EP 6: กิจกรรมเคาะจังหวะ

สำหรับการทำกิจกรรมเคาะจังหวะนี้ เราต้องให้เด็กนั่งเก้าอี้ตรงกันข้ามกับผู้สอน ให้เด็กถือเครื่องเคาะทีละชิ้น และฝึกเคาะ เขย่า บีบ ประกอบเสียงเพลงที่ผู้สอนร้องให้เป็นจังหวะ อย่างไรก็ตาม เราควรมีการสลับเครื่องเคาะ 2-3 อย่างต่อการฝึก แต่ก็ไม่ควรสลับเครื่องเคาะมากชิ้นจนเกินไป

เมื่อได้ชม EP 6 นี้ เราก็จะได้เกร็ดความรู้หลาย ๆ อย่าง เช่น

…ในช่วงแรก ๆ ของการฝึก เราอาจต้องจับมือเด็กเพื่อหัดให้เด็กถือเครื่องเคาะ และอาจปล่อยให้เด็กได้เคาะ ตี เขย่า เครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตามใจชอบบ้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความสนุก

…ในขณะเคาะจังหวะ ผู้สอนต้องกระตุ้นเรียกชื่อเด็กเป็นระยะ ๆ ตลอดจนมีการออกเสียงเรียกชื่ออุปกรณ์ และยื่นอุปกรณ์หรือเครื่องเคาะให้เด็กทีละอย่าง เพื่อกระตุ้นให้เด็กพยายามออกเสียงตามในการเรียกชื่อเครื่องดนตรีด้วย

…การสลับหรือแลกอุปกรณ์เครื่องเคาะ จะแลกกับผู้สอนหรือแลกกับเพื่อนที่เรียนอยู่ด้วยกันในกลุ่มก็ได้

…ผู้สอนพยายามยกอุปกรณ์การสอนให้อยู่ในระดับสายตาและเรียกชื่อเด็กเป็นระยะ เพื่อกระตุ้นการสบตาและกระตุ้นความสนใจของเด็ก

การทำกิจกรรมพื่อพัฒนาทักษะให้กับเด็ก ๆ ขอให้เราเน้นการฝึกฝนที่สม่ำเสมอเป็นสำคัญด้วยนะคะ

มาชม EP 6 ด้วยการกดลิ้งค์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=Zl10KuZdoiw

บ้านอุ่นรักขอขอบคุณฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต | RSU Media มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้จัดทำวีดีโอชุดนี้เพื่อเด็ก ๆ ที่มีความต้องการเป็นพิเศษและครอบครัวของเด็ก ๆ  ตลอดจนครูนัช หาญพานิชย์พันธ์ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

Credit ภาพ: | Hatice Yardim | Unsplash