บำบัดลูกที่บ้าน คือ New Normal ที่ช่วยให้เราสามารถตั้งการ์ดรับ กับทุกวิกฤตได้ | บ้านอุ่นรัก

บำบัดลูกที่บ้าน คือ New Normal ที่ช่วยให้เราสามารถตั้งการ์ดรับ กับทุกวิกฤตได้ | บ้านอุ่นรัก

จากภาวะไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด เราได้เรียนรู้ New Normal เรื่องปกติใหม่ ๆ ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ อย่าง เช่น การใส่หน้ากากผ้า-หน้ากากอนามัย การล้างมืออย่างถูกวิธี การกินร้อนใช้ช้อนตนเอง และการรักษาระยะห่างทางสังคม เป็นต้น ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็ล้วนเป็นเรื่องที่เราแต่ละคนต้องเป็นคนเริ่มต้นและลงมือทำ จึงจะสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับตนเองและคนรอบข้างได้

สำหรับ New Normal ที่ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการ “บ้านอุ่นรัก” ต้องการส่งเสริมให้เกิดในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง คือ “การสร้างทีมครอบครัวบำบัด” ที่เน้นให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวที่มีความพร้อม ได้เข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังในการช่วยกันดูแลและสร้างเสริมพัฒนาการให้กับลูกที่มีปัญหาด้านพัฒนาการด้วยตนเองที่บ้าน

ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานด้านการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กมีพัฒนาการช้าไม่สมวัย มานาน 28 ปี “บ้านอุ่นรัก” พบว่ามีพ่อแม่ผู้ปกครองและสมาชิกในบ้านของหลายครอบครัว เริ่มต้นและลงมือช่วยลูกจริงจังอย่างถูกวิธีด้วยตนเองที่บ้าน และพวกเขาสามารถพลิกพัฒนาการของลูกได้จริง อีกทั้งพัฒนาการของลูกในครอบครัวเหล่านั้น ไม่เพียงแต่จะคืบหน้าอย่างรวดเร็วจนเห็นได้ชัด แต่ยังเป็นความคืบหน้าที่มั่นคงและยั่งยืนด้วย

รีบ! ใช้โอกาสนี้ ที่เราจำต้องล็อคดาวน์ลูกอยู่ที่บ้าน ในการเรียนรู้และสร้างทีมครอบครัวบำบัด ให้กลายมาเป็น New Normal ที่จะส่งผลให้คนที่บ้านค้นพบศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และใช้ “การบำบัดลูกที่บ้าน” เป็นการ์ดตั้งรับกับทุกวิกฤตนับจากนี้ไป

สนใจเรียนรู้กับ “ครูนิ่มและทีมครูบ้านอุ่นรัก” เกี่ยวกับแนวทางการบำบัดลูกที่บ้าน และการสร้างทีมครอบครัวบำบัด โปรดติดต่อเรา

ช่องทางการเรียนรู้

1: เรียนคอร์สออนไลน์ By ครูนิ่ม

  1. เคล็ดลับการเลี้ยงดูเด็กออทิสติกให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง
  2. เตรียมลูกออทิสติกวัยอนุบาลให้พร้อมก่อนเข้าโรงเรียน

คลิกลิงค์ข้างล่างนี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

https://edumall.co.th/catalogsearch/result?q=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2&type=course

https://www.skilllane.com/courses/raising-children-with-autism

2: ให้ “ทีมครูบ้านอุ่นรัก” เป็นที่ปรึกษาช่วยวางแผนการสอนประจำบ้าน ติดต่อเรา

3: สั่งซื้อสมุดภาพตัวอย่างกิจกรรม ทำง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน ติดต่อเรา

คลิกลิงค์ข้างล่างนี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.facebook.com/baan.aunrak/posts/2884839388278380?__xts__[0]=68.ARD8kGmGc7YJYezURxM5jYjCliruKnFT1xqDuAaJTzCFvNU7aI8JNXg7y7bhRN5RJOqGO_c4Qd4kwXnQ9451JzJ13X1ePKBTp7zzyg-2IUJFfdreswWPYt7Il7kKfPh5TmsgYgo0XapHiFnuz6UUr_W_J-DoXTCI86UaEqCD9LIMJ24C5q84ecbkFhscnbLR_eD0Hp3_E3Lev7zdXWwdnrgy8keB0J0k8GOpYcKzR6wpRfQAL7HoSZCAXWeIR2iwO-9GVjfn-F66gcBz-hefaezv-FJtdrJlYOIXVdYiEw60_qiec8kIWnOrHFjBuRZNUy72MJI0jZCNDCnQ8fvoPuax&__tn__=-R

