8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 3 | แนวทางที่ 5 ถึง 8) | บ้านอุ่นรัก

8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 3 | แนวทางที่ 5 ถึง 8) | บ้านอุ่นรัก

8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 3 | แนวทางที่ 5 ถึง 8)

  1. สอนลูกดูแลด้านร่างกายที่เริ่มเปลี่ยนแปลง
  • ควรดูแลเรื่องคุณภาพและปริมาณอาหารที่ลูกทานมาเป็นลำดับตั้งแต่ยังเล็ก
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
  • แทรกการออกกำลังกายที่มีรูปแบบชัดเจนและทำจนเป็นกิจวัตร โดยออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที เช่น เดินระยะไกลพอควร ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ทำท่าออกกำลังกาย กิจกรรมฟิตเนส (Fitness) ตามวัย ทั้งนี้ ควรเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่ทำได้ต่อเนื่องจนโต ทั้งนี้เพื่อช่วยลดพลังงาน ตลอดจนช่วยผ่อนคลายด้านอารมณ์ได้อีกทางหนึ่ง
  • พาลูกไปพบแพทย์ประจำตัวทางกายและแพทย์ผู้ดูแลพัฒนาการของลูกอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อรับคำปรึกษาและวางแผนรับมือล่วงหน้ากับภาวะทางร่างกายที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะลูกที่อยู่ในช่วงรอยต่อสู่วัยรุ่น
  1. สอนพฤติกรรมทางเพศ
  • เมื่อลูกย่างเข้าวัยรุ่น พ่อแม่ผู้ปกครองควรพูดคุยกับพี่น้องหรือญาติที่เป็นเพศเดียวกับลูกให้ร่วมสังเกตพฤติกรรมทางเพศที่เปลี่ยนแปลงไป และเข้าแทรกตามความเหมาะสมและจำเป็นเพื่อนำทางพฤติกรรมของลูก
  • พ่อแม่ผู้ปกครองควรเริ่มสอนให้ลูกที่เป็นเพศเดียวกันกับลูกเรียนรู้วิธีจัดการกับพฤติกรรมทางเพศของตนเองอย่างเหมาะสม เช่น แม่ พี่สาว น้องสาว หรือญาติผู้หญิง ช่วยสอนให้ลูกผู้หญิงให้รู้วิธีดูแลตนเองในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน เป็นต้น
  • พิจารณาภาวะเสี่ยงในชีวิตประจำวันและจัดสภาพแวดล้อม สถานที่ บุคคลที่ใกล้ชิดลูก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทางเพศ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของลูก
  • ลดการประชิดตัวและสอนลูกให้เลี่ยงการเข้าประชิดตัวกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ผู้ปกครอง
  • ดูแลการแต่งกายของลูกให้รัดกุม ไม่เกิดภาพที่จะยั่วยุทางเพศ
  • ส่งเสริมพฤติกรรมการรักษาสุขภาพทางเพศ ดูแลรักษาทำความสะอาดอวัยวะเพศของตนเอง
  • ชี้แนะการจัดการตนเองเมื่อมีความต้องการทางเพศโดยพ่อ พี่ชาย หรือญาติผู้ชาย ควรมีบทบาทในการลอบสังเกตและสอนตามธรรมชาติ โดยระบุกฎชัดเจนว่าต้องกระทำอย่างเหมะสม ทั้งลักษณะการกระทำ สถานที่ และความถี่ในระดับที่ไม่หมกมุ่น เป็นต้น
  • ซ้อมการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองของลูกเมื่อมีการพยายามละเมิดทางเพศ ทั้งนี้อาจใช้ภาพการป้องกันการละเมิดทางเพศมาให้ลูกดูและเล่าตามภาพ และพ่อแม่ผู้ปกครองทดลองสร้างบทบาทสมมุติให้ลูกมีประสบการณ์ว่าจะหาทางออกอย่างไร โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด เช่น กรณีที่มีคนที่ไม่สนิทเข้าประชิดตัว มีคนพยายามถอดเสื้อผ้า บอกบทการกระทำและบทพูดที่ชัดเจน ให้ลูกปฏิเสธ ฝึกขอความช่วยเหลือ หรือฝึกถอยหนี เช่น ถอย 3 ก้าว หันหลังเดิน วิ่งหนี ยกมือขึ้นแล้วตะโกนขอความช่วยเหลือ หรือแม้แต่บทพูดเพื่อขอความช่วยเหลือ
  • สอนการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเลี่ยงประสบการณ์ตรง เช่น ป้องกันโอกาสที่ลูกจะเสพสื่อลามก ลดโอกาสการอยู่ตามลำพังกับเพศตรงข้ามหรือกับคนแปลกหน้า เลี่ยงการเข้าไปประชิดตัวหรือคลอเคลียบุคคลอื่น
  1. สอนวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์

