รายชื่อหน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการพัฒนาการเด็ก และหมายเลขติดต่อ

รายชื่อหน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการพัฒนาการเด็ก และหมายเลขติดต่อ

บ้านอุ่นรัก ได้ทำการรวบรวมรายชื่อ และสถานที่ พร้อมด้วยหมายเลขติดต่อ สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองทุกท่าน รวมถึงผู้ที่สนใจ ในเรื่องของการกระตุ้นการพัฒนาการของเด็กค่ะ

การวินิจฉัยโรค / จิตเวชเด็ก

ร.พ. ยุวประสาทฯ 02-394-1845, 02-384-3381-3

ร.พ. ราชานุกูล 02-245-4601-5

จิตเวชเด็ก ร.พ.ศิริราช 02-411-0241

จิตเวชเด็ก ร.พ.รามาธิบดี 02-246-1073-99

จิตเวชเด็ก ร.พ.สมิติเวช 02-392-0010-19

ร.พ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ 02-731-7070-2

ร.พ.สุขุมวิท 02-392-0011

ร.พ.วิชัยยุทธ 02-271-0125-9

จิตเวชเด็ก ร.พ.สมเด็จเจ้าพระยา 02-437-0200-08

ศูนย์สุขวิทยาจิต 02-246-1195

จิตเวชเด็ก ร.พ.จุฬาลงกรณ์ 02-256-5176, 02-256-5183

จิตเวชเด็ก ร.พ.เด็ก 02-246-1260

จิตเวชเด็กภูมิพล 02-531-1970-99

ร.พ.พระราม 9 02-248-8020

ร.พ.เจ้าพระยา 02-434-0117

ร.พ.นนทเวช 02-596-7888

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 02-849-6600

สถานที่กระตุ้นพัฒนาการ / บำบัด / ให้คำปรึกษา

ร.พ.ยุวประสาทฯ (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-394-1845, 02-384-3381-3

มูลนิธิแสงสว่าง (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-381-5362-3

ศูนย์สุขวิทยาจิต (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-246-1195

ร.พ.ราชานุกูล (บกพร่องทางปัญญา/CP) (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-245-4601-5

มูลนิธิรวมปัญญาคนพิการ นนทบุรี (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-903-6744, 02-903-6750

มูลนิธิรวมปัญญาคนพิการ ลาดพร้าว (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-538-7495

ภาควิชาการศึกษาพิเศษราชภัฎดุสิต (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-241-1401, 02-241-4401

The Village Education Centre (ชั้นเรียนพิเศษ) 02-399-0223

ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้ากว่าวัย “บ้านอุ่นรัก สวนสยาม” (ชั้นเรียนพิเศษ) 086-775-9656

ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้ากว่าวัย “บ้านอุ่นรัก ธนบุรี” (ชั้นเรียนพิเศษ) 087-502-5261

ภาควิชาการศึกษาพิเศษ มศว. 02-664-3820 ต่อ 5631

จิตเวชเด็ก ร.พ.ศิริราช 02-411-0241

จิตเวชเด็ก ร.พ.รามาธิบดี 02-246-1073-99

จิตเวชเด็ก ร.พ.สมิติเวช 02-392-0010-19

ร.พ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ 02-731-7070-2

ร.พ.สุขุมวิท 02-392-0011

ร.พ.วิชัยยุทธ 02-271-0125-9

จิตเวชเด็ก ร.พ.สมเด็จเจ้าพระยา 02-437-0200-08

จิตเวชเด็ก ร.พ.จุฬาลงกรณ์ 02-256-5176, 02-256-5183

จิตเวชเด็ก ร.พ.เด็ก 02-246-1260

จิตเวชเด็กภูมิพล 02-531-1970-99

ร.พ.พระราม 9 02-248-8020

ร.พ.เจ้าพระยา 02-434-0117

ร.พ.นนทเวช 02-596-7888

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 02-849-6600

 

สอบถามรายชื่อโรงเรียนที่รับเด็กเข้าเรียนร่วม

กระทรวงศึกษา 02-282-5820  

สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ 02-288-5544, 02-628-5169

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง 02-247-4686

สำนักประถมศึกษา กทม. 02-247-4600   หมายเหตุ รายชื่อหน่วยงานนี้รวบรวมโดย “บ้านอุ่นรัก” เบอร์โทรศัพท์ของแต่ละหน่วยงานอาจไม่ตรงกับเบอร์โทรในปัจจุบัน ขอความกรุณาท่านตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์อีกครั้งหากไม่สามารถติดต่อหน่วยงานตามเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้

“มุมมองของครู ในการเตรียมการจัดการเรียนรู้ของเด็กเรียนร่วม” โดย ดร. มัณฑริกา วิฑูรชาติ

“มุมมองของครู ในการเตรียมการจัดการเรียนรู้ของเด็กเรียนร่วม” โดย ดร. มัณฑริกา วิฑูรชาติ

1. การเตรียมการจัดการเรียนรู้ของเด็กเรียนร่วม

1.1 จัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล ศึกษาให้เข้าใจและรู้จริง

– วิธีการศึกษาหาข้อมูลพื้นฐานของเด็กเป็นรายบุคคลโดยศึกษาจากการสังเกต สอบถาม และการปฏิบัติ ว่านักเรียนเหล่านั้นมีความสามารถอยู่ในระดับใดบ้าง และดำเนินการจัดหา เอกสารเพิ่มเติม เช่นคำและภาพประกอบ  

1.2 จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

– การใช้สื่อผสม สื่อของจริง

– การจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ (ทัศนศึกษา)

– การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.3 ส่งเสริมพัฒนาการตามศักยภาพเป็นขั้นตอน

1.4 ร่วมกิจกรรมที่สามารถร่วมกับเพื่อนๆได้

1.5 การจัดการในห้องเรียน ต้องจัดห้องเรียนแบบธรรมชาติ โดยมีมุมต่างๆเพื่อเสริมพัฒนาการของเด็ก

– ครูต้องสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมือนบ้าน เสมือนอยู่ใกล้กับพ่อแม่ พี่น้อง