บ้านอุ่นรักสวนสยาม : โทร: 086 775 9656 | Line ID: 0867759656

บ้านอุ่นรักธนบุรี : โทร: 087 502 5261 | Line ID: 028858720

อีเมล: Baan_Aunrak@Hotmail.com

เครดิตภาพ: PowerPoint Design Ideas

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 7) | บ้านอุ่นรัก

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 7) | บ้านอุ่นรัก

ตอน…รับมือด้วยกิจกรรม

อาการหลัก ๆ ของโรคสมาธิสั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกมีช่วงการคงสมาธิสั้น ซนอยู่ไม่สุข และอาจหุนหันพลันแล่นแบบ Fast and Furious ค่ะ

แต่ไม่เป็นไร ขอให้คุณแม่ คุณพ่อ ผู้ปกครอง ทำใจเย็น ๆ และคิดบวกว่าทุกปัญหามีทางแก้ไข เพียงเราเรียนรู้วิธีรับมือและแก้ไขปัญหาให้ถูกวิธี ลูกสมาธิสั้นก็จะมี “มือโปรประจำบ้าน” คอยช่วยนำทางค่ะ

การรับมือในตอนท้ายนี้ “บ้านอุ่นรัก” ขอแนะนำให้ลูกทำกิจกรรมค่ะ

  • ให้ทำกิจกรรมฝึกการคงสมาธิ เช่น กิจกรรมที่อาศัยการลงมือทำ กิจกรรมฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก กิจกรรมศิลปะ เพื่อฝึกช่วงการคงสมาธิ
  • ให้ทำกิจกรรมที่ฝึกการลงมือทำงานแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้ได้จำนวนชิ้นงานที่เหมาะสมกับวัย เช่น 10 ชิ้น 15 ชิ้น หรือ 20 ชิ้น ตามอายุ โดยใช้ระยะเวลาการทำที่เหมาะสมกับงาน และลงมือทำแบบไม่ละความสนใจกลางคันและไม่ยืดเยื้อ
  • หากมีกิจกรรมหรือแบบฝึกหัดจำนวนมาก ซับซ้อนไปสักนิด หรือยุ่งยากเกินระดับที่ลูกจะทำได้ เราควรแบ่งเนื้องานออกเป็นหลายส่วน ให้ลูกลงมือทำหลาย ๆ ครั้ง ทั้งนี้ ควรกำหนดจากเวลาหรือระยะการตั้งสมาธิพื้นฐานตามปกติที่เด็ก ๆ ทำได้
  • หากงานนั้น ๆ มีความซับซ้อน มีความยาก เราอาจแบ่งช่วงเวลาทำงานเป็นช่วงสั้น ๆ หรือแบ่งให้ทำงานทีละส่วน เช่น เริ่มจากทำต่อเนื่องครั้งละ 10-15 นาที และนำมาผลงานมาส่ง เพื่อผู้ใหญ่ช่วยกำกับให้ทำต่อจนทำสำเร็จได้ทีละส่วน

ลองให้ลูกลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้นกันดูสักตั้งนะคะ ทำแบบไม่ถอดใจ และทำกันเป็นทีม แล้วคุณแม่ คุณพ่อ ผู้ปกครอง ก็จะพบว่า “มือโปรประจำบ้านทุก ๆ ท่าน” ช่วยลูกสมาธิสั้นให้มีพัฒนาการรอบด้านที่ดีและสมวัยมากขึ้นได้ด้วยมือของท่านเอง

“บ้านอุ่นรัก” จะอยู่กับท่าน เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน เป็นเพื่อนคู่คิด และคอยชื่นชมความสำเร็จของท่านและลูก ๆ เสมอค่ะ

เครดิตภาพ: Nathan Bingle + Tyler Nix | Unsplash

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 6) | บ้านอุ่นรัก

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 6) | บ้านอุ่นรัก

ตอน…ลูกชอบให้เราบอกลูกดี ๆ

แม้ลูกเป็นเด็ก แต่ลูกก็มีหัวจิตหัวใจและอารมณ์ไม่ต่างจากเราที่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น คำพูดบางประเภทของเรา โดยเฉพาะการพูดตำหนิ ติเตียน หรือดุว่าลูกแรง ๆ ก็อาจเป็นสาเหตุที่จะทำให้ลูกเสียใจและอารมณ์ บ่ จอย ได้เช่นกันค่ะ เพราะฉะนั้น เราควรต้องปรับวิธีการพูดและน้ำเสียงของเรากันสักนิดนึง เพื่อให้ลูกรับฟังเรา เรียนรู้ เข้าใจสิ่งที่เราบอก และรู้สึกดีที่ได้สื่อสารกับเราและได้รับฟังคำพูดแบบภาษาดอกไม้ของเราค่ะ

