by admin | บทความบ้านอุ่นรัก
ความในใจของครูปั่น 🌷💕(คุณเปรมวดี ธรรมสา ครูกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการบ้านอุ่นรักธนบุรี อายุงาน 13 ปี)
เราลองนึกย้อนวันเวลากลับไปที่จุดเริ่มต้น ก็นึกแปลกใจว่าอะไรที่ดลใจให้เราอยากมาทำงานที่บ้านอุ่นรักธนบุรีในวันนั้น
😁😁😁😁😁😁😁
ที่จริง ในตอนนั้น เราเป็นเพียงเด็กคนหนึ่งที่อยากหางานพิเศษทำเพื่อลดภาระที่บ้าน เราแค่เดินไปที่บอร์ดของมหาวิทยาลัยที่ติดประกาศรับสมัครงานและเจอข้อความเปิดรับสมัครงานครูกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่บ้านอุ่นรักธนบุรีนี้
🐣🐥ในวันที่เข้ามาสัมภาษณ์งาน พี่นายถามเราว่าเรารู้จักเด็กพิเศษมั้ย เราก็ตอบไปว่าเราเคยได้ยินคำนี้แต่ไม่รู้ว่าน้อง ๆ เด็กพิเศษเป็นเด็กที่มีอาการอย่างไร พี่นายอธิบายถึงเรื่องเด็กพิเศษให้ฟังคร่าว ๆ และตั้งโจทย์ให้เรากลับไปคิดและให้เขียนแผนการสอนมาส่งว่าถ้าเราได้เป็นครูของเด็กพิเศษเราจะมีวิธีการสอนน้อง ๆ กลุ่มนี้อย่างไร
🌟🗝จากแผนการสอนที่ลองเขียน พี่นายให้โอกาสเราเข้ามาทำงานที่นี่ ซึ่งในวันแรก ๆ เราจับต้นชนปลายไม่ถูก งง เพราะไม่รู้อะไรเลย จึงได้แต่เรียนรู้งาน ตามดู และทำตามพี่ ๆ และเพื่อน ๆ ร่วมงาน เค้าให้ทำอะไร เราก็ทำ ซึ่งในช่วงแรก ๆ เราทำงานนี้ไปตามหน้าที่ ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่ได้คิดอะไรจริงจังหรือลึกซึ้งในเรื่องงานนี้มากนัก แต่ยิ่งทำก็ยิ่งพบว่าเราชอบทำงานนี้ เราเป็นครูกระตุ้นพัฒนาการเด็กพิเศษที่ดีได้ การทำงานนี้ ยิ่งทำยิ่งได้รับมิตรภาพจากทุกคนที่เป็นพี่และเพื่อนร่วมงาน จากเด็ก ๆ และจากพ่อแม่ผู้ปกครอง
🦊🦊🦊🦊🦊🦊
ในส่วนของการเรียนรู้งาน ครูรุ่นพี่ไม่เคยเร่งให้เราต้องเป็นงาน แต่พี่ ๆ จะค่อย ๆ สอน ให้เวลาเราได้เรียนรู้ ลองคิดและลองทำ จนตอนนี้ เราไม่รู้ว่าคำที่เราเคยบอกว่าเราแค่ทำงานตามหน้าที่มันหายไปไหนและหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ 🎈🎈 มารู้ตัวอีกที เรากลายเป็นครูปั่นที่ทำงานด้วยใจ ทำเพราะรักที่จะทำ ทำงานนี้ด้วยความรู้สึกหวังดีที่มีให้กับเด็ก ๆ และพ่อแม่ผู้ปกครอง มารู้ตัวอีกที เรากับพี่ ๆ เพื่อน ๆ ครูบ้านอุ่นรัก ก็ได้นั่งจับกลุ่มคุยกันเรื่องการเรียนการสอนเด็ก ๆ น้อง ๆ ในทุก ๆ เย็น
มารู้ตัวอีกที เราในตอนนี้กลายเป็นครูที่คิดและวางแผนว่าเราจะสอนน้อง ๆ เด็ก ๆ ให้รู้เรื่องโน้นนี้นั้นได้อย่างไร มารู้ตัวอีกที เรากลายเป็นครูปั่นที่คาดหวังว่าน้อง ๆ เด็ก ๆ จะทำเรื่องนั้นนี้โน้นได้ในสักวัน
วันแล้ววันเล่าที่ได้เป็นครูกระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งความสุข ความทุกข์ การทำถูก และการทำเรื่องผิดพลาด