– เด็กได้ทำงานกับครูเสร็จแล้ว เด็กสามารถเข้าตามมุมกิจกรรม หาความรู้เพิ่มเติมได้หลากหลาย

– เด็กเรียนร่วมมักจะชอบทำงานเมื่อมีเวลาว่าง โดยมีเด็กปกติคอยช่วยเหลือ และทำงานร่วมกัน

– มุมที่สามารถจัดได้ในห้องเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา ได้แก่ มุมหนังสือ มุมเกมมุมคณิตศาสตร์ มุมภาษา มุมศิลปะ และอื่นๆ

– การจัดโต๊ะเรียนในลักษณะรูปวงกลมหรือตัวยู เพื่อให้ครูและเด็กได้สื่อสารถึงกันได้ดีกว่าการจัดโต๊ะเรียนแบบอื่น

1.6 ครูจะต้องพูดคุยและปลูกฝัง ให้เด็กในห้องเรียนรักกันและช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

1.7 ครูจะต้องจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับบทเรียน โดยเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม

– บางกิจกรรม เด็กปกติจะทำการที่ครูอธิบายและมอบหมายให้ แต่ถ้าเป็นเด็กเรียนร่วม      

ครูจะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด คอยให้คำแนะนำ งานที่จะทำจะต้องเป็นงานที่เหมาะสมตามศักยภาพของเด็ก

1.8 สื่อการเรียนการสอนต้องเหมาะสมกับวัย และสามารถใช้ได้กับเด็กทั้งสองกลุ่ม

1.9 งานที่ทำกับเด็กทั้งสองกลุ่มจะต้องสอดคล้องกันทั้งเนื้อหาและกิจกรรมเชื่อมโยง โดยเป็นเรื่องเดียวกันแต่มีความยากง่ายต่างกัน

1.10 การทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม ครูจะเปิดโอกาสให้เด็กทั้งสองกลุ่มออกมาเสนอผลงานร่วมกันครูให้กำลังใจและกล่าวชมเชยเด็กๆต่อหน้าเพื่อนทุกคน

1.11 ฝึกทักษะกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ โดยการปฏิบัติจริงจากสิ่งที่ใกล้ตัว โดยมุ่งเน้นรูปธรรมเพื่อให้เด็กมีการสร้างจินตนาการจนเกิดพัฒนาการและการเรียนรู้ ตลอดจนมีความมั่นใจในตนเอง

1.12 ครูต้องเข้าถึง เรียนรู้ เข้าใจ ช่วยเหลืออย่างถูกวิธี

1.13 ครูผู้สอนจะต้องมีเวลาศึกษาตัวเด็กที่เป็นกลุ่มเรียนร่วมก่อนเปิดภาคเรียน

– เกี่ยวกับด้านร่างกายว่ามีความบกพร่องด้านใด

– มีความรู้ระดับพื้นฐานมาน้อยเท่าใด

– การอยู่ร่วมในสังคมระดับใด

1.14 เมื่อเปิดภาคเรียน ครูต้องสร้างความเข้าใจกับเด็กปกติเสียก่อน เพื่อขอความร่วมมือในการช่วยเหลือ ซึ่งจะทำให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ

1.15 ครูต้องรับฟังและเรียนรู้ เด็กเรียนร่วมยังแยกแยะความเป็นรูปธรรมและนามธรรมไม่ได้เช่น การมองโลกในแง่ดี ตัวแบบที่ดี การเรียนรู้สิ่งดีๆ จากผู้อื่น การเคารพสิทธิผู้อื่น ความหนักแน่น การสร้างบรรทัดฐานบนความเมตตา การเป็นนักฟังที่ดี ตลอดจนการรู้จักบทบาทของตนเอง

1.16 การให้การสนับสนุนเด็กในเรื่องการยอมรับตนเอง การสร้างความเข้าใจ การมีเมตตา มิตรภาพและความอดทน

1.17 เด็กเรียนร่วมจะต้องมีส่วนร่วมแสดงความรับผิดชอบร่วมกับสังคม ชุมชน โดยทำกิจกรรมร่วมกันร่วมแบ่งปันคุณค่าและคุณความดีของตน

1.18 การวางแผน เด็กเรียนร่วมต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเอง โดยกำหนดเป็นกิจวัตร กระตุ้นให้ใฝ่หาความรู้และต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก

2. ปัญหาอุปสรรคที่พบในมุมมองของครูผู้สอน

2.1 ผู้ปกครองและครูขาดการร่วมมือกันในการพัฒนาเด็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  

2.2 ผู้ปกครองมีความคาดหวังกับเรื่องเรียนของลูกสูงเกินไป การประเมินผลการเรียน ผู้ปกครองควรรับทราบและยอมรับว่า เด็กสามารถที่จะเลื่อนชั้นได้หรือไม่ ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของครู ไม่มีสิทธิที่จะมาคาดคั้นหรือชี้นำ ว่าจะต้องซ้ำชั้นหรือเลื่อนชั้น

2.3 เด็กเรียนร่วมบางคนเรียนรู้ได้จริง เขียนได้ อ่านได้ แต่ไม่รู้ความหมายของสิ่งที่เด็กอ่านและเขียน

2.4 การเรียนรู้คณิตสาสตร์ เด็กเรียนร่วมบางคนก็สามารถบวกเลขได้เพียงอย่างเดียว ที่สูงกว่านั้นอาจจะมีเด็กเรียนร่วมในบางกรณี สามารถเรียนสิ่งที่ยากได้ แต่โดยทั่วไป จะพบปัญหา อุปสรรคทั้งสิ้น

2.5 เด็กบางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สนใจและปฏิบัติตามคำสั่ง ในขณะที่ครูทำการเรียนการสอน

2.6 ผู้ปกครองที่มีลูกเป็นเด็กเรียนร่วม มักมีความคาดหวังสูงจะให้ลูกได้เรียนรู้ในด้านวิชาการให้ได้อย่างเด็กปกติ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถและศักยภาพของเด็ก

