อาการของลูกจะดีขึ้นได้หรือไม่ | บ้านอุ่นรัก

ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ขอเสนอแนะหนึ่งแนวทาง คือ “การใช้ความรู้คู่ความรัก” เพื่อหาคำตอบ

แนวทาง:

  • เราเปิดใจยอมรับว่าพัฒนาการของลูกน่าจะมีปัญหาและรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กหรือจิตแพทย์เด็ก ตลอดจนทีมบำบัดมืออาชีพด้วยความรวดเร็ว
  • เราศึกษาหาวิธีแทรกแซงและกระตุ้นพัฒนาการเด็กในระหว่างวัน ให้มีกิจกรรมช่วยจัดสภาพการใช้เวลาของลูกอย่างหลากหลายและครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งนี้ เราต้องสลับกับการปล่อยให้ลูกได้มีอิสระบ้าง และต้องทำเช่นนี้ทุกวัน ๆ ละบ่อย ๆ ซึ่งเราต้องใจเย็นและยอมรับว่าการกระตุ้นพัฒนาการเด็กนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมากพอจนกว่าลูกจะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้ในท้ายที่สุด
  • เราเลี้ยงดูลูกด้วยความรัก ความเข้าใจ ไม่ปล่อยผ่าน แต่มุ่งสู่การส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านให้กับลูก ๆ
  • เรามีทัศนคติถูกต้อง กล่าวคือ “เรามีศักยภาพมากพอ เราช่วยลูกได้” และ “ลูกมีศักยภาพพิเศษสุดซ่อนอยู่ภายใน ลูกของเราเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้”
  • เราศึกษาหาแนวทางการตอบสนองต่อพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกด้วยความเมตตาได้อย่างเหมาะสมและทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ติดต่อ: ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” เพื่อสอบถามบริการของเราเกี่ยวกับการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย ได้ที่

บ้านอุ่นรักสวนสยาม โทร 086 775 9656

บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง โทร 087 502 5261

Credits: SlidesCarnival Template | Pexels and Pixabay Photos

นั่งอยู่กับที่ได้บางเวลา มันดีอย่างนี้นี่เอง | บ้านอุ่นรัก

นั่งอยู่กับที่ได้บางเวลา มันดีอย่างนี้นี่เอง | บ้านอุ่นรัก

ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ขอแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองสอนลูกหลานเด็กเล็กเรื่อง “การนั่งอยู่กับที่” และควรสอนทักษะนี้เสียแต่เนิ่น ๆ เพราะการนั่งอยู่กับที่ได้บ้างในบางเวลาเป็นพัฒนาการสำคัญที่ส่งผลดีเมื่อเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กออทิสติก สมาธิสั้น ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ในอนาคตต่อไป

“บ้านอุ่นรัก” ขอยกสถานการณ์ตัวอย่างให้ท่านเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าเมื่อเด็กเล็กสามารถนั่งทานอาหารอยู่กับที่ได้  เด็กจะมีพฤติกรรมการทานอาหารที่ดีขึ้นได้อย่างไร

ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับเมื่อเด็กสามารถ “นั่งอยู่กับที่ได้บ้างในบางเวลา”

