่เลิก หยุดลูกอย่างไร ไม่ให้ผิดใจกัน | บ้านอุ่นรัก

เล่นไม่เลิก หยุดลูกอย่างไร ไม่ให้ผิดใจกัน | บ้านอุ่นรัก

เล่นไม่เลิก หยุดลูกอย่างไร ไม่ให้ผิดใจกัน

ในขณะที่ลูกออทิสติก สมาธิสั้น กำลังเล่นสนุกและหมกมุ่นอยู่กับการเล่นแบบเล่นไม่เลิก หากจู่ ๆ เราไปพูดบอกหรือสั่งให้ลูกเลิกเล่นหรือจับให้ลูกหยุดทำ ลูกอาจจะโกรธ หงุดหงิด อาละวาดรุนแรง จนกลายเป็นสถานการณ์ปัญหาบานปลายได้

ถ้าการบอกให้หยุดหรือจับให้หยุดทำในทันทีไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมกับลูกของเราก็ไม่เป็นไร เราสามารถลองทำวิธีอื่นได้ เช่น

  • ลดสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้ลูกหมกมุ่นอยู่กับการเล่นลงไปทีละน้อยแบบไม่ให้ลูกรู้ตัว
  • เบี่ยงเบนความสนใจของลูกไปยังสิ่งอื่น
  • พาลูกเปลี่ยนอิริยาบถ
  • กล่าวเตือนล่วงหน้าเป็นระยะ ๆ ให้ลูกรู้ว่าเหลือเวลาเล่นอีกเท่าไรก่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่กิจวัตรอื่น

ในการกล่าวเตือนลูกออทิสติกหรือลูกสมาธิสั้นล่วงหน้าเป็นระยะ ๆ นั้น เราควรใช้สัญญาณที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น

  • ใช้นาฬิกาทราย นาฬิกานับเวลาถอยหลัง
  • ออกเสียงนับถอยหลังให้ลูกได้ยินชัด ๆ ว่า 5 4 3 2 1 พร้อม ๆ กับนับนิ้วให้ลูกเห็น
  • ใช้การ์ดตัวเลขนับถอยหลัง

การทำให้ลูกรับรู้สัญญาณเตือนล่วงหน้าที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมจะทำให้ลูกเข้าใจแนวคิดเรื่องเวลาเล่นที่เหลืออยู่ได้โดยง่ายและเป็นการสร้างเสริมทักษะการควบคุมตนเองได้ดีขึ้นพร้อม ๆ กันไป

เราสามารถใช้วิธีหนึ่งวิธีใดหรือหลาย ๆ วิธีที่ปลอดภัยประกอบกันได้ ในระยะแรก ๆ ที่พยายามชวนลูกเลิกเล่น เราต้องลองทำและลองผิดลองถูกไปสักพักจนกว่าจะค้นพบวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกแต่ละคน เมื่อเราทำได้ ลูกทำได้ เราจะสามารถนำพาลูกหรือแม้กระทั่งฝึกให้ลูกเรียนรู้การนำพาตนเองสู่การเปลี่ยนผ่านกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างสงบ ราบรื่น ปลอดภัย และที่สำคัญคือลูกเลิกเล่น เลิกทำ เลิกหมกมุ่นในการทำบางสิ่งบางอย่างได้โดยที่ลูกและเราไม่ต้องผิดใจกัน แบบนี้ก็จะเข้าคอนเซ็ปต์ของศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ที่ว่า “ให้ลูกได้เติบโตในบรรยากาศดี ๆ” ได้อีกประการหนึ่งด้วย

ติดต่อศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก”

บ้านอุ่นรักสวนสยาม: โทร: 086 775 9656

บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง: โทร: 087 502 5261

วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

 

ฝึกลูกนั่งทำงานที่พื้น | บ้านอุ่นรัก

ฝึกลูกนั่งทำงานที่พื้น | บ้านอุ่นรัก

ฝึกลูกนั่งทำงานที่พื้น

การฝึกลูกนั่งทำงานที่พื้นเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ภารกิจที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องฝึกลูกที่บ้านไว้ล่วงหน้าก่อนที่ลูกจะถึงวัยเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนอนุบาล เพราะกิจกรรมบางอย่างที่ลูกต้องทำที่โรงเรียน ลูกจะต้องนั่งทำที่พื้น เช่น นั่งสมาธิ ร่วมทำกิจกรรมวงกลมยามเช้าที่พื้น หรือนั่งรอที่สนามหญ้าในขณะรอคิวเล่นพละ เป็นต้น

