แนวทางการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

  1. ลดโอกาสทำสำเร็จให้ได้มากที่สุด เช่น คว้าให้เร็ว คว้าให้ทัน
  1. ถ้าป้องกันไม่ทัน เมื่อเกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม จะไม่ปล่อยผ่าน และต้องมี Reaction หรือปฏิกิริยาตอบสนองให้ลูกรู้ว่าทำไม่ได้ เช่น ใช้คำพูด ว่า “หยุด” จากนั้นนิ่ง จับต้นแขนสองข้าง จ้องหน้าลูกนิ่ง ๆ นับในใจ 5-10 วินาที ให้ลูกรู้ว่าตอนนี้มีบางอย่างที่สำคัญที่แม่จะพูดด้วย แล้วพูดสั้น ๆ ว่าไม่ให้ทำอะไรและควรทำอะไรแทน เช่น ถ้าลูกจะให้น้องออกไป ลูกต้องบอกน้องว่า “ออกไป” หรือถ้าลูกจะจับน้อง ต้องจับแบบนี้ (ทำเสียง “ตึ้ด ๆ ๆ ๆ” และค่อย ๆ จับน้องเบา ๆ ช้า ๆ เป็นจังหวะ) หรือถ้าลูกจะเล่นกับน้อง ลูกต้องจับน้องเบา ๆ ไม่ให้น้องเจ็บ
  1. ฝึกให้ลูกสื่อสารด้วยคำพูดแทนอากับกริยาให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ ทำได้ด้วยการบอกบทให้ลูกพูดตาม เช่น ถ้าลูกส่ายหน้ากับน้อง ต้องฝึกให้ลูกบอกน้องด้วยคำพูดแทนการส่ายหน้า พูดว่า “ไม่เอา” ถ้าลูกปัดมือน้อง ก็ให้ลูกพูดบอกน้องว่า “ออกไป” เมื่อลูกใช้คำพูดเพื่อสื่อสารได้มากขึ้น การแก้ปัญหาด้วยการกระทำก็จะลดลง

ในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครอง เมื่อเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างพี่น้อง พ่อแม่ผู้ปกครองควรวิเคราะห์เหตุนำด้วยเสมอว่าเหตุการณ์นำอะไรที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นั้น เช่น ลูกผลักน้อง ทั้งนี้ เมื่อเหตุนำต่าง รายละเอียดการแก้ไขก็จะต่างกันไปด้วย นอกจากนี้ เมื่อเรารู้เหตุนำ เราจะได้หาทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเหตุนำนั้นอย่างถูกวิธีได้ต่อไป

เครดิตภาพ: Bekky Bekks | Unsplash