คลุกคลีกับลูกสำคัญกว่าเทคนิคพิเศษใด ๆ | บ้านอุ่นรัก
ตอนที่ 3

ในวัย 5 ขวบ เด็กคนนี้ได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง ผลที่ได้จากการตรวจ พบความผิดปกติ (ภาพประกอบ 1A: จากผลการตรวจนี้ เด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักในกลีบสมองส่วนหน้า) 

ส่วนการตรวจสมองของเด็กโดยใช้การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก พบผลการตรวจเป็นปกติ (ภาพประกอบ 1B)

จากการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรคลมชักในกลีบสมองส่วนหน้า เด็กได้รับการรักษาด้วยยากันชัก และอาการชักหายไปหลังการรักษาได้ 3 เดือน

เนื่องจากอาการหลายอย่างของเด็กคนนี้คล้ายเด็กออทิสติก ในการศึกษานี้ คณะแพทย์และทีมงานจึงใช้แบบคัดกรองที่เรียกว่า Childhood Autism Rating Scale (CARS) มาวัดอาการออทิสติกของเด็ก แบบคัดกรองนี้วัดผลจากพฤติกรรม 15 อย่างและแบ่งคะแนนที่ได้จากการตรวจวัดออกเป็นช่วง ๆ เพื่อระบุว่าเด็กคนใดเป็นเด็กออทิสติก 

คะแนนการวัดผลของแบบคัดกรองนี้ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

คะแนนต่ำกว่า 29 คะแนน คือ เด็กปกติ
คะแนนระหว่าง 30-36 คือ เด็กที่มีอาการออทิซึมระดับน้อยถึงปานกลาง และ
คะแนนมากกว่า 36 คือ เด็กที่มีอาการออทิซึมระดับรุนแรง

สำหรับเด็กคนนี้ คะแนนที่วัดได้ ณ วันที่เด็กมาตรวจเป็นครั้งแรก คือ 37 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่บ่งชี้ว่าเด็กมีอาการออทิซึมในระดับที่รุนแรง 

ในตอนนั้น ผู้ประเมิณให้เด็กวาดรูปใบหน้าของแม่ ภาพที่ได้จากการวาดของเด็ก เป็นภาพอะไรสักอย่างที่ดูอย่างไรก็ดูไม่เหมือนภาพใบหน้าของผู้คนเลย (ภาพประกอบ 2A)

จากการศึกษานี้ ผู้ทำการศึกษาระบุสาเหตุสำคัญ 2 ประการที่ทำให้เด็กมีปัญหาในหลาย ๆ ด้าน คือ 
เด็กขาดการดูแลเลี้ยงดูที่เหมาะสม: จากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เด็กจึงมีความผิดปกติด้านความรักความผูกพันทางอารมณ์ 
เด็กมีการเปิดรับสื่อตั้งแต่อยู่ในวัยเด็กเล็ก: จากการใช้สื่อตั้งแต่ยังเล็ก เด็กจึงมีกลุ่มของอาการที่คล้ายกับเด็กออทิสติก 

แนวทางการบำบัดรักษาที่ให้พ่อแม่ลงมือทำที่บ้าน
– ไม่ให้เด็กดูโทรทัศน์
– ให้พ่อแม่ชวนเด็กเล่นเชิงกายภาพ (ใช้ร่างกายในการเล่น) เช่น เล่นจักจี้กันและกัน คลาน หรือวิ่งด้วยกัน เป็นต้น 

สิ่งที่พ่อแม่ลงมือทำที่บ้าน
– ไม่ให้เด็กดูโทรทัศน์
– ฝึกทักษะการเล่นแบบอื่น ๆ ที่เป็นการเล่นเชิงกายภาพให้กับเด็ก และมีการเล่นร่วมกันกับเด็ก เช่น ให้เด็กปั้นดินเล่น เล่นจักจี้กับพ่อแม่ และวิ่งเล่นไล่จับกับพ่อในสวน

ผลที่ได้จากการลงมือทำของพ่อแม่

2 สัปดาห์หลังการลงมือทำ
– เด็กเริ่มสบตา (จากเดิมที่เด็กไม่สบตา)
– เด็กชวนพ่อแม่พูดคุยเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเล่น (จากเดิมที่ถามอะไรก็ไม่ตอบและไม่มีปฎิกริยาตอบกลับในบางครั้ง) 
– เด็กสามารถนั่งนิ่ง ๆ ในขณะที่ฟังคนอื่น ๆ พูดคุยกัน (จากเดิมที่เด็กจะวิ่งวุ่น ตะโกนโหวกเหวก สมาธิสั้น และมีปัญหาเรื่องความสนใจ)
– คะแนนการวัดผลเรื่องอาการออทิซึมของเด็กหลังการบำบัดรักษา: 26.5 คะแนน (จากเดิมเด็กได้ 37 คะแนนซึ่งบ่งชี้ว่าเด็กมีอาการออทิสติกขั้นรุนแรง แต่ตอนนี้เด็กได้คะแนนที่บ่งชี้ว่าเด็กเป็นเด็กปกติ)

2 เดือนหลังการบำบัดรักษา
– เด็กวาดภาพใบหน้าของแม่ในลักษณะของใบหน้าคนที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น (ภาพประกอบที่ 2B) 

จากการศึกษานี้ ทำให้เราตระหนักว่าเพียงเราเลิกใช้สื่อเลี้ยงลูก และเราส่งเสริมให้ลูกเล่นในรูปแบบอื่น ๆ ร่วมกันกับเรา ลูกคนหนึ่งที่เคยมีพฤติกรรมและอาการคล้ายเด็กออทิสติกก็จะมีอาการดีขึ้น อีกทั้งเราและลูกยังได้มีโอกาสได้สานสายใยแห่งความรักระหว่างกัน อันจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ลูกพึงมี ส่วนแนวทางการบำบัดรักษาที่ได้จากการศึกษานี้ เรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กคนอื่น ๆ ที่มีปัญหาใกล้เคียงกับกรณีศึกษานี้ด้วย

