คุณแม่ คุณพ่อ ผู้ปกครอง คงจะทราบกันดีแล้วว่าในวัยเด็กเล็ก (ลูกหลานวัยแรกเกิดถึงสามขวบ) เป็นช่วงวัยที่สมองของเด็ก ๆ มีการพัฒนาสูงสุด ดังนั้น ในช่วงวัยนี้ของลูกหลาน เราต้องไม่รอช้าที่จะช่วยกันสร้างเสริมพัฒนาการด้านสมองให้กับพวกเขา ซึ่งเราสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการชวนลูกเล่นแล้วแอบแทรกเงื่อนไขให้ลูกรู้จักการรอคอยและยอมรับกติกาง่าย ๆ ตามวัยแบบไม่ให้ลูกรู้ตัว ชวนสบตา ชวนพูดคุย ชวนเล่นเชิงจินตนาการ ชวนลูกอ่าน ชวนลูกขีด ๆ เขียน ๆ ชวนลูกทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางบวก พากย์สิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นให้ลูกฟัง สอนลูกเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่หรือพบรอบตัวในชีวิตประจำวัน หรือขวนลูกฝึกการควบคุมอารมณ์อยากได้ อยากเอา ของตนเอง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า กิจกรรมที่มีส่วนช่วยก่อร่างสร้างฐานพัฒนาการทางสมองที่ดีให้กับลูกหลานวัยเด็กเล็กมีอยู่มากมาย ซึ่งเราสามารถใช้ “การเล่น” มาเป็นแกนกลางในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ และกระตุ้นให้ลูกหลานอยากเข้ามามีส่วนในการทำร่วมไปกับเรา แต่!!!!…เดี๋ยวก่อน….มีกิจกรรมอะไรบ้างนะที่พวกหนูน้อยมักจะชอบทำกันในตอนนี้ แต่เราก็ไม่ควรปล่อยให้พวกเขาทำ ทั้งนี้เพราะหากทำแล้วอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองของพวกเขามากกว่าประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับเสียอีก?

กิจกรรมประเภทหนึ่งที่เราไม่ควรปล่อยให้ลูกหลานวัยเด็กเล็กทำโดยลำพังในระยะเวลาที่นานติดต่อกันนานจนเกินไป คือ การดูยูทูป ทั้งนี้ หากจะให้เด็กดูยูทูปหรือใช้สื่อดิจิทัล เราควรจะรอให้เด็ก ๆ โตกว่านี้อีกสักหน่อย และใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมีเงื่อนไขและมีผู้ใหญ่แอบจับตาดูอยู่ห่าง ๆ ตลอดจนคอยให้คำแนะนำตามสถานการณ์ที่เหมาะสมค่ะ

ทำไม…เราจึงต้องกล่าวเช่นนั้น มาอ่านบทความข้างล่างจาก “ไลน์ ทูเดย์” เพื่อทราบคำตอบที่ว่า “ทำไมเราจึงไม่ควรปล่อยลูกหลานวัยเด็กเล็กให้อยู่กับพี่เลี้ยงยูทูป” กันค่ะ

กดที่ลิงค์เพื่ออ่านบทความจากไลน์ ทูเดย์

https://today.line.me/TH/pc/article/7gX7Ym?utm_source=lineshare

สำหรับเรื่องสื่อดิจิทัลนี้ “บ้านอุ่นรัก” เชื่อว่าสื่อดิจิทัลทุกประเภท รวมทั้งยูทูป ก็มีข้อดีสำหรับเด็ก ๆ อยู่ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่ที่การเลือกใช้ แต่เพราะเด็กเล็ก ๆ ยังเลือกใช้เองไม่เป็นและไม่ถูก เราจึงต้องช่วยเลือกให้พวกเขา และเราต้องเลือกให้ดีทั้งในแง่ของเวลาที่เด็กควรเริ่มใช้ ระยะเวลาที่ควรใช้ และสถานการณ์ที่ถูกต้องพอเหมาะพอควรที่ควรใช้ค่ะ หากเราเลือกได้ดี เด็ก ๆ ก็ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สื่อเหล่านั้นได้อย่างแน่นอนค่ะ

เครดิตข้อมูล: Line Today

เครดิตภาพ: Hal Gatewood | Unsplash