  • เลี่ยงการตำหนิ ดุว่า หรือการใช้คำพูดตีตรา เช่น เลี่ยงการใช้คำพูดว่าเด็กพิเศษ สมาธิสั้น ซน โดยเฉพาะการดุลูกในกลุ่มคน
  • หากจำเป็นต้องเตือนหรือดุ ควรเตือนโดยระบุเฉพาะพฤติกรรม เช่น ขอให้นั่งกับที่ไม่ลุกเดิน ขอให้ยกมือก่อนตอบ
  • ในกรณีที่เลี่ยงไม่ได้และจำเป็นต้องเตือนทันที ควรเตือนโดยระบุเฉพาะพฤติกรรมที่ต้องการเห็น ต้องการให้ทำ ด้วยประโยคสั้น ๆ ที่ลูกเข้าใจโดยง่าย
  • เลี่ยงการกล่าวพาดพิงถึงลูกเป็นการส่วนตัวหรือการกล่าวถึงลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพของลูก เช่น ขอให้ทำการบ้านให้เสร็จและส่งภายในเวลา…. ขอให้นั่งกับที่ไม่ลุกเดิน ขอให้ยกมือก่อนและรอฟังคู่สนทนาพูดให้จบก่อน ไม่พูดแทรก
  • พูดชมทุกครั้งที่พบว่าลูกทำสิ่งที่ดี แม้เพียงเล็กน้อย เพื่อสร้างความมั่นใจ กระตุ้นให้ลูกทำสิ่งดี ๆ นั้นอีก และรู้สึกดีต่อสิ่งที่ตนพยายามทำหรือทำได้สำเร็จ
  • สร้างและหาโอกาสให้ลูกได้รับผิดชอบ ได้ช่วยงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามวัยที่ลูกพอจะทำได้ ได้ช่วยเหลือในเรื่องที่ไม่ซับซ้อน เพื่อสร้างโอกาสให้ลูกได้รับคำชมเชยจนเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกดีต่อตนเองในทิศทางที่เราต้องการ

เรามาทดแทนการพูดตำหนิ ติเตียน ดุกล่าว ตะคอก หรือพูดด้วยน้ำเสียงที่ประชดประชันเสียดสี มาเป็นการบอกลูกดี ๆ บอกสั้น ๆ และใช้คำพูดกระชับที่แฝงไปด้วยความเมตตาว่าลูกควรทำอะไร เพียงเท่านี้ ลูกก็จะรับฟังเรา เข้าใจสิ่งที่เราต้องการให้ลูกทำ ทำได้ รู้สึกดีกับเรา และเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเองค่ะ

เครดิตภาพ: Nathan Bingle + Tyler Nix | Unsplash

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 5) | บ้านอุ่นรัก

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 5) | บ้านอุ่นรัก

ตอน…ยอมรับกติกาตามวัย

การช่วยให้ลูกสมาธิสั้นมีพัฒนาการที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นพร้อม ๆ กับได้เรียนรู้วิธีใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับบุคคลอื่นที่บ้านหรือในสังคมวงกว้างขึ้นให้ปกติสุขมากขึ้นได้นั้น คุณแม่ คุณพ่อ ผู้ปกครอง ลองเริ่มต้นที่การฝึกฝนให้เด็ก ๆ “ยอมรับกติกาตามวัย” กันนะคะ

  • ตั้งกติกาตามวัย คุยกับลูกโดยใช้ข้อตกลง คุยกันในทุกสถานการณ์ที่ทำได้ เช่น ข้อตกลงก่อนไปร้านสะดวกซื้อเพื่อซื้อขนมว่าจะซื้อกี่ชิ้น ข้อตกลงก่อนไปเล่นสนามเด็กเล่นว่าจะรอคิวไม่แซงเพื่อน ข้อตกลงเวลาไปเดินเล่นว่าเดินข้าง ๆ จับมือแม่ ไม่วิ่งนำหน้าแม่ ข้อตกลงก่อนได้ขี่จักรยานนอกบ้านว่าต้องขี่จักรยานชิดด้านซ้ายของขอบถนน ฯลฯ
  • ฝึกการรอคอยแทรกในทุกสถานการณ์ที่ทำได้ เช่น ฝึกให้นั่งรอแม่สักครู่ก่อนออกไปเดินเล่น นับเลขรอแม่ขณะแม่ชงนมให้ ยืนรอขณะแม่ทำเครื่องดื่มให้ โดยไม่รีบให้ทันที
  • หากลูกมีพฤติกรรมปฏิเสธกิจกรรมหรือเลี่ยงกติกา เราอาจลดการพูดให้คำสั่งและเปลี่ยนท่าทีของเราเป็นการแตะนำ หรือเบี่ยงเบนก่อนนำให้ลูกลงมือปฏิบัติให้เสร็จ แทนการพูดใช้คำสั่ง
  • ไม่ปล่อยผ่านพฤติกรรมที่เกินกว่าเหตุ มีการคุยกันหลังเหตุการณ์สงบ และให้ลูกร่วมรับผิดชอบผลที่ตนกระทำไป การทำแบบนี้จะช่วยย้ำเตือนให้ลูกยอมรับกติกาตามวัยในครั้งต่อ ๆ ไปได้ดีขึ้นค่ะ

