หากเราทำความเข้าใจอย่างแท้จริง และมีการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้อง อาการออทิสติก ไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด
หากมีความเข้าใจในโรคและอาการของโรคนี้มากเพียงพอ ก็จะสามารถรับมือและหาวิธีการอยู่ร่วม รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับบุคคลปกติทั่วไปได้ไม่ยาก ที่สำคัญคือ การค้นพบอาการตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเริ่มต้นการบำบัดอาการให้ทุเลาลง ซึ่งวันนี้ บ้านอุ่นรัก ขอนำเสนอ 4 วิธีการง่ายๆ ในการตรวจเช็คเบื้องต้น สำหรับการสังเกตอาการและข้อบ่งชี้อาการออทิสติกของลูกน้อย โดยหากพบมากกว่า 2 ด้าน !!!!! ควรรีบไปปรึกษาแพทย์นะคะ
1. ความไม่สมวัยด้านสังคมและปฏิสัมพันธ์แบบสองทาง
- เลี่ยงการสบตา
- ไม่สนใจสานต่อปฎิสัมพันธ์แบบสองทางกับบุคคล ทั้งกับบุคคลใกล้ชิด และเด็กวัยเดียวกัน
- มักจะแยกตัว ชอบเลี่ยงออกไปเล่นคนเดียวในแบบของตนเอง
- ขาดการชี้ชวนออดอ้อนพยักพเยิด ไม่สานต่อหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางอารมณ์กับบุคลใกล้ชิด
- ไม่สนใจเลียนแบบท่าทาง การกระทำ หรือการพูดจากบุคคลรอบตัว
2. ภาษา/การสื่อความหมาย : ลักษณะการพูดและการสื่อความหมายไม่สมวัย
- เริ่มพูดเพื่อสื่อความต้องการ ได้ช้ากว่าวัย (พูดช้ากว่า 2 ขวบ)
- สานต่อ การสนทนา ไม่ได้
- การแสดงออกทางแววตา/สีหน้า/ท่าทาง สื่อความหมายได้จำกัด
3. พฤติกรรม
- ติดรูปแบบในการดำรงชีวิต ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
- บางรายมีการเคลื่อนไหวอวัยวะซ้ำ (กระตุ้นระบบการรับสัมผัส)
- หมกมุ่นกับสิ่งของเฉพาะอย่างเป็นพิเศษ
- เล่นเป็นรูปแบบซ้ำๆ หรือมีวิธีเล่นเฉพาะตัว ขาดการเล่นแบบสำรวจทดลองหรือ ใช้จินตนาการ
- สนใจและตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัวอย่างจำกัด
- ระดับการเคลื่อนไหวไม่สมดุล (ซนอยู่ไม่สุข/ เฉื่อย ไม่ชอบเคลื่อนไหว)
4. อารมณ์
- ดูเหมือนเปลี่ยนแปลงง่าย วิตกกังวลสูง อารมณ์กวัดแกว่ง หงุดหงิดรุนแรง เพราะการรับรู้ไว ตื่นตัวถูกรบกวนจากประสาทสัมผัส กลัว/เลี่ยงหนีหรือเข้าหา หมกมุ่นกับสิ่งเร้าบางอย่างเป็นพิเศษ
สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครอง ที่ต้องการคำปรึกษา หรือพูดคุยกับพวกเรา สามารถโทรติดต่อหรือนัดหมายเข้ามาพบหรือพาลูกมาประเมิน เพื่อปรึกษาวางแนวการดูแล ได้ที่บ้านอุ่นรัก สาขาที่ท่านสะดวกค่ะ