ครูปั่นมีทั้งช่วงเวลาที่สุขภาพแข็งแรงดีและสุขภาพพัง
เวลาร่างพัง ครูก็กลายเป็นคนไข้ที่เดินเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาล หมดหวังและท้อใจ
แต่วันแล้ววันเล่าที่รู้สึกหมดหวังและท้อใจ พี่ ๆ เพื่อน ๆ เด็ก ๆ และครอบครัวของเด็ก ๆ ได้หยิบยื่นมิตรภาพ ความจริงใจ และความหวังดีมาให้ ไม่ต่างจากที่เราเคยได้รับในวันแรก และมีแต่เพิ่มพูนมากขึ้นในทุก ๆ วัน 💕💓
บ้านอุ่นรักนี้จึงเป็นที่ ๆ ทำให้เราผ่านพ้นความเจ็บปวดหลาย ๆ เรื่องมาได้
เป็นที่ ๆ เราได้เรียนรู้ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้ ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ได้สัมผัสเด็กที่เราไม่เคยรู้จัก ได้ขัดเกลาตัวเอง ได้รับโอกาส และเปลี่ยนเราให้กลายเป็นคนที่อยากมอบและส่งต่อโอกาสแบบนี้ไปให้คนอื่น ๆ ในโอกาสต่อ ๆ ไปบ้าง
ความในใจ ❤ ที่เราอยากบอกในวันนี้ คือ อยากบอกพี่ ๆ เพื่อน ๆ เด็ก ๆ และครอบครัวของเด็ก ๆ ว่าครูปั่นมีความสุขที่ได้เป็นครูกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ครูขอขอบคุณ และตั้งใจจะทำงานนี้ให้ดีที่สุดในทุก ๆ วัน เพื่อตอบแทนพระคุณของทุก ๆ ท่านค่ะ🙏
by admin | บทความทั่วไป
▶️16.คิดให้รอบคอบเรื่องสถานที่ ๆ เราจะพาเด็กออทิสติกที่มีปัญหาเรื่องระบบรับสัมผัส (รับรู้ไว) ไปเที่ยว
🎢🎠ตัวอย่าง: หากลูกกลัวเสียงดัง หรือกลัวที่ ๆ มีคนพลุกพล่าน เราไม่ควรพาลูกไปเที่ยวเทศกาลดอกไม้ไฟหรืองานกาชาด 🎡แต่ควรชวนลูกไปเที่ยวในสวนที่สงบ ๆ และร่มรื่น ⛩เป็นต้น
▶️17.สื่อสาร พูดคุย หรือรับมือเด็ก 😇ด้วยความเมตตา ใจเย็นและสงบ หากในการรับมือนั้น เรา😡รู้ตัวว่าเรายังใจร้อนและโมโหอยู่ เราควรขอให้เพื่อน คนในครอบครัว หรือนักบำบัดช่วยรับมือแทน (หรือขอคำปรึกษาว่าจะทำใจให้สงบได้อย่างไร) 😰ทั้งนี้ หากเราโกรธ ใจร้อน เร่งรัดให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ หรือขู่เด็ก เราอาจหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กได้เพียงชั่วครู่ (เพราะเด็กกลัวหรือตกใจ) แต่ไม่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ในระยะยาว
▶️18.เราไม่โทษเด็กหรือตัวเราเองหากเราทำดีที่สุดแล้วแต่สถานการณ์กลับไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ 😎🤗 ทั้งนี้เพราะแม้เราพยายามดีที่สุดแล้ว พยายามทำให้ทุกเหตุการณ์เป็นเรื่องที่เด็กรู้อย่างชัดเจนแล้วว่าเขาต้องทำอะไร ทำอะไรก่อน-หลัง เราใจเย็นแล้ว หรือได้บอกเด็กไปหลายครั้งแล้วในสิ่งที่เขาต้องทำ 👩🌾👨🌾 แต่ใช่ว่าเหตุการณ์จะเป็นไปด้วยดีได้ทุกครั้ง 👩🏭หากครั้งใดเกิดเรื่องที่เราไม่คาดคิดหรือไม่พึงประสงค์ ไม่เป็นดังใจหวัง🧛♂🧛♀
by admin | บทความทั่วไป