  • เพิ่มช่วงเวลาแห่งความสนใจ เด็กที่สามารถนั่งอยู่กับที่จะให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ดีขึ้น อีกทั้งจะสนใจสิ่งนั้น ๆ ได้ยาวนานขึ้น ดังนั้น เมื่อลูกออทิสติก สมาธิสั้น นั่งทานอาหารที่โต๊ะอาหารได้ ลูกจะมุ่งความสนใจของตนเองไปที่มื้ออาหาร อาหารตรงหน้า และจะทานอาหารได้ดีขึ้น เป็นต้น
  • เพิ่มการตระหนักรู้เหตุการณ์ตรงหน้า การที่ลูกตระหนักรู้ว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นตรงหน้า ลูกจะเรียนรู้สิ่งนั้นได้ดียิ่งขึ้น เช่น เมื่อลูกนั่งอยู่ที่โต๊ะอาหาร ลูกจะตระหนักรู้ได้ดีขึ้นว่าแม่กำลังสอนให้รู้จักชื่อผลไม้ ให้มองรูปร่างของผลไม้ และให้ชิมรสชาติของผลไม้ เมื่อได้เรียนรู้บ่อย ๆ ลูกก็จะรู้จักผลไม้ต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทานผลไม้ (หรือแม้แต่อาหารอื่น ๆ) ได้หลากหลายขึ้น
  • เพิ่มความสามารถในการคาดเดาและการทำตามสิ่งที่กำลังเรียนรู้ ซึ่งจะต่อยอดเป็นความเข้าใจโครงสร้างของกิจวัตรประจำวันที่ตนต้องทำตามลำดับได้ดียิ่งขึ้น เช่น ลูกที่สามารถนั่งอยู่กับที่ได้ในเวลาทานอาหาร ลูกจะสนใจการทานอาหารมากขึ้น ตระหนักรู้ได้ดีขึ้นว่าตอนนี้แม่กำลังสาธิตวิธีการใช้ช้อนตักทานอาหารเพื่อทาน (แม่ต้องการให้ลูกใช้ช้อนทานอาหารได้ด้วยตนเองแทนการป้อน) ลูกก็จะเลียนแบบท่าทางการใช้ช้อนเพื่อตักอาหารเข้าปากได้ตามที่แม่สอน เมื่อฝึกบ่อยครั้งเข้า ลูกจะรู้โดยปริยายและคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้โดยปริยายว่าเวลานี้ใกล้จะถึงเวลาอาหารแล้ว ตนจึงควรไปนั่งประจำที่ ๆ โต๊ะอาหาร จากนั้นก็ทานอาหาร และต่อด้วยการทำกิจวัตรอื่น ๆ ตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยแม่เก็บโต๊ะอาหาร ล้างจาน แปรงฟัน และฟังนิทานก่อนนอน เป็นต้น ซึ่งการคาดเดาเหตุกาณ์ล่วงหน้าได้ด้วยตนเองนี้จะช่วยให้ลูกลดปัญหาเรื่องการทานอาหารเมื่อถึงเวลาอาหาร คลายความวิตกกังวลเรื่องกิจวัตรการทานอาหารแต่ละมื้อที่จะต้องทำ และลดการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ท้าทายที่ลูกเคยทำลงไปได้ด้วย เป็นต้น

การที่ลูกหลานเด็กเล็กตัวน้อย ๆ โดยเฉพาะลูกออทิสติก สมาธิสั้น สามารถนั่งอยู่กับที่ได้ด้วยตนเองในบางเวลาเป็นทักษะสำคัญที่ผู้ใหญ่ต้องลงมือสอนเด็กอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทีมครูของศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญงานด้านการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เราจึงสามารถช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองฝึกทักษะด้านนี้ให้กับลูกหลานของท่านได้ หากท่านสนใจส่งลูกหลานออทิสติก สมาธิสั้น พัฒนาการช้าไม่สมวัย (เด็กวัย 2-5 ขวบ) มาเรียนรู้กับเรา ท่านสามารถติดต่อเราได้ในวันและเวลาทำการ

บ้านอุ่นรักสวนสยาม: โทร: 086 775 9656

บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง: โทร: 087 502 5261

วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

เครดิตบทความ: 7 Ways to Teach Your Child to Sit at the Table | Lisa Cvetnich | theautismconnection.com

อ่านบทความเต็มจากต้นฉบับ กดลิงก์

7 Ways to Teach Your Child to Sit at the Table – The Autism Connection

เครดิต Template และภาพ: SlidesCarnival | Pexels and Pixabay

 

LEGO ของเล่นนี้ มีความหมาย

LEGO ของเล่นนี้ มีความหมาย

“…LEGO หรือที่เราเรียกกันทับศัพท์ว่าตัวต่อเลโก้นั้น จริง ๆ มาจากรากศัพท์คำว่า LEG GODT ในภาษาเดนิช แปลว่า Play Well หรือการเล่นยอดเยี่ยมนั่นเอง และช่างเป็นเรื่องบังเอิญด้วยที่ LEGO ในภาษาละตินนั้นยังมีความหมายว่าต่อเข้าด้วยกันอีกด้วย…(ที่มา: SME Thailand Online)”

