เหตุผลที่ลูกอาการไม่ดีขึ้นดังที่คิดเกิดจากข้อจำกัด 2 ประการ
- เราไม่เข้าใจว่ากลุ่มอาการออทิซึมเป็นกลุ่มอาการพัฒนาการล่าช้าแบบแผ่ขยาย ดังนั้น หากเรามุ่งลงน้ำหนักการกระตุ้นพัฒนาการไปเน้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เรากังวลเป็นพิเศษ โดยไม่ได้แก้ไขพัฒนาการด้านอื่น ๆ ไปพร้อมกัน อาจเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุดหรือไม่ครอบคลุมมากพอที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าของพัฒนาการในภาพรวม ดังนั้น การแก้ไข คือ เราจำเป็นต้องแก้ไขพัฒนาการแบบบูรณาการพร้อมกันไปในทุกด้าน เพราะปัญหาพัฒนาการบางเรื่องจะส่งผลถึงพัฒนาการด้านอื่น ๆด้วย ทั้งในแง่ที่จะทำให้อาการแย่ลงหรือดึงให้พัฒนาการทุกด้านก้าวหน้าในทางดีขึ้น
- ประเด็นที่พบบ่อย คือ หากที่บ้านไม่ได้นำแนวทางที่ทีมบำบัดจัดการกระตุ้นพัฒนาการมาประยุกต์ให้เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน จึงไม่เกิดความซ้ำ หรือลูกไม่เกิดประสบการณ์ตรงมากพอ ในภาพรวมลูกมักจะไม่ดีขึ้น หรือพัฒนาการก้าวหน้าช้ากว่าที่ควรหรือลูกอาจจะดีขึ้นเฉพาะกับครูผู้ที่ได้คลุกคลีลงมือทำจริงจังกับลูกเท่านั้น ดังนั้น การแก้ไข คือ เราในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องเรียนรู้แนวทางที่ทีมบำบัดจัดการกระตุ้นพัฒนาการและนำมาประยุกต์ให้เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน นำมาสร้างบรรยากาศในบ้านให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอและมากพอที่ลูกจะเกิดประสบการณ์และการเรียนรู้ใหม่ ๆ
เครดิตภาพ: freepik.com | pch-vector