เหตุผลที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องฝึกลูกนั่งทำกิจกรรมที่พื้นไว้ล่วงหน้าจากที่บ้าน:

  • การนั่งทำงานที่พื้นจะทำให้ลูกคุมตนได้ยากกว่าการนั่งทำงานต่าง ๆ บนโต๊ะ ถ้าไม่ฝึกไว้ล่วงหน้า ลูกจะคุมตนได้ยากทำให้ขาดความพร้อมที่จะเรียนรู้เมื่อถึงเวลาต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่พื้นที่โรงเรียน
  • ลูกมีเวลามากพอเพื่อเรียนรู้วิธีนั่งที่ถูกต้องในขณะต้องทำงานที่พื้น ทำให้ฝึกได้แบบไม่เร่งรัดการฝึกมากจนเกินไป ทั้งนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถแทรกการฝึกให้ลูกได้ในระหว่างที่ลูกทำกิจวัตรต่าง ๆ ประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่น ขณะช่วยแม่พับผ้า หรือเมื่อถึงเวลาต้องเก็บของเล่นลงกล่องของเล่น เป็นต้น
  • การฝึกที่บ้านทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ลูก ๆ จึงเรียนรู้และเข้าใจคำสั่งเรื่องการนั่งทำงานที่พื้นได้ตามลำดับจนกระทั่งทำได้และเคยชินที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องนั่งทำที่พื้น

อย่างไรก็ตาม ในขณะฝึกลูกนั่งทำงานที่พื้นที่บ้าน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระวังไม่ให้ลูกนั่งท่านั่งแบะขาหรือท่าดับเบิ้ลยู (W) เพราะเป็นท่านั่งที่ส่งผลเสียหลายประการต่อลูก ซึ่งศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ขอแชร์ข้อมูลหัวข้อ “มารู้จักท่านั่ง W-Sitting กันเถอะ” ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ไว้ในโพสต์นี้

คลิกลิงก์ข้างล่างนี้เพื่ออ่าน

https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=781&fbclid=IwAR0N4lyMrXcXPV5aHESdPxVeE8JETrUZrA3QGdx2H0xWKDCXt6-I9-S6YnI

การฝึกและกระตุ้นพัฒนาการเด็กหลายหัวข้อทำได้ไม่ยากจึงทำที่บ้านได้ ซึ่ง “บ้านอุ่นรัก” จะทยอยนำข้อมูลมาแบ่งปันเพิ่มเติมในโพสต์ต่อ ๆ ไป

เครดิตภาพ:<a href=”https://www.freepik.com/free-vector/child-psycologist-flat-concept-with-boy-playing-with-psychotherapist-indoors-vector-illustration_33771891.htm#page=2&query=kids%20sit%20on%20floor&position=9&from_view=search&track=ais”>Image by macrovector</a> on Freepik

เครดิตข้อมูลท่านั่งท่า W: ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล (เรียบเรียงโดย กภ.องครักษ์ ธรรมมิกะ)

เรื่องท้าทายใจที่ต้องหาทางออก | บ้านอุ่นรัก

เรื่องท้าทายใจที่ต้องหาทางออก | บ้านอุ่นรัก

เรื่องท้าทายใจที่ต้องหาทางออก

จากประสบการณ์การทำงานด้านการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้ากว่าวัย มานานกว่า 30 ปี ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ยอมรับว่าการเลี้ยงดูและดูแลเด็กพิเศษที่มีปัญหาด้านพัฒนาการนั้นเป็นเรื่องท้าทายเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะท้าทายสุด ๆ สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองเพราะลูกจะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมและอารมณ์แปลก ๆ ที่ยากจะคาดเดา ลูกมักจะกระโดดโลดเต้นวิ่งวนไปมา ซนอยู่ไม่สุข ส่งเสียงดัง ทำสิ่งของเสียหาย ทำสีหน้าท่าทางแปลก ๆ สะบัดมือ โยกตัว โมโหรุนแรง หรืออาละวาดฉุนเฉียวเมื่อถูกห้ามหรือรู้สึกขัดใจ

การแสดงออกของลูกเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้โดยง่าย บุคคลอื่นที่ถูกรบกวนจะจับจ้องทั้งลูกและพ่อแม่ผู้ปกครอง จนกลายเป็นว่าพฤติกรรมแปลก ๆ และอารมณ์ที่คาดเดาไม่ได้ของลูกกลับเป็นตัวแปรที่มาควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของพ่อแม่ผู้ปกครองอีกต่อหนึ่ง พ่อแม่ผู้ปกครองจะรู้สึกอาย โกรธ รู้สึกผิดที่ควบคุมลูกได้ไม่ดีพอ เครียดและบานปลายไปเป็นการโต้ตอบกับลูกในลักษณะรุนแรงผิดไปจากลักษณะปกติที่พ่อแม่ผู้ปกครองพึงกระทำต่อลูกไปได้ในท้ายที่สุด

ความรู้สึกท่วมท้นทั้งรัก โกรธ เครียด และอายเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นเสมอเพราะการเลี้ยงลูกที่มีปัญหาด้านพัฒนาการท้าทายอารมณ์ตลอด แต่ภาวะเหล่านี้มีวิธีจัดการให้ดีขึ้นได้และ “บ้านอุ่นรัก” ขอแนะนำแนวทางการจัดการอารมณ์และความรู้สึกดังต่อไปนี้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะสามารถดูแลพัฒนาการของลูก พร้อม ๆ ไปกับการใส่ใจดูแลหัวใจและความรู้สึกของตัวท่านเองพร้อม ๆ กันไปด้วย

แนวทางการจัดการอารมณ์และความรู้สึก

  • ยอมรับว่าความเครียดทำให้เราโต้ตอบทางลบกับพฤติกรรมของลูก เช่น ตะคอก ตะโกน ดุ หรือตีลูก เมื่อเกิดการโต้ตอบทางลบเช่นนี้ ขอให้เราตระหนักรู้และยอมรับว่าความเครียดในครั้งนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้เราต้องตั้งใจระมัดระวังให้มากขึ้นเพื่อครั้งหน้าเราจะไม่เอาความเครียดของตนเองไปถ่ายเทลงที่ลูก แต่จะเปลี่ยนมาพิจารณาว่าพฤติกรรมใดของลูกที่ทำให้เราทนไม่ไหว เพื่อหาแนวทางรับมือกับพฤติกรรมนั้น ๆ ของลูกในอนาคตให้ถูกวิธี
  • รับรู้ถึงความไม่สมบูรณ์แบบของการเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง เราทุกคนเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาที่ทำพลาดได้ และสิ่งที่กำลังทำพลาดนี้เป็นภาวะที่คนรอบข้างสามารถทำความเข้าใจได้ ตลอดจนเราสามารถให้อภัยตนเองได้ด้วยเช่นกัน ส่วนการโต้ตอบกับลูกในครั้งหน้า เราจะหาวิธีที่ดีกว่านี้ที่สามารถลดหรือแก้ไขปัญหาโดยไม่ให้เกิดความผิดพลาดเดิมซ้ำขึ้นมาได้อีก
  • ตั้งทีมสนับสนุนมาช่วยดูแลลูก เพื่อในวันที่เรารู้สึกไม่ไหว กายใจไม่พร้อม จะได้ไม่ต้องฝีนพยายามทำตนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองแนวยอดมนุษย์ ทีมสนับสนุนนี้อาจเป็นญาติ พี่น้อง เพื่อน คนที่เข้าใจเรา หรือเราไว้ใจให้เขาช่วยดูแลลูก คนที่พร้อมให้แรงสนับสนุนทางกายใจ หรือคนที่สามารถช่วยชวนลูกทำกิจกรรมเสริมสนุก ๆ และปลอดภัยในเวลาที่เราต้องการปลีกตัวไปพักใจหรืออยากขอเวลานอกไปมีเวลาเฉพาะเป็นของตนเองได้เป็นครั้งคราว
  • อย่ากลัวที่จะแบ่งปันความกังวลใจ ความรู้สึกผิด หรือระบายความคับข้องใจให้คนที่ไว้วางใจได้รับฟัง การได้พูดคุยระบายความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่จำเป็นต้องรักษาภาพพจน์ที่สมบูรณ์แบบจะช่วยลดทอนอารมณ์ด้านลบของเราลงได้
  • ตั้งเป้าหมายในการหาแนวทางรับมือที่ชัดเจนกับพฤติกรรมของลูกที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองวิตกกังวล เช่น ทำข้อตกลงเพิ่มเติม ตั้งกติการ่วมกัน หรือเตรียมการให้พร้อมมากขึ้นก่อนออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่คาดว่าอาจรับมือได้ยาก
  • เข้าใจข้อเท็จจริงว่าการเลี้ยงดูลูกที่มีปัญหาด้านพัฒนาการเป็นภาวะที่ขั้นตอนการเติบโตทางพัฒนาการของลูกสำคัญกว่าการเติบโตตามวัย ปัญหาทางพัฒนาการส่งผลให้ลูกยังไม่สามารถควบคุมการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมและอารมณ์ให้ถูกใจเราหรือคนรอบข้างได้ ดังนั้น เราต้องให้เวลาและเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ฝึกฝนจนลูกแสดงออกซึ่งพฤติกรรมในทางบวกและควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