ตัวต่อเลโก้เป็นของเล่นประจำบ้านของศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” ทั้ง 2 แห่ง คือ “บ้านอุ่นรักสวนสยาม” และ “บ้านอุ่นรักธนบุรี” ซึ่งครูบ้านอุ่นรักจะใช้เลโก้ทั้งในการสอนเดี่ยว สอนกลุ่ม ตลอดจนการปล่อยเด็กเล่นอิสระเพราะเลโก้เป็นของเล่นที่เหมาะสมกับการสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก เช่น

  • ฝึกจัดระเบียบความคิดและลำดับการทำงานในสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้าจำนวนมาก เช่น ครูสาธิตให้เด็กดูว่าในการเล่นนี้ เด็กต้องแยกเลโก้ตามสีและต่อเลโก้ที่เป็นสีเดี่ยวกันเข้าด้วยกัน โดยในช่วงเริ่มต้น ครูจะคละเลโก้หลากสีรวมไว้ในถาดและต่อให้เด็กดูทีละสี เมื่อเด็กเข้าใจแนวคิด ครูจะแล้วปล่อยให้เด็กแต่ละคนลงมือทำเอง ซึ่งเด็กบางคนจะสับสนเพราะเลโก้หลากสีถือเป็นสิ่งเร้าที่มีจำนวนมาก (มีสิ่งเร้าเยอะ) เด็กจึงเริ่มต้นไม่ถูก ในขณะที่เด็กบางคนก็จะลงมือทำได้ ทั้งนี้ ครูจะสังเกตว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เช่น เด็กบางคนเลือกหยิบเลโก้ทีละสีแล้วต่อจนเสร็จไปทีละสี ในขณะที่เด็กบางคนใช้วิธีแยกเลโก้แต่ละสีกองแยกไว้แล้วค่อยต่อ ส่วนเด็กคนที่สับสนมาก ครูจึงจะบอกวิธีทำอีกรอบ การสังดเกตของครูทำให้ครูรู้วิถีความคิดของเด็กแต่ละคนก่อนที่ครูจะนำทาง
  • เมื่อเด็กต่อเลโก้ตามที่ครูสั่งได้เองแล้ว ครูจะปล่อยให้เด็กต่อเลโก้ต่อไปอย่างอิสระ แต่ครูจะคอยสังเกตห่าง ๆ และเข้าแทรกเพื่อให้แนวทางเด็กลองแปลงสภาพเลโก้เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมจินตนาการเพิ่มเติม เช่น ต่อเป็นเครื่องบินหรือรถ เป็นต้น
  • เมื่อเด็กต่อเลโก้เป็นเครื่องบินหรือรถได้แล้ว ครูไม่ลืมที่จะกล่าวชม ก่อนชวนเด็กสนุกต่อด้วยการทำท่ายกเลโก้ชิ้นนั้นหรือยกตัวเด็กขึ้นบินบนอากาศ หรือเด็กที่ต่อเลโก้เป็นรถ ครูก็จะชวนเด็กทำท่าเข็นเลโก้รูปรถพร้อมทำเสียงประกอบ “บรื้น ๆ ๆ” อย่างสนุกสนาน

แม้เลโก้จะเป็นของเล่นที่ช่วยสร้างเสริมจินตนาการและพัฒนาการของเด็กได้ แต่การที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้สอนหมั่นสังเกตและคอยเข้าแทรกเพื่อกระตุ้นพัฒนาการเด็กในจังหวะที่ถูกต้อง จะเป็นการต่อยอดการเล่นให้มีคุณค่ายอดเยี่ยมทั้งในด้านการกระตุ้นพัฒนาการและการสร้างสัมพันธภาพทางใจสมกับความหมายของ LEGO ได้อย่างแท้จริง

เครดิตข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเลโก้: SME Thailand Online

เครดิตภาพ: https://unsplash.com/photos/HpMihL323k0 (Unsplash | Glen Carrie)

ติดต่อศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก”

บ้านอุ่นรักสวนสยาม: โทร: 086 775 9656

บ้านอุ่นรักธนบุรี ถนนพุทธมณฑลสายสอง: โทร: 087 502 5261

วันและเวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ | 09.00 น. – 15.00 น.