การยอมรับกติกาตามวัยไม่ใช่เป็นเรื่องของผู้ใหญ่แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ยังเป็นเรื่องที่เด็กต้องเรียนรู้และทำด้วยค่ะ  คำว่า “ยอมรับกติกา” อาจฟังดูว่าทำได้ยากโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ แต่อันที่จริง เด็กฝึกฝนและทำได้ค่ะ ขอให้ไว้ใจในศักยภาพและความสามารถของลูกและเชื่อใจว่าลูกทำได้ ส่วนคุณแม่ คุณพ่อ และทีมครอบครัว ก็ต้องไม่ท้อถอย ต้องร่วมแรงร่วมใจกันประคับประคองและสอนลูกด้วยใจที่เบิกบาน เมื่อทุกคนในทีมทำเหมือน ๆ กัน อีกไม่ช้าไม่นาน ลูกตัวน้อยก็จะเริ่มเรียนรู้ และค่อย ๆ ยอมรับกติกาตามวัยได้ตามลำดับค่ะ

เครดิตภาพ: Nathan Bingle + Tyler Nix | Unsplash

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 4) | บ้านอุ่นรัก

รับมืออาการสมาธิสั้นของลูก อย่างมีชั้นเชิง (ตอนที่ 4) | บ้านอุ่นรัก

ตอน…เคลื่อนไหวให้สมดุล

คุณแม่ คุณพ่อ ผู้ปกครอง และทุกท่าน คงจัดระเบียบและระบบรอไว้เรียบร้อยแล้วตามวิธีที่ “บ้านอุ่นรัก” ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ ส่วนในตอนนี้ เรามาชวนลูกเคลื่อนไหวร่างกายให้สมดุลกันนะคะ และความสมดุลที่ว่านี้ คือ ระดับการเคลื่อนไหวและสงบของลูกที่ต้องสมดุลกันค่ะ

  • ถ้าลูกซนอยู่ไม่สุข วิ่งเล่นไป ๆ มา ๆ อยู่เสมอ ชอบปีนป่าย และกระโดดอยู่เกือบตลอดเวลา เราควรชวนลูกนั่งพักในที่ ๆ สงบ ชวนอ่านหนังสือ ร้องเพลง หรือนวดเบา ๆ เพื่อสลับโทนการเคลื่อนไหว
  • หากลูกมักเหม่อลอย ละความสนใจโดยง่าย เฉื่อย ๆ เฉย ๆ ไม่ชอบเคลื่อนไหว และชอบอยู่กับที่นาน ๆ ควรชวนวิ่งเล่น เตะบอล เต้นประกอบเพลง เพื่อให้กระตือรือร้นมากขึ้น
  • จับตาดูอยู่ห่าง ๆ และเตือนลูกให้เคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะจะโคน มีสมดุล ลดความรนรีบ เช่น เตือนให้เดินมาหาแม่แทนการวิ่ง เตือนให้ตามองตามมือ-เท้าขณะทำกิจกรรม เตือนให้ขึ้น-ลงบันไดช้า ๆ โดยตามองทาง เตือนให้ระบายสีช้า ๆ มีจังหวะจะโคน เตือนให้ตามองตามมือที่ระบายสีแทนการระบายสีแบบรนรีบ รวดเร็ว และรุนแรง
  • จับตาดูอยู่ห่าง ๆ และหากจำเป็นควรเตือนให้ลูกทำกิจวัตรต่าง ๆ แบบรวดเดียวจบเพื่อแก้ไขการละความสนใจหรือการหันเหความสนใจกลางคัน

การจัดสมดุลการเคลื่อนไหวของลูกนี้จะทำให้ลูกค่อย ๆ มีช่วงการคงสมาธิที่ยาวนานขึ้น ลดความซุกซนอยู่ไม่สุข และช่วยบรรเทาอาการหุนหันพลันแล่นให้ลดน้อยลงได้ ลองทำดูนะคะ

เครดิตภาพ: Nathan Bingle + Tyler Nix | Unsplash