ในขณะที่เราเลี้ยงดูลูกที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ เราต้องหาสมดุลการเลี้ยงดูควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิธีรับมือลูก เพื่อเราจะสามารถนำทางลูกให้ผ่านพ้นปัญหาต่าง ๆ ไปได้ตลอดรอดฝั่ง “บ้านอุ่นรัก” เชื่อว่าหัวใจของพ่อแม่ผู้ปกครองสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพัฒนาการของลูก พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องการการสนับสนุน และ “บ้านอุ่นรัก” ขออยู่เป็นเพื่อนผู้ส่งมอบทั้งกำลังใจและแนวทางการรับมือให้ด้วยความรักและปรารถนาดีค่ะ

เครดิตภาพ: Unsplash | mk. s (https://unsplash.com/photos/pBuTRV7Wv3s)

ติดต่อศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก”

บ้านอุ่นรักสวนสยาม: โทร: 086 775 9656

บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง: โทร: 087 502 5261

วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

“ความขัดแย้ง” เรื่องวุ่น ๆ ที่เราจัดการให้ดีขึ้นได้ | บ้านอุ่นรัก

“ความขัดแย้ง” เรื่องวุ่น ๆ ที่เราจัดการให้ดีขึ้นได้ | บ้านอุ่นรัก

“ความขัดแย้ง” เรื่องวุ่น ๆ ที่เราจัดการให้ดีขึ้นได้

เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นเดือนแห่งความรัก ในเดือนนี้ ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” จึงขอกล่าวถึง “ความขัดแย้ง” ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งที่สำคัญที่มักจะเกิดแทรกเป็นระยะ ๆ ในขณะที่เรากำลังสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่เรารัก แต่เราต้องการก้าวผ่านความขัดแย้งไปให้ได้เพื่อคงไว้ซึ่งความสุขและความรู้สึกดี ๆ ที่ต่างมีให้กัน เราจึงต้องหาทางจัดการลดความขัดแย้ง ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น