▶️13.ให้เด็กร่วมทำงานหรือทำกิจกรรมที่มีเครื่องไม้เครื่องมือ สื่อเป็นองค์ประกอบ (เช่น เล่นเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์) หรือใช้สายตาในการดำเนินงาน (เช่น งานแยกสี แยกสิ่งของ ต่อตัวต่อ ต่อโมเดลรถยนต์) ทั้งนี้เพราะเด็กออทิสติกมักมีทักษะที่ดีในเรื่องเหล่านี้อย่างไรก็ตาม หากงานหรือกิจกรรมที่ทำต้องใช้ระยะเวลานาน ควรให้เด็กได้พัก พื่อไม่ให้เกิดความกระวนกระวายหรือหงุดหงิด
▶️14.อนุญาตให้เด็กหยิบของชิ้นโปรด🐖🏐จากกิจกรรมที่เพิ่งจบไปติดไม้ติดมือไปด้วยในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสู่กิจกรรมใหม่ 🤗 เพื่อทำให้เด็กสบายใจในการเปลี่ยนผ่านกิจกรรมหรือการเปลี่ยนที่ไปยังสถานที่ ๆ ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย (โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากกิจกรรมที่ชอบไปสู่สิ่งที่ไม่ชอบ)
🚚ตัวอย่าง: ให้เด็กถือรถยนต์ของเล่นติดมือ🚗ไปตอนที่เด็กต้องออกจากบ้านไปพบนักกิจกรรมบำบัด
▶️15.ใช้การหันเหความสนใจของเด็กแทนการบอกว่า “ไม่” หรือ “หยุด”👩🌾👨🌾 ทั้งนี้โดยเฉพาะในเวลาที่เราต้องการหยุดพฤติกรรมทางลบ
⭕ ตัวอย่าง: ลูกวิ่งวุ่นในร้านขายของ แม่บอกลูกว่า “เดิน”
⭕ตัวอย่าง: ลูกเดินออกนอกเส้นที่ตีไว้ให้เดิน แม่จูงลูกกลับมาเดินในเส้น พร้อมบอกลูกว่า “กลับมาเดินตามเส้นที่เขาขีดไว้ให้เดิน”
by admin | บทความทั่วไป
▶️11.ชมเด็กและแสดงให้เด็กรู้ว่าเรารู้สึกดีอย่างไรที่เด็กทำได้ตามข้อตกลง
🔰ตัวอย่างเด็กส่งเสียงดังในโรงภาพยนตร์ เราควรบอกเด็กว่า “พูดเบา ๆ ในโรงภาพยนตร์” เมื่อเด็กทำได้ตามที่เราบอก เราต้องกล่าวชม เช่น “แม่ดีใจที่หนูพูดเบา ๆ ในโรงภาพยนตร์” “แม่ขอบใจที่หนูพูดเบา ๆ ในขณะชมภาพยนตร์” เป็นต้น
📛การต่อยอด: ในกรณีที่เด็กมีทักษะการฟัง การทำความเข้าใจ เราควรใช้สถานการณ์นี้ในการต่อยอดสอนเด็กเรื่องผลการกระทำของเด็กที่มีต่อบุคคลอื่น
▶️12.ให้เด็กได้เลือกเองบ้าง ทั้งนี้ อย่าลืมว่าเด็กออทิสติกก็เหมือนกับเด็กอื่น ๆ ทั่วไป 🧒👩 คือ อยากควบคุมสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้บ้าง 👨🌾👩🌾 ดังนั้น ในบางเรื่อง บางครั้งบางคราว เราควรให้เด็กได้เลือกบ้าง 🔶️แต่จำกัดตัวเลือกไว้ไม่เกิน 4 อย่าง เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความสับสนเพราะเลือกไม่ถูก
⭕ตัวอย่าง: 🖥📺หนูอยากเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรืออยากดูโทรทัศน์
👕ลูกอยากใส่เสื้อสีเขียวหรือสีแดง
🍭🍭 หมายเหตุ: สำหรับเด็กที่ขาดทักษะทางภาษาและการฟังเข้าใจ เราสามารถใช้ภาพเป็นตัวช่วยในการให้ทางเลือก
ตัวอย่าง: วันนี้ลูกอยากทานอะไร (ให้เด็กเลือกจากตัวเลือกตามภาพที่เตรียมไว้)