2.7 ผู้ปกครองบางท่านจะไม่ค่อยยอมรับเกี่ยวกับพฤติกรรมหรืออาการของลูกตนเองในเวลาที่ครูรายงานพัฒนาการของลูกให้ทราบ และจะอ้างว่า อยู่ที่บ้านลูกไม่มีพฤติกรรมเช่นนี้ และโยนความผิดว่าพฤติกรรมต่างๆ ว่าเป็นมาจากโรงเรียน หรือเรียนแบบเพื่อนๆ ซึ่งทำให้ครูผู้สอนหนักใจ และจะเป็นผลเสียต่อเด็ก

2.8 ไม่ควรตั้งความคาดหวังในตัวลูกที่เป็นเด็กเรียนร่วมสูงเกินความเป็นจริง ว่าจะต้องเรียนให้ได้เกรด เท่าเทียมกับเด็กปกติ

2.9 ผู้ปกครองมักจะปิดบังพฤติกรรมบางอย่างของลูก โดยไม่บอกครู หรือปรึกษากับแพทย์ไม่พาไปฝึก ไม่มาพบครู เมื่อมีจดหมายติดต่อให้มาพูดคุย หรือประชุมตามที่นัดหมายมักบอกว่าติดธุระ ไม่มีเวลา

3. สิ่งที่อยากจะบอกกับผู้ปกครองเด็กพิเศษทุกท่าน

3.1 การเรียนรู้ของเด็กเรียนร่วมต้องใช้เวลา ผู้ปกครองไม่ควรเร่งรัดให้เด็กอ่านออกเขียนได้เหมือนเด็กปกติ บางครั้งวันนี้เด็กเรียนรู้ได้ วันต่อมาอาจจะทำไม่ได้ ครูต้องเริ่มต้นใหม่ เด็กแต่ละคนสามารถเรียนรู้ได้ไม่เหมือนกัน   

3.2 ผู้ปกครองควรมีใจยอมรับที่จะและเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้สอน เพื่อช่วยให้เด็กได้เกิดการพัฒนามากขึ้น บางรายทิ้งให้เป็นหน้าที่ของครูฝ่ายเดียว

3.3 การพูดคุยกับลูกทุกวัน เป็นการฝึกในด้านภาษาที่ถูกต้อง ทักษะการพูดเป็นความสามารถสำคัญที่สุดของเด็กเรียนร่วม เพราะเขาต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (สำหรับครูต้องทำทุกวันอย่างน้อยวันละ 10 นาที) เช่น

        – วันนี้ตื่นนอนขึ้นมา ได้ทำอะไรบ้าง                    – วันนี้อากาศเป็นอย่างไร

        – วันนี้เป็นวันอะไร                                        – เมื่อเช้าทานอะไร

        – ถามวันในสัปดาห์                                      – ถามสีของเสื้อผ้า

        – ถามอวัยวะของร่างกาย                   – ชอบเล่นอะไร

        – ถามชื่อเพื่อน                                             – ถามเรื่อง เมื่อวาน วันนี้ วันพรุ่งนี้

3.4 ให้ท่านผู้ปกครองท่านอื่นที่มีลูกปกติเปิดใจรับเด็กเรียนร่วม และเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการ

ทำกิจกรรมต่างๆ

3.5 ผู้ปกครองควรปรึกษาและพูดคุยกับครูที่ดูและอย่างเปิดเผย ไม่ควรปิดบังพฤติกรรมของเด็กและยอมรับฟังเมื่อครูผู้เกี่ยวข้องรายงานผลของเด็กให้ทราบ เพื่อที่จะนำข้อมูลไปพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ

3.6 เมื่อโรงเรียนจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมกิจกรรมกับลูก

3.7 ให้ผู้ปกครองติดตามพฤติกรรมของลูกอย่างต่อเนื่อง เพราะเด็กบางคนมักจะมีพฤติกรรมในแง่ลบที่โรงเรียนซึ่งแตกต่างจากพฤติกรรมที่อยู่ที่บ้าน  เพื่อการพัฒนาแก้ไขปรับปรุง อย่างมีประสิทธิภาพ

3.8 ความสำเร็จของลูกมีทางแก้ ขอให้ท่านผู้ปกครองช่วยด้วยใจ ให้ลูกร่าเริง สนุกสนานเหมือนเป็นนักผจญภัย และได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์การเรียนรู้ มีส่วนร่วมสนับสนุนสิ่งที่ลูกสนใจปล่อยความรู้สึกให้เป็นไปตามธรรมชาติ สร้างสรรค์ความทรงจำที่ดี ให้ถึงขีดสุดศักยภาพการพัฒนา ซึ่งจะเป็นของขวัญยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ที่รอคอย

3.9 ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ปกครองที่เป็นเด็กเรียนร่วม (เด็กพิเศษ) มีพลังที่จะเลี้ยงลูกไปจนเติบโตอย่าท้อแท้กับสิ่งที่ยากลำบาก เราอาจจะโชคดีในวันข้างหน้าต่อไปได้

3.10 กิจกรรมบางอย่างอาจจะไม่เป็นอันตรายสำหรับตัวเด็กเรียนร่วมและเด็กอื่น ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลองทำ แต่ควรอยู่ในสายตาของผู้ปกครองในระยะห่างพอสมควร

3.11 ศึกษาเรียนรู้จากลูก ลองพูดคุยสอบถามความนึกคิด บางสิ่งที่เขาชอบพูดตอนที่อยู่คนเดียว

หรือสังเกตลักษณะท่าทางการทำกิจกรรม หรือการทำพฤติกรรมซ้ำที่เราชอบทำแล้วเราสังเกตเห็น

3.12 บางอย่าง สิ่งที่ผู้ปกครองคิดว่าดีที่สุด และเหมาะสมกับเขาที่สุด ที่เขาแสดงออกมา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมสำหรับเขา อาจจะเกิดผลเสียตามมาหรือเกิดอันตรายกับตัวเด็กเองหรือผู้คนรอบข้าง

