รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ ได้เขียนบทความวิชาการ หัวข้อ “เด็กพูดช้า” ไว้ในจุลสาร “สื่อสารกุมารแพทย์” ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจโดยสรุป ดังนี้
ปัญหาเด็กพูดช้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ จึงเป็นหน้าที่ของกุมารแพทย์ในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาในเด็ก ตรวจวินิจฉัย และแก้ไขปัญหาเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยและป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมา เพราะเมื่อติดตามในระยะยาว เด็กพูดช้าอาจมีปัญหาการอ่าน การเขียน การเรียนรู้ การเข้าสังคม ปัญหาพฤติกรรม และปัญหาทางอารมณ์เมื่อโตขึ้น
พัฒนาการทางการพูดสื่อสารในเด็ก เด็กแรกเกิดจนกระทั่งถึง 6 ปี ควรมีการรับรู้ภาษา การพูด หรือการแสดงออกอย่างไร
การเฝ้าระวังติดตามและตรวจคัดกรอง ควรทำทุกครั้งที่พ่อแม่ผู้ปกครองได้พาเด็กมาพบแพทย์
ควรสงสัยว่าเด็กมีปัญหาทางการพูดเมื่อใด ถ้าสังเกตให้ดี เด็กอาจมีพฤติกรรมที่แสดงว่าอาจมีปัญหาในการพูดตั้งแต่ขวบปีแรก ซึ่งรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ ได้ระบุข้อบ่งชี้ง่าย ๆ ในการสังเกตว่าเด็กอาจมีปัญหาในการพูดหรือไม่ ไว้ในบทความนี้ด้วย
สาเหตุของเด็กพูดช้า
- ปัญหาการได้ยิน (hearing problems) จากภาวะต่าง ๆ
- ความผิดปกติของการทำงานของสมองจากสาเหตุต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนคลอด ขณะคลอด และหลังคลอด
- ความผิดปกติของอวัยวะที่ใช้ในการเปล่งเสียงพูด
- สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมและไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางการพูดและการใช้ภาษา
- Autism ออทิซึม
- Specific language impairment (SLI) หรือเด็กมีความบกพร่องในการเข้าใจหรือใช้ภาษา ทั้งภาษาพูดและท่าทาง การเข้าใจคำศัพท์ ความหมายของคำ รูปประโยค ไวยากรณ์
การตรวจและวินิจฉัย
- ซักประวัติอย่างละเอียด
- ตรวจร่างกายและพัฒนาการ
- Formal Audiologic Examination (ตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน) ในกรณีที่สงสัยว่าเด็กมีปัญหาการได้ยิน
หากพัฒนาการช้าหลายด้านหรือสงสัยว่าสติปัญญาบกพร่อง หรือ มีพัฒนาการถดถอย ควรส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเพิ่มเติมโดยละเอียดต่อไป
การดูแลรักษา ใช้หลัก
EARLY IDENTIFICATION ตรวจโดยเร็วที่สุดเพื่อหาสาเหตุของการพูดช้าให้พบ
EARLY INTERVENTION แทรกแซงเพื่อกระตุ้นการพูดให้เร็วที่สุด
EARLY REFERAL ส่งต่อไปยังทีมแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อช่วยแก้ปัญหาการพูดช้าให้เร็วที่สุด
คลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านจุลสารและบทความฉบับเด็ม
http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20181220121505.pdf
เนื่องจากการพูดเป็นรูปแบบการสื่อสารกับผู้อื่นที่มีความสำคัญ ปัญหาเด็กพูดช้าจึงต้องได้รับการดูแลและแก้ไขให้ถูกต้องเสียแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่เด็กจะมีปัญหาการอ่าน การเขียน การเรียนรู้ การเข้าสังคม ปัญหาพฤติกรรม และปัญหาทางอารมณ์ตามมา
เครดิตข้อมูล: จุลสาร “สื่อสารกุมารแพทย์” จุลสารราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2561 หน้า 4-6
เครดิตภาพ: Unsplash | Alexander Schimmeck