เรื่องความเสี่ยงที่เกิดกับเด็กจากการใช้สื่อตั้งแต่เด็กยังเล็กนั้น นอกจากการศึกษาชิ้นนี้ก็ยังมีการศึกษาอีกหลาย ๆ ชิ้นที่ชี้ให้เราเห็นว่าการปล่อยให้เด็กใช้สื่อตั้งแต่ยังเล็ก จะส่งผลเสียต่อการสร้างความรักความผูกพันที่เด็กและพ่อแม่ผู้ปกครองพึงมีต่อกัน

สำหรับเด็ก ๆ ที่ขาดโอกาสพัฒนาความรักความผูกพันกับคนในครอบครัว เด็กจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคมอีกนานัปประการตามมา อีกทั้ง เด็กอาจมีรูปแบบของกลุ่มอาการแบบเด็กออทิสติกได้ด้วย

ในทางกลับกัน เด็กที่ได้เล่นเชิงกายภาพแบบอื่น ๆ ร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นเด็กที่ได้รับโอกาสเรื่องการสร้างสายใยความรักความผูกพัน และเด็กกลุ่มนี้ไม่ต้องการดูโทรทัศน์เลย 

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ AAP ให้คำแนะนำเรื่องการใช้สื่อในเด็กเล็กว่า 
เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 24 เดือน ควรเลี่ยงการใช้สื่อดิจิตอล
เด็กวัย 2-5 ขวบ ที่ใช้เวลาหน้าจอในการดูรายการที่มีคุณภาพ ควรจำกัดเวลาให้ดูได้เพียง 1 ชั่วโมง/วันเท่านั้น

กุมารแพทย์ควรให้ความรู้แก่พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กเรื่องพัฒนาการทางสมองในช่วงต้นของชีวิตเด็ก ความสำคัญของการให้เด็กได้ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ การเล่นเชิงสังคมตามธรรมชาติที่เด็กควรมี ทั้งนี้เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีผลดีต่อการเสริมสร้างทักษะทางภาษา สติปัญญา และอารมณ์ให้กับเด็ก 

อย่างไรก็ตาม, จากบทความนี้ ชวนให้เราคิดว่า ในโลกปัจจุบันที่มีสื่อรายรอบตัวลูกและเรา เราจะเลี้ยงลูกกันอย่างไรดี?

เราจะให้โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตเลี้ยงลูกแทนเรา ปล่อยลูกให้สร้างความสัมพันธ์กับระบบดิจิตอล จนกระทั่งลูกขาดความผูกพันกับสังคมรอบข้างและเรา และที่ร้ายกว่านั้น ลูกจะมีพฤติกรรมแปลก ๆ แบบต่าง ๆ จนลูกอาจจะมีอาการแบบเด็กออทิสติกได้?

หรือ

เราจะคลุกคลีกับลูก เล่นสนุกไปกับลูก เพื่อสานสายใยความรักและความผูกพันที่เราและลูกพึงมีต่อกัน อันจะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีและสมวัยมากยิ่ง ๆ ขึ้นทั้งทางด้านสังคมและอารมณ์?

สำหรับศูนย์กระตุ้นพัฒนาการบ้านอุ่นรัก เรามั่นใจว่าคุณเลือก “คลุกคลีกับลูกสำคัญกว่าเทคนิคพิเศษใด ๆ”

อ่านบทความต้นฉบับเต็ม ๆ ได้ที่นี่
https://www.rewardfoundation.org/real-autism-or-fake/
https://www.jstage.jst.go.jp/article/jmi/65/3.4/65_280/_pdf

Credit บทความ: The Reward Foundation 

Credit กรณีศึกษา: J. Med. Invest. 65: 280-282, August, 2018

แปลสรุปและเรียบเรียงใหม่โดย: จินตวีร์ สายแสงทอง


สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครอง ที่ต้องการคำปรึกษาหรือพูดคุยกับพวกเรา สามารถโทรติดต่อหรือนัดหมายเข้ามาพบหรือพาลูกมาประเมิน เพื่อปรึกษาวางแนวการดูแลได้ที่บ้านอุ่นรัก สาขาที่ท่านสะดวกค่ะ

ติดต่อเรา
วันทำการ: จันทร์ – ศุกร์
เวลาทำการ: 09.00 น. – 15.00 น.

🏡 บ้านอุ่นรักสวนสยาม: เลขที่ 9/8 ซอยสวนสยาม 24 (แยก 2) หมู่บ้านอมรพันธ์ ซอย 7/1-5 คันนายาว กรุงเทพ 10230
☎️ โทร: 086 775 9656 และ 02 906 3033

🏡 บ้านอุ่นรักธนบุรี: เลขที่ 99/92 หมู่ 19 ถนนพุทธมณฑลสายสอง ซอย 26 ศาลาธรรมสพน์ ทวีวัฒนา กรุงเทพ 10170
☎️ โทร: 087 502 5261 และ 02 885 8720

📧 Email: Baan_Aunrak@Hotmail.com
📧 Facebook Page: BaanAunRak.TH
📧 Line ID: คลิก https://line.me/R/ti/p/%40oya0528g
———-
#กระตุ้นพัฒนาการ
#เด็กออทิสติก#เด็กพัฒนาการช้า#เด็กสมาธิสั้น
#บ้านอุ่นรัก