3.14 ผู้ปกครองควรจะมีเวลาพูดคุย บอกเหตุและผล กับการกระทำของเขาที่บางครั้งแสดงออกมาไม่เหมาะสม ควรยกตัวอย่างสิ่งนั้นไม่เหมาะสมเพราะเหตุใด และสิ่งที่เหมาะสมคืออะไร

รวบรวมโดย . . . ครูผู้มีประสบการณ์จัดการเรียนร่วม

โรงเรียนอนันตา จำนวน 19 คน

ผู้เรียบเรียง . . . ดร. มัณฑริกา   วิฑูรชาติ

       12 กันยายน 2553

เอกสารประกอบการบรรยาย “เรื่องที่พ่อแม่ควรตระหนักก่อนลูกเข้าสู่วัยรุ่น และอนาคตของลูกออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้า/การเตรียมการเรียนรู้ของลูก”  จัดโดย ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ “บ้านอุ่นรัก” ณ ห้องสัมมนาชั้น 4 อาคาร 2 ตึก ไอทีสแควร์

“มุมมองของพี่เลี้ยงในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เด็กเรียนร่วม” โดย ดร. มัณฑริกา วิฑูรชาติ

“มุมมองของพี่เลี้ยงในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เด็กเรียนร่วม” โดย ดร. มัณฑริกา วิฑูรชาติ

“เด็กร้อยคนก็ร้อยแบบ การเลี้ยงดูก็จะแตกต่างกันไป คงไม่ใช่แต่เด็กเรียนร่วมเท่านั้น     แต่เด็กปกติทั่วไปก็เช่นเดียวกัน” เป็นคำกล่าวของพี่เลี้ยงเด็ก  สิ่งที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเนื้อหาที่เกิดจากการพูดคุย สัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กพิเศษในการดูแลเด็กซึ่งพี่เลี้ยงเหล่านี้ ยินดีแบ่งปันข้อมูลด้วยความเต็มใจ ในการสัมภาษณ์ พูดคุยกับ ดร. มัณฑริกา  วิฑูรชาติ

พี่เลี้ยงเหล่านี้ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องการดูแลเด็กพิเศษมาก่อน แต่ทุกคนที่ทำด้วยจิตใจที่มีความรัก ความเมตตาเป็นพื้นฐาน และพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ ก็สามารถทำให้นักวิจัยระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคนเทอเบอรรี่ ได้แนวคิดใหม่ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาเด็กพิเศษ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรม เผยแพร่ให้กับนักการศึกษาทั่วโลกได้รับทราบ

 

  Add Line กันนะคะ เพื่อไม่ให้พลาด สาระความรู้

และเรื่องราวต่างๆ ของการพัฒนาลูกรักของคุณค่ะ

สำหรับพี่เลี้ยงเด็กได้แสดงความคิดเห็นกับส่วนผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. พ่อแม่  ต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวให้ได้ก่อน ครั้งแรกรู้ว่าลูกมีความผิดปกติ มีความรู้สึก ช๊อก  เสียใจ ไม่เชื่อ ยอมรับ ทำใจ ปลง คนที่พ่อแม่ต้องดูแล ไม่ต่างกับลูกที่เป็นเด็กพิเศษเลยก็คือ พี่เลี้ยงเด็ก  โดยพ่อแม่เป็นผู้สนับสนุน ถ้าพี่เลี้ยงอยู่ในสภาพที่พร้อมทุกอย่าง ด้านร่างกาย จิตใจ เขาก็จะสามารถเลี้ยงน้องได้ดี คือ เลี้ยงด้วยความรัก เพราะเขาได้รับความรัก ความเข้าใจและความเห็นใจจากพ่อแม่เด็กเช่นกัน

ในกรณีที่พ่อแม่ไม่มีคนเลี้ยง ต้องเสียสละดูแลอย่างใกล้ชิด ในเมื่อเขาเกิดมาเป็นลูกเรา  เด็กเองก็คงไม่อยากเกิดมาเป็นแบบนี้ และคงเหนื่อยอย่างที่สุด เพราะเขาเกิดมาเป็นลูกเรา เหนื่อยทั้งใจทั้งกาย ถ้าพ่อบ้านเป็นคนเข้มแข็ง ต่อสู้เคียงข้างแม่บ้าน ดูและทั้งแม่ทั้งลูก ทุกอย่างก็จะมีความสุข แต่ถ้าพ่อบ้านเกเรตามลูกไปอีก แม่บ้านคงแย่เพราะกำลังใจของคนเป็นแม่คือพ่อของลูก

ในกรณีที่เด็กเป็นออทิสติกด้านสมอง จะดูและง่ายเพราะเขาค่อนข้างปฏิบัติตามเรา และเชื่อฟังเรา พี่เลี้ยงไม่ต้องอธิบายกับคนอื่นมาก แต่กับเด็กพิเศษที่เป็นน้อย หน้าตาไม่ค่อยบอก สิ่งนี้ค่อนข้างลำบาก เพราะคนรอบข้างไม่เข้าใจ เพราะใกล้เคียงกับคนปกติ ตัวของเด็กออทิสติกเองก็สับสนตัวเอง เพราะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร โทษคนอื่นว่ามองตัวเขาเป็นอะไร ทำไมเดินหนีเรา เขาพูดอะไรคนก็หัวเราะ ซึ่งส่วนมากก็ไม่ค่อยคุย   กับเขา อาจเป็นเพราะรำคาญเขานั่นเอง เพราะเด็กออทิสติกเขาก็จะพูดแต่เรื่องของเขา ความคิดของเขา ถ้าไม่เหมือนเขาก็จะผิดหมด เรื่องไม่จบ ช่างสงสัยตลอด