by admin | บทความทั่วไป
▶️9.ใช้การเสริมแรง 🍭 (Reinforcement) (เช่น คำชม รางวัล ให้ดาวความดี) เพื่อกระตุ้นให้เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ข้อควรจำ: 🐷🐖
↪-ในกรณีที่เราสัญญากับเด็กว่าเราจะให้รางวัล เราต้องทำตามสัญญาเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
↪-เราต้องสามารถหยุดการต่อรองในกรณีที่เด็กมีการต่อรองเรื่องสิ่งตอบแทนหรือรางวัลที่ต้องการได้รับ ทั้งนี้ เราอาจให้ทางเลือกแก่เด็กเพื่อลดข้อโต้แย้งเรื่องของรางวัล แต่ต้องไม่เกิน 2-4 ตัวเลือก เพราะเด็กอาจสับสนและเลือกไม่ถูกหากมีตัวเลือกมากมายเกินไป
↪-รางวัลที่ให้เป็นสิ่งที่เด็กชอบ
↪-เราจะค่อย ๆ ลดการให้แรงเสริม เช่น รางวัล หรือคำชมลง จนกระทั่งไม่ต้องให้อีกเลย เมื่อเด็กเกิดพฤติกรรมทางบวกจนเป็นนิสัยแล้ว
ตัวอย่าง: แม่จะคุยโทรศัพท์ 5 นาที ในระหว่างที่แม่โทรศัพท์ ลูกต้องเล่นเงียบ ๆ ถ้าลูกทำได้ เมื่อแม่คุยโทรศัพท์เสร็จ แม่จะเล่นกับลูกค่ะ (รางวัลในที่นี้คือแม่จะเล่นกับลูก)
▶️10.ทำข้อตกลงที่ทำร่วมกันมีความชัดเจนว่า✏เราจะทำอะไร ✏อะไรเกิดก่อน-หลัง ✏และหากเด็กทำได้ตามข้อตกลง เด็กจะได้อะไรเป็นรางวัล
ตัวอย่างสถานการณ์😭: ลูกโกรธและโวยวายทุกครั้ง หากไปร้านขายของแต่แม่ไม่อนุญาตให้ลูกเดินไปดูของเล่นที่แผนกของเล่น
🚩ตัวอย่างการทำข้อตกลง:🏪 ก่อนไปร้านขายของ แม่บอกลูกว่า “วันนี้เราจะไปซื้อปากกา 🖋🖊ที่ร้านขายของ เมื่อเราซื้อปากกาเสร็จ เราจะไปจ่ายเงิน จากนั้น เราจะกลับบ้านกันค่ะ ✔ถ้าลูกทำตามนี้ได้ ✅ลูกจะได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนันที่ลูกชอบ 1 ตอนเมื่อเรากลับถึงบ้าน”
🔅🔅: เมื่อไปถึงร้านขายของ แม่จะบอกลูกอีกครั้งว่า “ตอนนี้ เราจะเข้าไปในร้านขายของ ไปซื้อปากกา ไปจ่ายเงิน และเราจะกลับบ้าน ✔ถ้าลูกทำตามนี้ได้ ลูกจะได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนันที่ลูกชอบ 1 ตอนเมื่อเรากลับถึงบ้าน”
😉 ข้อควรจำเรื่องการให้รางวัล:
✅เราควรกล่าวทวนสิ่งที่เด็กทำได้ตามข้อตกลงก่อนให้รางวัล
ตัวอย่างการกล่าวทวนความ: เมื่อกลับเข้าบ้าน แม่พูดว่า👩🏭 “วันนี้แม่ดีใจมากที่ลูกทำได้ตามข้อตกลงของเรา คือ เราไปร้านขายของ ไปซื้อปากกา จ่ายเงิน และกลับบ้าน เพราะฉะนั้นตอนนี้ลูกได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนัน 1ตอน
🤩-เราอาจให้เด็กเลือกของรางวัลด้วยตนเองหรือให้ทางเลือกว่าเด็กต้องการเลือกรางวัลใดระหว่าง 1 หรือ 2 แต่อย่าให้ตัวเลือกมากจนเกินไปเพราะเด็กจะตัดสินใจไม่ได้
😍-เราจะค่อย ๆ ลดการให้รางวัลจนกระทั่งไม่ต้องให้รางวัลอีกเลยเมื่อเด็กทำพฤติกรรมทางบวกจนเป็นนิสัยได้แล้ว