ในช่วงวัยรุ่น อารมณ์ของลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เช่น หงุดหงิดง่ายขึ้นหรือหงุดหงิดรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจะเห็นชัดเจนเมื่อถึงจุดเปลี่ยนด้านฮอร์โมน เช่น ลูกสาวเริ่มมีประจำเดือน ลูกชายเริ่มรับรู้ความรู้สึกทางเพศ ดังนั้น

  • พ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีปรับพฤติกรรม เพื่อฝึกให้ลูกรู้วิธีควบคุมอารมณ์ของตนเองตั้งแต่ยังเล็ก
  • สอดแทรกกติกาหรือท่าทีที่ชัดเจนให้ลูกเรียนรู้ว่าพฤติกรรมแบบใดทำได้ หรือพฤติกรรมแบบใดที่พ่อแม่จะไม่ยอมปล่อยผ่าน
  • มีการวางเงื่อนไขในระดับที่พอเหมาะ เพื่อให้ลูกเชื่อฟัง และพ่อแม่สามารถมีส่วนช่วยนำทาง หรือหยุดพฤติกรรมลูกได้ในยามคับขัน
  • เพิ่มการออกกำลังกายและหากิจกรรมเสริมมาแทรกทำบ่อย ๆ ระหว่างวัน ตลอดจนหางานอดิเรกที่มีรูปแบบเหมาะสมมาแทรก เพื่อลูกได้ใช้เวลาทำกิจกรรมตามความชอบและสนใจ ซึ่งจะช่วยลดการหมกมุ่นกับอารมณ์และร่างกายของตนเองได้อีกทางหนึ่ง
  1. สอนลูกทำงานอดิเรกที่มีรูปแบบเหมาะสม เพื่อลูกได้ใช้เวลาทำกิจกรรมที่ชอบ ตลอดจนหาทางต่อยอดสู่อาชีพ
  • งานอดิเรกจะช่วยลดการหมกมุ่นกับอารมณ์และร่างกายของตนเอง
  • เฝ้ามองการใช้เวลาว่างของลูกว่าลูกมักจะชอบทำอะไร หากสิ่งนั้นเป็นการหมกมุ่นแบบไร้รูปแบบ เช่น เล่นซ้ำ ๆ แบบเดิม  ควรเข้าแทรกในบางเวลาเพื่อค่อย ๆ นำทางให้ลูกใช้เวลากับสิ่งที่ชอบอย่างมีความหมาย โดยพ่อแม่ช่วยต่อยอดให้เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ที่สามารถใช้เป็นงานอดิเรก หรืออาชีพง่าย ๆ ในอนาคต
  • พูดคุยทำข้อตกลงกันเรื่องการใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะก่อนลูกจะเริ่มทำกิจกรรมที่ลูกชอบมาก ควรจะตกลงกันว่าจะใช้เวลานานเท่าไร กิจกรรมเริ่มต้นเวลาใด และจะสิ้นสุดกิจกรรมตอนไหน ทั้งนี้สามารถใช้อุปกรณ์จับเวลาเข้าช่วย เช่น เสียงนาฬิกาปลุก เข็มของนาฬิกา หรือสัญญาณบางอย่างเป็นตัวกำหนดตามเวลาที่เหมาะสม เมื่อทำบ่อย ๆ ลูกจะเริ่มเข้าใจ และทำตามข้อตกลงได้ง่ายขึ้นตามลำดับ

 

8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 3 | แนวทางที่ 5 ถึง 8) | บ้านอุ่นรัก

8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 2 | แนวทางที่ 1 ถึง 4) | บ้านอุ่นรัก

8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 2 | แนวทางที่ 1 ถึง 4)

1: วางโครงสร้างในชีวิตประจำวันของลูกให้ชัดเจนและหลากหลาย ครอบคลุมหัวข้อที่จะส่งเสริมพัฒนาการ

  • เขียนกิจวัตรประจำวันของลูกตั้งแต่ตื่นจนถึงเวลาเข้านอน และกำหนดวัตถุประสงค์การฝึกที่ชัดเจน
  • ให้สมาชิกในบ้านมีส่วนร่วมช่วยลูกฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ และการทำกิจวัตรประจำวัน โดยแบ่งหน้าที่และจัดเวลาการทำกิจวัตรแต่ละอย่างให้เหมาะสมตามเวลาว่างของสมาชิกแต่ละคนในบ้าน
  • สมาชิกในบ้านที่รับผิดชอบการฝึกทักษะและกิจวัตรแต่ละอย่างร่วมเฝ้าดู จับนำให้ทำ บอกบทให้ กระตุ้นให้ลูกลงมือทำจริง จนกว่าลูกจะทำกิจวัตรต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง

2: ตั้งเป้าหมายให้ลูกวัย 7 ปีขึ้นไป เริ่มดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน             

  • เริ่มจากการนำให้ลูกมีส่วนร่วมในการลงมือทำกิจวัตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนจบกระบวนการ
  • ในระยะแรกของการฝึกฝน อาจต้องจับทำ บอกบทให้ทำ จากนั้นจะค่อย ๆ ลดการช่วยลงทีละน้อย และกระตุ้นให้ลูกทำด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด จนในที่สุดจึงปล่อยให้ลูกทำเองตั้งแต่ต้นจนจบ

3: เริ่มสอนลูกอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้มีส่วนช่วยทำงานบ้านเพื่อเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของครอบครัว  

  • นำลูกให้เริ่มมีส่วนช่วยงานบ้านตามวัย โดยให้รับผิดชอบงานบ้านที่เกี่ยวข้องกับตนเอง และผสมผสานการดูแลสมาชิกในบ้านไปด้วย
  • เริ่มจากงานง่าย ๆ ที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน ทำได้ง่ายตามวัย เช่น ล้างจาน  ซักผ้า เก็บผ้า พับผ้า จัดโต๊ะอาหาร จากนั้นจึงค่อย ๆ ขยายสู่งานที่ยากหรือซับซ้อนขึ้นตามความสามารถของลูก ถือเป็นโครงการระยะยาว และเป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้เวลาร่วมกันกับลูก
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการลงมือทำมากกว่าผลสำเร็จ
  • ชวนลูกทำอย่างต่อเนื่องจนลูกจะทำได้เอง
  • ชื่นชมในความพยายามของลูก แม้ผลงานจะไม่เรียบร้อยก็ไม่เป็นไร

4. สอนมารยาทและแทรกกติกาง่าย ๆ ตามวัย

  • เมื่อลูกอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถแทรกการชี้แนะได้ ควรแทรกการชี้แนะด้วยการบอกลูกให้ชัดเจน เห็นเป็นรูปธรรมว่า
  • ลูกควรพูดอย่างไรในสถานการณ์นั้น ๆ และ
  • ลูกควรปฏิบัติตัวอย่างไรในสถานการณ์ดังกล่าว

โปรดติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของแนวทางที่ 5 ถึง 8 ในตอนต่อไป

8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 3 | แนวทางที่ 5 ถึง 8) | บ้านอุ่นรัก

8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก ลูกสมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น (ตอนที่ 1) | บ้านอุ่นรัก

ลูกที่อยู่ในวัยประถมจนถึงช่วงย่างเข้าสู่วัยรุ่น เป็นช่วงวัยรอยต่อที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเลี้ยงดูอย่างมีแนวทางที่ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อสามารถส่งต่อการเจริญเติบโต ตลอดจนสร้างเสริมพัฒนาการของลูกให้ก้าวหน้าขึ้นไปได้ตามลำดับ

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่กำลังมองหาแนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก สมาธิสั้น ที่อยู่ในวัยประถมถึงวัยรุ่น ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ “บ้านอุ่นรัก” ขอเสนอภาพรวมของ “ 8 แนวทางการเลี้ยงดูลูกออทิสติก สมาธิสั้น ในวัยประถมถึงวัยรุ่น” ดังนี้ คือ

1: วางโครงสร้างในชีวิตประจำวันของลูกให้ชัดเจนและหลากหลาย ครอบคลุมหัวข้อที่จะส่งเสริมพัฒนาการ

2: ตั้งเป้าหมายให้ลูกวัย 7 ปีขึ้นไป เริ่มดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน

3: เริ่มสอนลูกอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้มีส่วนช่วยทำงานบ้านเพื่อเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของครอบครัว

4. สอนมารยาทและแทรกกติกาง่าย ๆ ตามวัย

5. สอนลูกดูแลด้านร่างกายที่เริ่มเปลี่ยนแปลง

6. สอนพฤติกรรมทางเพศ

7. สอนวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์

8. สอนลูกทำงานอดิเรกที่มีรูปแบบเหมาะสม เพื่อลูกได้ใช้เวลาทำกิจกรรมที่ชอบ ตลอดจนหาทางต่อยอดสู่อาชีพ

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมของแนวทางแต่ละข้อ โปรดติดตามได้ในตอนถัดไป