ในรายที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารไม่ได้ ก็จะส่งเสียงดัง แสดงพฤติกรรมที่ตัวเองไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ได้ ก็มักจะถูกมองว่าเป็นความก้าวร้าว แต่ในความเป็นจริงแล้วเกิดจากความสับสนให้ผู้อื่นเข้าใจตนเองได้ ถ้าคนอื่นยังไม่เข้าใจ เขาก็ไม่อยากจะเข้าใจพบปะ พูดคุย ซึ่งทำให้เขาเสียโอกาสในการเข้าสังคม แต่ทั้งหมด ไม่ว่าเด็กพิเศษจะคิดว่าเขาจะเป็นหรือไม่  คนที่เป็นพ่อแม่ พี่เลี้ยง ต้องยอมรับก่อน และตั้งสติในการดูแลเขาต่อไป แน่นอนมันเป็นสิ่งที่เหนื่อย แต่ก็มีความสุขในการจะดูแลพวกเขา อาจจะไม่ถูกใจบ้างก็เป็นธรรมดา เพราะเขาจะต้องถูกเราดูแลให้อยู่ในระเบียบวินัยเหมือนกับคนอื่น พี่เลี้ยงจะต้องลองผิดลองถูกในแนวทางปฏิบัติ แต่ทางทฤษฎี เราต้องยึดมั่นให้เข้มแข็ง เวลาดูแลเขา คิดว่าวันนี้เราทำได้ 75 เปอร์เซ็นต์ พรุ่งนี้เราจะทำเพิ่มอีก 25 เปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างดูเหมือนช้า แต่ Slow but Sure  เด็กออทิสติกบางคนก็เหมือนกับเต่าที่ดูเหมือนกับช้าและไม่น่าจะเข้าเส้นชัยได้ แต่เต่าก็ได้โอกาสเข้าแข่งขัน และเต่าก็คลานถึงเส้นชัยได้ ทุกอย่างได้มาจากการฝึกฝน รอคอย ความพยายามของเด็กด้วยตนเองทั้งนั้น อาจจะเริ่มจากการนับตั้งแต่ 0 – 1 – 2 – 3 – 4 . . .

2. ช่วงวัยเรียน  เป้าหมายหลักในการรักษาเด็กเหล่านี้ โดยพยายามลดอาการหลักของอาการ   ออทิสติก และความบกพร่องอื่นๆให้มากที่สุด พยายามให้ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลดภาระของครอบครัว (ในการช่วยฝึกปรับพฤติกรรมต่างๆ) การรักษามาตรฐานของเด็ก ก็คือการดูแลให้เข้าสู่ โปรแกรมการศึกษา เพราะแต่ละโปรแกรมก็จะมีปรัชญาของตัวเอง แต่คงมีเป้าหมายร่วมกัน คือสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้แต่ละขั้นที่เหมาะสม พยายามให้เด็กได้เรียนกับคนปกติมากที่สุด เพราะเด็กจะได้เพื่อนปกติเป็นแบบอย่าง และได้โอกาสเรียนตามสติปัญญาที่สามารถจะเรียนได้ ในฐานะพี่เลี้ยงต้องพยายามบอกเพื่อนปกติให้เข้าใจ หรือรับรู้ว่าเด็กของเราเป็นอย่างไร จะได้ประโยชน์ทั้งสองทาง คือ เด็กปกติจะได้ฝึกจิตใจของเขาเอง รู้จักรัก เมตตา ให้อภัย ช่วยเหลือผู้ที่ได้โอกาสกว่า (สิ่งนี้เห็นชัดมากกับคนปกติ ซึ่งวันนี้ถ้าคุณดูแลเพื่อนคุณซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนนี้ไม่ได้ คุณจะไปทำงานหรือดูแลอยู่กับผู้อื่นที่มากมายได้อย่างไร) ทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องดูแลพึ่งพาซึ่งกันและกัน เราในฐานะผู้ปกครองและพี่เลี้ยง ก็สมควรที่ต้องยกย่องเพื่อนปกติ ที่เขามีจิตใจดี ไม่ใช่ว่าพอเด็กเรามีดีอะไรหน่อยก็ไปข่มเขา เราต้องคิดเสมอว่า เด็กเราต้องพึ่งเขาเสมอ พ่อแม่และพี่เลี้ยง ควรพยายามใกล้ชิดเพื่อนๆ ของลูก ช่วยเหลืออะไรเขาได้ก็ช่วยเหลือ เป็นมิตร เป็นเพื่อนสนิทแทนลูก

3. คุณครู  ต้องยกย่องให้เกียรติเสมอ เขาจะรักหรือเมตตาเด็กเราหรือไม่ ความดีของเราที่ทำให้กับคุณครู จะทำให้คุณครูมองน้องเราดีขึ้น เข้าใจและเห็นใจเรา อย่าลืมว่าเด็กเราอยู่โรงเรียนพอๆ กับอยู่บ้าน ใกล้ชิดคุณครูพอๆ กับเรา (ผู้ปกครอง) คุณครูบางท่านเข้าใจน้องเรามากกว่าญาติพี่น้องร่วมสายโลหิต        กันเสียอีก คุณครูจะเห็นแง่มุมอีกหลายแง่มุมที่มองไม่เห็น บางอย่างคุณครูจะฝึกได้ดีกว่าเรา ไม่ว่าเราจะเป็นใครใหญ่แค่ไหน (หน้าที่การงาน) คนที่ใหญ่กว่าเราคือครูของลูกเรานี้แหละ เราต้องไม่ฉลาดกว่า ไม่รู้ดีกว่าคุณครู (ซึ่งความเป็นจริงเราอาจจะมีความรู้ในบางเรื่องดีกว่า) คนฉลาดไม่จำเป็นต้องอวดฉลาดไปทุกเรื่อง แกล้งโง่บ้าง เพราะเดี่ยวเราจะไม่รู้ความฉลาดของคนอื่น อย่าอคติทุกๆเรื่อง อย่ามองความผิดว่าเป็นของคนอื่น ต้องดูแลว่าเด็กของเรามีอะไรแก้ไข ต้องช่วยเหลือ ต้องฝึกฝนคนของเรา ให้เป็นภาระของบุคคลอื่นให้น้อยที่สุด บางครั้งเคยได้ยินคนพูดว่า เราต้องพยายามฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเอง อยู่โดยไม่มีเราในวันข้างหน้าได้ บางทีเราต้องคิดเหมือนกันว่า เราสอนให้เขาช่วยเหลือตัวเองและต้องอยู่กับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข ทั้งคนที่เขาอยู่ด้วย ทั้งเด็กของเรา เราต้องสอนให้เขานอบน้อมผู้ใหญ่ ไหว้และแสดงความเคารพตั้งแต่ประตูโรงเรียนจนถึงหลังโรงเรียน นี่คือสังคมที่เราจะฝึกเด็กเราได้ดีที่สุด สอนการไหว้ตั้งแต่ก่อนไปโรงเรียน (พ่อแม่ พี่) ไหว้พ่อแม่ เพื่อน ลุงยามโบกรถหน้าโรงเรียน ป้าล้างห้องน้ำทำความสะอาด ป้าโรงอาหาร คุณครูท่านอื่นที่ไม่ได้สอนแต่ท่านเป็นครู สอนให้ไหว้พี่ๆที่อยู่ร่วมโรงเรียน มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง มีการรอคอย ให้น้องๆ ไปก่อน มีการถูกรุ่นพี่ดุ ตรวจการแต่งกาย ฝึกแถวในความเป็นพี่เป็นน้อง นี่คือสิ่งที่เด็กของเราจะได้รับจากการเรียนร่วม เพราะเพื่อนปกติจะช่วยดูแลเขาอีกทีหนึ่ง

