คลุกคลีกับลูกสำคัญกว่าเทคนิคพิเศษใด ๆ | บ้านอุ่นรัก
ตอนที่ 2
กรณีศึกษา เรื่อง “ความผิดปกติด้านความรักความผูกพันและการเปิดรับสื่อของเด็กที่อยู่ในวัยเด็กเล็ก: อาการทางระบบประสาทที่มีลักษณะเลียนแบบอาการออทิซึม”
ศึกษาโดย Yurika Numata-Uematsu / Hiroyuki Yokoyama / Hiroki Sato / Wakaba Endo / Mitsugu Uematsu / Chieko Nara และ Shigeo Kure (คณะแพทย์ผู้ทำการศึกษานี้ ทำงานที่แผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโทโอกุ ภูมิภาคเซนได ประเทศญี่ปุ่น และศูนย์การศึกษาทางการแพทย์สำหรับสตรีและเด็ก มหาวิทยาลัยแพทย์ฟูกูชิมา ประเทศญี่ปุ่น)
กรณีศึกษา เรื่อง “ความผิดปกติด้านความรักความผูกพันและการเปิดรับสื่อของเด็กที่อยู่ในวัยเด็กเล็ก: อาการทางระบบประสาทที่มีลักษณะเลียนแบบอาการออทิซึม”
ศึกษาโดย Yurika Numata-Uematsu / Hiroyuki Yokoyama / Hiroki Sato / Wakaba Endo / Mitsugu Uematsu / Chieko Nara และ Shigeo Kure (คณะแพทย์ผู้ทำการศึกษานี้ ทำงานที่แผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโทโอกุ ภูมิภาคเซนได ประเทศญี่ปุ่น และศูนย์การศึกษาทางการแพทย์สำหรับสตรีและเด็ก มหาวิทยาลัยแพทย์ฟูกูชิมา ประเทศญี่ปุ่น)
กรณีศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเด็กคนหนึ่งที่เคยได้รับการวัดผลของอาการว่ามีอาการออทิซึมในระดับรุนแรง กลับมีอาการที่ทุเลาลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อพ่อและแม่ของเด็กไม่ให้เด็กใช้สื่อ แต่ส่งเสริมให้เด็กหันไปเล่นสนุกในรูปแบบอื่น ๆ ทางกายภาพร่วมกับพ่อแม่แทน
ทั้งนี้ ผลการศึกษานี้ยังสนับสนุนผลการศึกษาที่ ดร. Victoria Dunckley (จิตแพทย์เด็กชาวอเมริกัน) เคยศึกษาไว้และระบุว่า “ร้อยละ 80 ของเด็ก ๆ ที่เธอพบ ไม่ใช่เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีสุขภาพจิตผิดปกติและต้องใช้ยาในการบำบัดรักษา” แต่เด็ก ๆ เหล่านี้ มีอาการของ “เด็กติดหน้าจออิเล็กทรอนิกส์”
เด็กที่เป็นกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่นคนนี้ เป็นเด็กที่คณะแพทย์และทีมงานพบว่ามีความผิดปกติด้านความรักความผูกพันต่อพ่อแม่
เด็กคนนี้เป็นเด็กผู้ชายชาวญี่ปุ่น เด็กมีภาวะแรกเกิดปกติ พ่อและแม่ของเด็กไม่ได้มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ เด็กเป็นลูกคนเดียว พ่อเป็นพนักงานสำนักงาน ส่วนแม่เป็นแม่บ้าน คนในครอบครัวของเด็ก ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยโรคออทิสติก โรคลมบ้าหมู หรือโรคระบบประสาทที่ผิดปกติ
เด็กใช้สื่อตั้งแต่ยังเล็ก (ใช้สื่อตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือน) สื่อที่เด็กใช้มีทั้งโทรทัศน์ วีดีโอ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ระบบหน้าจอสัมผัสแบบต่าง ๆ
เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาและสังคมเป็นปกติจนกระทั่งอายุ 18 เดือน เมื่อเด็กอายุ 5 ขวบ พ่อและแม่พบว่าเด็กไม่แสดงปฎิกริยาตอบสนองในบางครั้งบางคราว