สนุก (ที่บ้าน) | บ้านอุ่นรัก

สนุก (ที่บ้าน) | บ้านอุ่นรัก

การเล่นสนุกกับลูกหลานที่บ้านเป็นการทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ซึ่งศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก “บ้านอุ่นรัก” อยากส่งเสริมให้ทุกบ้านหมั่นหาเวลาสร้างบรรยากาศการเล่นสนุก ๆ ร่วมกัน โดยการเล่นสนุกนี้มีประโยชน์ คือ

  1. พ่อแม่ผู้ปกครองได้ส่งเสริมพื้นฐานทางอารมณ์ให้ลูกหลานเป็นเด็กที่มีพื้นฐานทางอารมณ์เชิงบวก ลูกหลานจึงเป็นเด็กที่มีความสุข
  2. พ่อแม่ผู้ปกครองได้สื่อให้เด็ก ๆ ที่บ้านรับรู้ความหมายของการได้อยู่ร่วมกันกับคนรอบข้างในครอบครัวว่าเป็นเวลาที่ดี มีความสุข และได้หัวเราะด้วยกันอย่างสนุกสนาน อันจะช่วยสร้างความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
  3. พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตั้งเป้าหมายของตนเองว่าลูกหลานจะต้องสนุกเมื่อได้เล่นและได้อยู่ร่วมกันกับเรา เด็ก ๆ ต้องสนุกมากกว่าการเล่นอยู่กับของเล่นหรืออยู่ในโลกส่วนตัวตามลำพัง
  4. พ่อแม่ผู้ปกครองได้ใช้การเล่นสนุกในการช่วยปรับลดอารมณ์หงุดหงิดง่ายของลูกหลาน อีกทั้งได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กให้เป็นเชิงบวกมากยิ่งขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

เครดิตภาพ: <a href=”https://www.freepik.com/vectors/family-care“>Family care vector created by dooder – www.freepik.com</a>

“ดรีมทีม”  ผู้สนับสนุนการเติบโตของลูก | บ้านอุ่นรัก

“ดรีมทีม” ผู้สนับสนุนการเติบโตของลูก | บ้านอุ่นรัก

  1. ทีมแพทย์
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
  • แพทย์และบุคลากรฝ่ายจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
  • แพทย์ฝ่ายกาย
  1. ทีมกระตุ้นพัฒนาการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยสหวิชาชีพ เช่น
  • ครูฝึกพูด
  • นักกิจกรรมบำบัด
  • นักกระตุ้นพัฒนาการ
  • ครูผู้กระตุ้นทักษะการเคลื่อนไหว
  1. ทีมส่งเสริมการเรียนรู้และซ่อมเสริมวิชาการ เช่น
  • ครูประจำชั้น
  • ครูในโรงเรียน
  • ครูการศึกษาพิเศษ
  1. ทีมสมาชิกในครอบครัวที่สลับสับเปลี่ยนและช่วยกันดูแลและทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น
  • แทรกการกระตุ้นพัฒนาการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตจริง
  • เตรียมการดำรงชีวิต เช่น ฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันตามวัย
  • ฝึกงานบ้าน ฝึกมารยาทและการเข้าสังคมตามวัย
  • หากิจกรรมที่เหมาะสมตามวัยเป็นงานอดิเรกยามว่าง
  1. ทีมฝึกอาชีพ เช่น
  • ครู อาจารย์ที่เกี่ยวข้องสายวิชาชีพ
  • สมาชิกในครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญในอาชีพที่จะพัฒนาทักษะทางอาชีพให้ลูกตามความสนใจและความถนัดของลูก
  1. สมาชิกในชุมชนและสังคม
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้การสนับสนุนจากคนรอบข้าง
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้รับประสบการณ์ในสังคมตามจริง
  1. ทีมสนับสนุนยามต้องการความช่วยเหลือ เช่น
  • ผู้ให้กำลังใจแก่พ่อแม่
  • ญาติพี่น้อง
  • ครูของลูก
  • เจ้านาย ลูกน้อง
  • เพื่อนบ้าน เพื่อน

Vector created by felicities | freepik.com