4. การเรียนรู้  พี่เลี้ยงต้องพยายามถามคุณครูทุกวันว่า เด็กเราต้องทำอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอะไร พยายามไม่ขอข้อยกเว้น แต่ขอเวลาให้เด็ก ต้องพยายามหาเพื่อนที่เรียนดี มีน้ำใจ และขยัน ซึ่งจะช่วยเด็กเราได้มาก และเพื่อนก็จะได้ภูมิใจในความเก่งของเขา ที่ได้ช่วยเหลือเด็กเรา น้ำจิต  น้ำใจ น้ำคำ ต้องมีอยู่เสมอ สำหรับผู้ปกครองที่มีน้องเป็นเด็กออทิสติก แล้วเด็กเราจะรอด ชีวิตเราทำอะไรอย่าไปหวังกำไรมาก ขาดทุนบ้างก็ได้ บางอย่างมันแทบไม่มีคำว่ากำไรเลย เราขาดทุน แต่ ขาดทุนอย่าง สง่า สงบ และอยู่ได้ สำหรับพี่เลี้ยงจะฝึกและสอนทำการบ้าน ทบทวน บทเรียนทุกวัน เวลา 18.00 น. – 20.30 น. ทำเป็นนิสัย สำหรับวันเสาร์อาทิตย์ เวลา 08.00 น. – 10.00 น.

ในความรักของเด็กที่ถูกใจเรา (พ่อ แม่) ในช่วงระยะเวลาที่เขาเติบโตขึ้น เราก็ต้องตบแต่งอยู่เสมอ เพราะความน่ารักของพ่อแม่ อาจจะไม่น่ารักสำหรับคนอื่นๆที่อยู่รอบๆตัวเด็ก (สังคม)

5. ครอบครัว  ไม่ทราบว่าจะพูดว่าครอบครัวของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นออทิสติกจะโชคดีหรือโชคร้าย แต่ในความโชคร้าย ก็มีความโชคดีอยู่ในนั้นเสมอ จากประสบการณ์ที่ได้พบ รู้จักคุณพ่อคุณแม่ของเด็กหลายๆ ท่าน ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มองโลกในแง่ดี ใจเย็น แต่เท่าที่ได้รับทราบ ท่านเหล่านี้ก็ทุ่มเทให้กับลูกที่เป็นออทิสติกของเขามาก  สิ่งหนึ่งก็คือเราต้องให้ความรัก ความสำคัญ ให้เขาเป็นที่หนึ่งในครอบครัวก่อน ก่อนที่ผู้อื่นจะยกย่องเรา เราต้องยกย่องของเราก่อน ในกรณีที่มีพี่น้องปกติ เราต้องดูและพี่หรือน้องของเขาให้ดีที่สุด (จิตใจ) อย่าทอดทิ้งพวกเขาเด็ดขาด เพราะจะทำให้เขาคิดว่า พี่หรือน้องของเขาที่เป็นเด็กออทิสติก เกิดมาแล้วทำให้เขาแย่ลง พ่อแม่ไม่มีเวลาให้เขา จนเขาเกิดอคติกับพี่หรือน้องของเขาที่เป็นออทิสติก เราต้องให้เขารู้สึกว่า เขาสำคัญต่อพี่หรือน้องของเขามาก วันหนึ่งที่ไม่มีพ่อแม่  ให้เขารู้สึกว่า เป็นหน้าที่ ไม่ใช่ภาระของเขาที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้ นอกเหนือจากมรดก

6. สิ่งที่ได้รับเมื่อวัยเรียน

1. ได้การยอมรับ สิ่งนี้สำคัญมาก เมื่อเข้ามาเรียนในโรงเรียน (สมัยอาจารย์มัณฑริกา  วิฑูรชาติ เป็นผู้บริหาร) น้องของเราไม่ได้รู้สึกต่างไปจากเพื่อนๆ หรือไม่ได้เป็นตัวประหลาดในทุกสายตาที่มอง น้องคือสมาชิกคนใหม่

2. มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง ไม่ว่าจะทำงานอะไร จะมีรุ่นพี่มาคอยติวหรือดูแลให้ ก่อนจะถึงมือครู อาจารย์ต้องผ่านมือพี่ก่อน (ในฐานะพี่ผู้มีประสบการณ์มาก่อน)