เด็กมีพฤติกรรมวิ่งวนไป ๆ มา ๆ ทำท่าเลียนแบบยอดมนุษย์คาเมนไรเดอร์ เล่นไปตะโกนโหวกเหวกไป เด็กมีสภาพทางร่างกายปกติ
เด็กไม่สบตา เด็กพูดได้ แต่พูดได้ดีอยู่เพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสื่อ เมื่อตั้งคำถามใด ๆ กับเด็กคนนี้ เด็กก็จะไม่ตอบ ทั้งนี้ พ่อและแม่ของเด็กบอกว่าเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูวีดีโอเรื่องยอดมนุษย์ต่าง ๆ และดูมาตั้งแต่อายุ 6 เดือน ส่วนการเล่นแบบอื่น ๆ เด็กไม่เล่นเลย
เมื่อทำการศึกษา คณะแพทย์และทีมงานพบความเชื่อมโยงว่า การที่เด็กคนนี้ใช้สื่อตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้เด็กมีปัญหาหลายด้าน คือ มีพัฒนาทางสติปัญญาที่ล่าช้าไม่สมวัย มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีสมาธิสั้น มีปัญหาเรื่องความสนใจ และมีปัญหาเรื่องการนอน นอกจากนี้ เด็กยังมีความผิดปกติเรื่องความรักความผูกพัน และมีอาการอื่น ๆ ที่เหมือนอาการของเด็กออทิสติกด้วย
แม้ว่าเด็กคนนี้จะมีอาการหลายอย่างเหมือนเด็กออทิสติก แต่จากการประเมิณ ผู้ประเมิณพบว่าเด็กชอบเล่นกับผู้ประเมิณมากกว่าที่จะเล่นคนเดียว เด็กไม่ต่อต้านการสัมผัสทางกาย เด็กไม่แสดงปฏิกิริยาใด ๆ ที่ผิดปกติต่อสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัสที่เด็กได้รับ ดังนั้น ผู้ประเมิณจึงเชื่อว่าเด็กคนนี้ต่างจากเด็กออทิสติก เพราะเด็กออทิสติกจะมีปัญหาเรื่องการเชื่อมโยงทางสังคมและการสื่อสารที่มีคุณภาพ
To be continued โปรดติดตามอ่านตอนต่อไปในตอนถัดไปค่ะ
อ่านบทความต้นฉบับเต็ม ๆ ได้ที่นี่
https://www.rewardfoundation.org/real-autism-or-fake/
https://www.jstage.jst.go.jp/article/jmi/65/3.4/65_280/_pdf
Credit บทความ: The Reward Foundation
Credit กรณีศึกษา: J. Med. Invest. 65: 280-282, August, 2018
Credit Photo: Hal Gatewood | Unsplash
แปลสรุปและเรียบเรียงใหม่โดย: จินตวีร์ สายแสงทอง
สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครอง ที่ต้องการคำปรึกษาหรือพูดคุยกับพวกเรา สามารถโทรติดต่อหรือนัดหมายเข้ามาพบหรือพาลูกมาประเมิน เพื่อปรึกษาวางแนวการดูแลได้ที่บ้านอุ่นรัก สาขาที่ท่านสะดวกค่ะ
ติดต่อเรา
วันทำการ: จันทร์ – ศุกร์
เวลาทำการ: 09.00 น. – 15.00 น.
🏡 บ้านอุ่นรักสวนสยาม: เลขที่ 9/8 ซอยสวนสยาม 24 (แยก 2) หมู่บ้านอมรพันธ์ ซอย 7/1-5 คันนายาว กรุงเทพ 10230
☎️ โทร: 086 775 9656 และ 02 906 3033
🏡 บ้านอุ่นรักธนบุรี: เลขที่ 99/92 หมู่ 19 ถนนพุทธมณฑลสายสอง ซอย 26 ศาลาธรรมสพน์ ทวีวัฒนา กรุงเทพ 10170
☎️ โทร: 087 502 5261 และ 02 885 8720
📧 Email: Baan_Aunrak@Hotmail.com
📧 Facebook Page: BaanAunRak.TH
📧 Line ID: คลิก https://line.me/R/ti/p/%40oya0528g
———-
#กระตุ้นพัฒนาการ
#เด็กออทิสติก#เด็กพัฒนาการช้า#เด็กสมาธิสั้น
#บ้านอุ่นรัก
———-