  • ต่างฝ่ายต่างตั้งเป้าหมายและมีพันธสัญญาร่วมกันว่าจะช่วยกันรักษาสัมพันธภาพแบบคู่แท้ เพื่อนแท้ หรือเป็นคนที่จะไว้ใจกันได้อย่างยาวนานตลอดชีวิต เพราะตัวตั้งและพันธสัญญานี้จะช่วยผลักดันให้เราต่างใช้ความพยายามสูงสุดในการรักษาสัมพันธภาพต่อไป แม้ทำได้ยากในบางขณะแต่เมื่อสองพลังช่วยกันออกแรงแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งย่อมผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
  • เราตั้งมั่นว่าเราจะทำให้ดีที่สุดในส่วนของตัวเราเอง ตลอดจนลดความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงใคร เพราะเราเปลี่ยนแปลงใครไม่ได้เว้นเสียแต่ว่าคน ๆ นั้นต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างแท้จริง
  • เราเข้าใจให้ตรงกันว่าความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจากวิธีที่เราใช้ในการโต้ตอบกันและกัน หากเราใช้วิธีเดิม ๆ ในการโต้ตอบปัญหาตามที่เราเคยทำหรือเคยชินที่จะทำ ความขัดแย้งจะยังอยู่หรือเพิ่มมากขึ้นได้ ดังนั้น เราจะช่วยกันค้นหาวิธีประนีประนอม ยอมรับกันและกันว่าไม่มีใครเหมือนใคร แต่เรายินดีที่จะช่วยกันลดความขัดแย้งและจะหาทางจัดการความแตกต่างที่เราทั้งสองฝ่ายมี เพื่อต่างฝ่ายต่างได้รับการตอบสนองด้วยความเข้าใจ ยอมรับ และวิน-วิน (Win-Win) ด้วยกันทั้งคู่
  • เราใช้แนวทางลดความขัดแย้งแนวใหม่ที่ไม่ได้มุ่งให้อีกฝ่ายพูดถึงข้อเสียที่ต้องการให้อีกฝ่ายแก้ไข แต่เราต่างคนต่างพยายามเข้าใจมุมมองของฝ่ายตรงกันข้าม ย้อนกลับไปคิดพิจารณาว่าอีกฝ่ายมีคุณค่าอย่างไร มีความดีงามที่เคยทำให้และความดีงามที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันมาอย่างไร ตลอดจนเราจะสำรวจตรวจสอบตนเองว่าสามารถมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและรับผิดชอบความสัมพันธ์ในส่วนของตนเองได้อย่างไรบ้าง
  • เราไม่นำความฝังใจในอดีตและความไม่เป็นกลางในความคิดของเรามาเป็นอุปสรรคในการลดข้อขัดแย้งแต่ละครั้ง
  • เรานิ่งฟังมากขึ้นเพราะการนิ่งฟังจะช่วยให้เราลดการโต้ตอบแบบทันทีทันควัน อีกทั้งทำให้เราสามารถจับประเด็นและความรู้สึกที่อีกฝ่ายต้องการหรือพยายามสื่อสารให้เรารับรู้ อันส่งผลให้เราตระหนัก รับรู้ใจความสำคัญ เห็นอกเห็นใจ เข้าใจและยอมรับเขาได้ดีขึ้น
  • เราปรับคำพูดและระดับน้ำเสียงเพื่อแสดงออกถึงความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ คำพูดและน้ำเสียงที่ใช้ต้องไม่ยั่วยุ ไม่เพิ่มความโกรธ ตลอดจนไม่แสดงความเป็นปรปักษ์เมื่อมีความขัดแย้งเฉพาะหน้า ส่วนในระยะยาว เราจะหาแนวทางบำรุงรักษาความสัมพันธ์และหาวิธีแสดงออกให้บ่อยครั้งขึ้นเพื่ออีกฝ่ายสัมผัสได้ชัดถึงความรัก ความห่วงใย หรือแม้แต่เสน่หาที่ยังคงมีอยู่ตลอดไป

“บ้านอุ่นรัก” หวังว่าข้อคิดและแนวทางลดความขัดแย้งข้างต้นจะเป็นประโยชน์และทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและคนที่เรารัก ยอมรับกันและกันในแบบที่ไม่มีใครเหมือนใคร ตลอดจนส่งผลให้เราได้ช่วยกันคนละเล็กละน้อยไปทีละหน่อยในการปรับปรุงวิธีคิด วิธีสื่อสารและการแสดงออกเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรู้สึกปลอดภัย เข้าใจกัน เพื่อความสุข ความสนุกสนานที่ได้สบตา มองหน้า พูดคุยและหัวเราะสนุกด้วยกัน จนสามารถลดและขจัดความขัดแย้ง เพื่อหวนคืนสู่ความสัมพันธ์แบบคู่แท้ เพื่อนแท้ และคนรู้ใจที่ใกล้ชิดทางใจได้ในท้ายที่สุด

เครดิตภาพ: https://unsplash.com/photos/Iq9SaJezkOE | Unsplash | GR Stock

ติดต่อศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก”

บ้านอุ่นรักสวนสยาม: โทร: 086 775 9656

บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง: โทร: 087 502 5261

วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

 

กระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่นหนีบไม้หนีบผ้า | บ้านอุ่นรัก

กระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่นหนีบไม้หนีบผ้า | บ้านอุ่นรัก

กระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่นหนีบไม้หนีบผ้า

หนึ่งในภารกิจที่ทีมครูกระตุ้นพัฒนาการเด็กของศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กบ้านอุ่นรักตั้งใจทำคือการแบ่งปันข้อมูลกิจกรรมที่ทำได้ง่ายและประหยัดให้คนที่บ้านได้เรียนรู้และนำไปใช้กระตุ้นพัฒนาการเด็ก เล่นสนุกร่วมกันกับเด็ก และจัดตารางกิจกรรมประจำวันประจำบ้านที่เด็กจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
ในวันนี้บ้านอุ่นรักขอแบ่งปันกิจกรรมการเล่นที่ช่วยสร้างเสริมพัฒนาการผ่าน “กิจกรรมหนีบไม้หนีบผ้า” ซึ่งการเล่นนี้มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กหลายประการ เช่น

  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กผ่านการดึง กด และออกแรงกล้ามเนื้อข้อมือ ข้อนี้ว ตลอดจนเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อนิ้ว ข้อมือ
  • ฝึกเด็กให้เข้าใจการใช้มือ ข้อมือ ข้อนิ้ว ที่ทำงานประสานร่วมกันระหว่างตา-มือ-และการออกแรงในการง้างและกด
  • ฝึกให้เด็กฟังคำสั่งของผู้สอนอย่างมีสมาธิเพื่อจับใจความ
  • ฝึกการมอง การกวาดตามอง การเดินหรือเคลื่อนไหวเพื่อหาภาพ หาคำศัพท์ หรือตัวเลขตามคำสั่งของผู้สอน
  • ช่วยขยายคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการเล่น

การเล่นหนีบไม้หนีบผ้าทำได้ง่ายและประหยัดมาก เช่น หนีบกับกระดาษแข็งหรือหนีบกับของใช้ที่มีอยู่ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า กล่องสี  หรือเสื้อผ้า ซึ่งผู้สอนต้องค่อย ๆ ฝึกเด็กให้เข้าใจการใช้มือ ข้อมือ ข้อนิ้ว ที่ทำงานประสานร่วมกันระหว่างตา-มือ-และการออกแรงในการง้างและกด ซึ่งโดยทั่วไป เด็กจะทำได้ในขั้นตอนนี้ อย่างไรก็ตาม การฝึกเพื่อกระตุ้นพัฒนาการเด็กนั้น ผู้สอนต้องมีเป้าหมายในการแทรกการเรียนรู้อื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย กล่าวคือ

  • เริ่มต้นที่เด็กเข้าใจวิธีเล่นหนีบไม้หนีบผ้าที่ผู้สอนนำทาง สาธิตทำให้ดู และกระตุ้นให้เด็กเลียนแบบทำตามจนเด็กทำได้เอง อันส่งผลต่อการที่เด็กเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้น ผู้สอนอาจให้เด็กหนีบไม้หนีบผ้าขนาดใหญ่กับกระดาษแข็งหรือของใช้ต่าง ๆ ที่มีที่บ้านให้ได้ 1 ชิ้นก่อน  เมื่อเด็กทำได้คล่อง ค่อยลดขนาดไม้หนีบผ้าให้เล็กลง ตลอดจนเพิ่มจำนวนชิ้นงานให้มากขึ้นต่อไป
  • จากนั้น ผู้สอนฝึกให้เด็กหนีบตามรูปแบบการเรียนรู้เพิ่มเติมที่ผู้สอนกำหนด เช่น หนีบตามสี แยกสี สลับสี (ส้ม 1 เขียว 1 ขาว 1) หรือหนีบไม้หนีบผ้าตามจำนวนสีให้ตรงกับตัวเลข ตัวอักษร หรือภาพที่ผู้สอนกำหนด
  • ในท้ายกิจกรรม ผู้สอนปล่อยให้เด็กเล่นอิสระแต่คอยจับตาดูเพื่อเรียนรู้วิธีเล่นของเด็ก หากพบว่าเด็กเล่นหนีบไม้หนีบผ้ารูปแบบซ้ำ ๆ จะได้เข้าแทรกและแนะนำวิธีเล่นแบบอื่นให้เด็กได้เพิ่มวิธีเล่นได้หลากหลายมากขึ้นต่อไป

เครดิตภาพ: Unsplash | Erik-Jan Leusink

.

โทรเลย