3. มีส่วนร่วมในการเรียน กิจกรรม ทุกชนิดตามที่ตนเองถนัด น้องเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร การเปล่งเสียงออกมา แต่สามารถพูดตามที่เขียนและบอกได้เป็นอย่างดี เวลานำเสนองาน (Present) ก็จะเป็นของแปลกที่เด็กพิเศษพูดไม่ได้แต่นำเสนองานได้อย่างดี ดูเหมือนจะทำคะแนนให้กลุ่มได้ดี ผู้ร่วมชมและฟังการนำเสนองาน ก็จะชื่นชมและชอบฟัง (เอาใจช่วยกลัวพลาดด้วย) เพื่อนในกลุ่มก็ภูมิใจที่เพื่อนของเขาสามารถทำตามที่เขาวางแผนได้ ครูก็มีจิตวิทยาที่จะให้คะแนนและมีการแข่งขัน (ในแนวพัฒนางานชิ้นต่อไปว่าต้องดีกว่าเก่า) เด็กทุกคนก็พยายามหาเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษของตัวเองมาโชว์ความสามารถเพื่อเรียกคะแนน และคำชื่นชมของครู อาจารย์

4. เมื่อเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา เมื่อน้องได้เข้าสู่สถาบันที่สูงขึ้น จะไม่มีการตื่นตระหนก ตอนใช้ไมโครโฟน เพราะตอนเรียนก่อนหน้านั้น เขาชำนาญในการเดินขึ้นเวที พูดบนเวที หรือแม้กระทั่งการนำเสนองาน และการแต่งกายที่เหมาะสม เพราะที่โรงเรียนเดิมนั้น ใครรับบทนำเสนออะไรต้องแต่งตัวตามนั้น (แต่ตอนนั้นผู้ปกครองรู้สึกว่าเรื่องมากจริงๆ )

จากการที่ได้รับการอบรม เรียนรู้ในช่วงวัยต่างๆ เป็นฐานให้น้องได้อยู่กับบุคคลอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยและขณะนี้ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว และได้มีโอกาสเข้าทำงาน  สิ่งที่พัดลมปฏิบัติอยู่เสมอและเป็นสิ่งที่ดีคือ การปฏิบัติตัวกับพี่ๆที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน พี่หรือป้าต่างๆ ได้ดีไม่ต้องฝึกกันใหม่ เขารู้ว่าต้องทำอย่างไร จึงเป็นที่เอ็นดูของบุคคลอื่นที่พบเห็น

ในปัจจุบันคนทั่วไปจะรู้จักเด็กพิเศษมากขึ้น แต่ก็รู้จักเพียงแต่ว่าพวกเขาคือ “กลุ่มเด็กพิการเพียงกลุ่มหนึ่งเพียงเท่านั้น” ซึ่งคำว่าพิการทำให้กายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เด็กพิเศษถูกสังคมปิดโอกาส ที่พวกเขาควรจะได้รับเหมือนคนปกติ โดยความจริงแล้วเด็กพิเศษบางคนมีศักยภาพในตัวเองสูง เพียงพอที่จะสามารถปฏิบัติงาน ดำรงชีวิตได้อย่างใกล้เคียงกับคนปกติ ขอเพียงให้โอกาสพวกเขา

การปิดโอกาสนี้ เริ่มต้นตั้งแต่ครอบครัวของเด็กเองที่ไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะอาจจะคิดว่าให้ลูกเรียนไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เสียเวลาเปล่าๆ เอาเวลาไปดูแลลูกปกติดีกว่า สิ่งที่สำคัญคือ พ่อ แม่ต้องกล้าที่จะพาเขาทั้งสอง ทั้งลูกปกติและลูกพิเศษเดินไปพร้อมๆกัน ให้เขารู้สึกว่า เราไม่ได้แยกเขาจากกัน ลูกทั้งสองมีความสำคัญเท่ากัน เปรียบเสมือน แก้วตากับดวงใจ

ข้อควรระวัง อย่าให้การรักษา หรือการฝึกฝน การพัฒนาที่เข้มงวดมากๆ ซึ่งผู้ปกครองหลายท่านมีความคิดว่า จะทำให้เด็กพิเศษหายเป็นปกติได้ เราคงต้องดูแลประคองเขาไปตลอดชีวิต ตราบเท่าที่เรามีลมหายใจ ไม่ได้มีข้อห้ามให้พ่อแม่ของเด็กพิเศษมีความคาดหวังในตัวลูกของเรา แต่ขอให้ความคาดหวังในตัวของเด็กพิเศษจากพ่อแม่ เปลี่ยนมาเป็นกำลังใจ ให้กับคนดูแลและพ่อแม่เอง โดยเป็นกำลังใจและให้การสนับสนุนให้เขาได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม ค่อยเป็นค่อยไป การพัฒนาเป็นไปตามขั้นตอนของการเรียนรู้ ได้เข้าเรียนตามสติปัญญาที่เรียนได้

ถ้าอยากจะขออะไรจากสังคม  ก็อยากขอให้สถาบันการศึกษา บริษัท องค์กรต่างๆ และบุคคลในสังคม ได้ให้โอกาส เด็กพิเศษได้เข้าเรียน ได้เข้าทำงานตามศักยภาพของพวกเขา อย่ามัวแต่คิดว่า พวกเด็กพิเศษจะมาเป็นภาระ หรือสร้างปัญหาให้กับหน่วยงาน หรือสถาบันของพวกท่าน ขอโอกาสให้กับพวกเขา ในฐานะของประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ที่เกิดมามีความพิเศษและมีความแตกต่างเพียงบางมุมจากคนปกติเพียงเท่านั้น   แต่ถ้าพวกท่านได้ลองใกล้ชิด ทำความรู้จักกับพวกเขาแล้ว พวกท่านจะรู้ว่า พวกเขาเป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความใสซื่อบริสุทธิ์ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม (อาจไม่ใช่ทุกคน) ไม่เคยคิดจะทำร้ายใคร (โค่นเก้าอี้ใคร) แต่กลับกัน เราจะได้รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะจากบางมุมของเด็กพิเศษที่น่ารัก และน่าประทับใจ ตอบแทนกลับคืนมาอีกด้วย

ขอความเข้าใจ ขอโอกาส ขอเวลา

ผู้เขียน . . . พี่เลี้ยงเด็กพิเศษ

 

