▶️9.ใช้การเสริมแรง 🍭 (Reinforcement) (เช่น คำชม รางวัล ให้ดาวความดี) เพื่อกระตุ้นให้เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ข้อควรจำ: 🐷🐖
↪-ในกรณีที่เราสัญญากับเด็กว่าเราจะให้รางวัล เราต้องทำตามสัญญาเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
↪-เราต้องสามารถหยุดการต่อรองในกรณีที่เด็กมีการต่อรองเรื่องสิ่งตอบแทนหรือรางวัลที่ต้องการได้รับ ทั้งนี้ เราอาจให้ทางเลือกแก่เด็กเพื่อลดข้อโต้แย้งเรื่องของรางวัล แต่ต้องไม่เกิน 2-4 ตัวเลือก เพราะเด็กอาจสับสนและเลือกไม่ถูกหากมีตัวเลือกมากมายเกินไป
↪-รางวัลที่ให้เป็นสิ่งที่เด็กชอบ
↪-เราจะค่อย ๆ ลดการให้แรงเสริม เช่น รางวัล หรือคำชมลง จนกระทั่งไม่ต้องให้อีกเลย เมื่อเด็กเกิดพฤติกรรมทางบวกจนเป็นนิสัยแล้ว
ตัวอย่าง: แม่จะคุยโทรศัพท์ 5 นาที ในระหว่างที่แม่โทรศัพท์ ลูกต้องเล่นเงียบ ๆ ถ้าลูกทำได้ เมื่อแม่คุยโทรศัพท์เสร็จ แม่จะเล่นกับลูกค่ะ (รางวัลในที่นี้คือแม่จะเล่นกับลูก)
▶️10.ทำข้อตกลงที่ทำร่วมกันมีความชัดเจนว่า✏เราจะทำอะไร ✏อะไรเกิดก่อน-หลัง ✏และหากเด็กทำได้ตามข้อตกลง เด็กจะได้อะไรเป็นรางวัล
ตัวอย่างสถานการณ์😭: ลูกโกรธและโวยวายทุกครั้ง หากไปร้านขายของแต่แม่ไม่อนุญาตให้ลูกเดินไปดูของเล่นที่แผนกของเล่น
🚩ตัวอย่างการทำข้อตกลง:🏪 ก่อนไปร้านขายของ แม่บอกลูกว่า “วันนี้เราจะไปซื้อปากกา 🖋🖊ที่ร้านขายของ เมื่อเราซื้อปากกาเสร็จ เราจะไปจ่ายเงิน จากนั้น เราจะกลับบ้านกันค่ะ ✔ถ้าลูกทำตามนี้ได้ ✅ลูกจะได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนันที่ลูกชอบ 1 ตอนเมื่อเรากลับถึงบ้าน”
🔅🔅: เมื่อไปถึงร้านขายของ แม่จะบอกลูกอีกครั้งว่า “ตอนนี้ เราจะเข้าไปในร้านขายของ ไปซื้อปากกา ไปจ่ายเงิน และเราจะกลับบ้าน ✔ถ้าลูกทำตามนี้ได้ ลูกจะได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนันที่ลูกชอบ 1 ตอนเมื่อเรากลับถึงบ้าน”
😉 ข้อควรจำเรื่องการให้รางวัล:
✅เราควรกล่าวทวนสิ่งที่เด็กทำได้ตามข้อตกลงก่อนให้รางวัล
ตัวอย่างการกล่าวทวนความ: เมื่อกลับเข้าบ้าน แม่พูดว่า👩🏭 “วันนี้แม่ดีใจมากที่ลูกทำได้ตามข้อตกลงของเรา คือ เราไปร้านขายของ ไปซื้อปากกา จ่ายเงิน และกลับบ้าน เพราะฉะนั้นตอนนี้ลูกได้ดูการ์ตูนเรื่องโคนัน 1ตอน
🤩-เราอาจให้เด็กเลือกของรางวัลด้วยตนเองหรือให้ทางเลือกว่าเด็กต้องการเลือกรางวัลใดระหว่าง 1 หรือ 2 แต่อย่าให้ตัวเลือกมากจนเกินไปเพราะเด็กจะตัดสินใจไม่ได้
😍-เราจะค่อย ๆ ลดการให้รางวัลจนกระทั่งไม่ต้องให้รางวัลอีกเลยเมื่อเด็กทำพฤติกรรมทางบวกจนเป็นนิสัยได้แล้ว