Add Line กันนะคะ เพื่อไม่ให้พลาด สาระความรู้

และเรื่องราวต่างๆ ของการพัฒนาลูกรักของคุณค่ะ

ผู้เรียบเรียง . . . ดร. มัณฑริกา   วิฑูรชาติ

12 กันยายน  2553

ประกอบการบรรยาย “เรื่องที่พ่อแม่ควรตระหนักก่อนลูกเข้าสู่วัยรุ่น และอนาคตของลูกออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้า/การเตรียมการเรียนรู้ของลูก”  จัดโดย ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ “บ้านอุ่นรัก” ณ ห้องสัมมนาชั้น 4 อาคาร 2 ตึก ไอทีสแควร์

= = = = = = = = = = = = = = = = =

ประวัติโดยสังเขป

ชื่อ-สกุล : ดร. มัณฑริกา วิฑูรชาติ

ประสบการณ์ทำงาน

2514 – 2517 เป็นครูประจำชั้น ณ โรงเรียนมีนประสาทวิทยา

2517 – 2548 เป็นผู้บริหารโรงเรียนมีนประสาทวิทยา

2549 – ปัจจุบัน ผู้บริหารโรงเรียนอนันตา

การศึกษา

2527 – ปริญญาศึกษาศาสตร์ บัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

2533 – ปริญญาพัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์
สาขานโยบายสาธารณะ และการบริหารโครงการ
จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า )

2541 – CERTIFICATE
Early Childhood Development and Parental Involvement
From   STATE OF ISRAEL

MINISTRY OF FOREIGN AFFAIRS MASHAV – THE
CENTER FOR INTERNATIONAL COOPERATION

THE GOLDAMEIR – MOUNT CARMEL INTERNATIONAL
TRAINING CENTER

2550 – Master of Education In Educational Administration
From ASSUMPTION UNIVERSITY

2551 – ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ)
มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กรุงเทพมหานคร

ผลงานดีเด่นในขณะเป็นผู้บริหาร
ด้านการบริหารโรงเรียน

1. ได้รับโล่การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาดีเด่น ประจำปีการ 2537

2. ได้รับโล่รางวัล “โรงเรียนดีเด่น ปี 2537 ในวันประถมศึกษาแห่งชาติ

3. ได้รับรางวัลพระราชทาน ปี 2538

4. ได้รับโล่รางวัลโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนภาษาไทยดีเด่น จากสมาคมคลังปัญญาอาวุโส แห่งประเทศไทย

5. ปี 2543 ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
รางวัล “พฤกษานครา” ระดับหน้าบ้านน่ามอง ในโครงการแมกไม้มิ่งเมือง
ประเภท “สวนสวยโรงเรียนงาม”

ส่วนของ ดร. มัณฑริกา

1. อาจารย์มัณฑริกา   วิฑูรชาติ ได้รับรางวัลชมเชยผู้ปฏิบัติผลงานดีเด่น ประเภทผู้บริหาร สถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และประถมศึกษา จากคุรุสภา

2. อาจารย์มัณฑริกา วิฑูรชาติ ได้รับรางวัลผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่นผู้บริหารระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีพุทธศักราช 2542

3. อาจารย์มัณฑริกา วิฑูรชาติ ได้รับรางวัลผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่น จากคณะกรรมการ คุรุสภากรุงเทพมหานคร ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ประจำปีพุทธศักราช 2542

4. อาจารย์มัณฑริกา   วิฑูรชาติ รับรางวัลครูผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2543 ประเภทผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา ได้แก่ อาจารย์มัณฑริกา วิฑูรชาติ คุรุสภา กทม. ใน สช. สาขากลุ่มกรุงเทพฯ เหนือ

ประสบการณ์การดูงานและฝึกงานในต่างประเทศ ปี 2534 – 2552

– ทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศ   เวียดนาม สิงคโปร์ เกาหลี ฮ่องกง ลาว อินโดนีเซีย

ไต้หวัน ญี่ปุ่น     

– ทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศ อังกฤษ   เยอรมัน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ อิสราเอล

  อิตาลี่

– ประเทศ ออสเตรเลีย

– ประเทศนิวซีแลนด์  

– ประเทศสหรัฐอเมริกา

– ประเทศ แคนนาดา

การพัฒนา และฝึกอบรม

พัฒนาตัวเองโดยตลอด โดยวิทยากรคนไทย – และต่างประเทศ มากกว่า 70 ครั้ง

ประสบการณ์การเขียนหนังสือร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศจำนวน 17 เล่ม

วิทยากรบรรยายและประชุมเชิงปฏิบัติการ

        ในประเทศไทย             150   ครั้ง

        ในต่างประเทศ            7   ครั้ง

วิทยากรรับเชิญในรายการวิทยุและโทรทัศน์

        จำนวน    27 ครั้ง

ตำแหน่งและประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2514 – 2517 ครูผู้สอนโรงเรียนมีนประสาทวิทยา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2517 – 2548 ผู้อำนวยการโรงเรียนมีนประสาทวิทยาเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2534 – 2540 ประธานกลุ่มโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญกลุ่มที่ 31 เขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง

พ.ศ. 2544 – 2545 ผู้ทรงคุณวุฒิในโครงการผู้บริหารต้นแบบของสภาการศึกษา

พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน เลขาธิการสมาคมครูสถานศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2545 – 2546 กรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติครูและบุคลากรทางการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน รองประธานชมรมผู้บริหารโรงเรียนฆราวาคาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ          

พ.ศ. 2546 – 2548 กรรมการคณะติดตามงานโครงการ To Be Number One ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริโสภาพรรณวดี

พ.ศ. 2547 – 2548 ผู้เชี่ยวชาญให้ความร่วมมือกับสถาบันคีนันแห่งเอเซียในการอบรมครูโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใน4 จังหวัดภาคเหนือ

พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน ผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียนอนันตา เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2552 – อาจารย์พิเศษ คณะครุศาสตร์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  

– อาจารย์พิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

– ดาบสอาสา โรงเรียนพระดาบส  

– อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

พ.ศ. 2553 – อาจารย์พิเศษ โครงการ ป.บัณฑิต สถาบันรัชต์ภาคย์

– ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

– อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยปทุมธานี      

 

โทรเลย